Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 มิถุนายน 2549
เปิดยุทธศาสตร์แก้ปัญหาไกด์ ชูแผน5ปีเสนอสพท.ชงเรื่องของบ             
 


   
search resources

Tourism




สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ฟิตจัด เร่งมือทำแผนปฎิบัติการ 5 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว หวังยกระดับมาตรฐานไกด์ไทย ขึ้นแท่นระดับมืออาชีพ พร้อมเร่งพัฒนาเพิ่มจำนวนไกด์ในภาษาที่ขาดแคลน และให้ความรู้แก่นักเรียน และ หน่วยงานราชการในต่างจังหวัด เตรียมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะกระจายเข้าสู่ท้องถิ่นในอนาคต

นายธนธรณ์ ทองหอม ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ทางสำนักฯได้จัดทำแผนงานปฎิบัติการ 5 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2550-2554 โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาและแก้ปัญหาให้แก่ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้หมดไปหรือลดน้อยลง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการขาดแคลนมัคคุเทศก์ การหลอกลวงนักท่องเที่ยว ทัวร์ศูนย์เหรียญและข้อมูลกลางด้านธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

ทั้งนี้แผนงานดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 โดยใช้เงินจากงบประมาณประจำปี ในแต่ละปีงบประมาณ แบ่งเป็น 2 แผนงานใหญ่ ได้แก่ 1. แผนงานพัฒนาระบบงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ และ 2. แผนงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการท่องเที่ยว (KRD) โดยแต่ละแผนงานจะมี 5-7 โครงการปลีกย่อย เพื่อให้การดำเนินงานเข้าสู่วัตถุประสงค์ที่วางไว้ ประเมินการใช้งบประมาณเบื้องต้นไว้เฉลี่ยโครงการละ 2.5-3.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นวงเงินรวมประมาณ 20 ล้านบาท แต่ทั้งนี้แผนปฎิบัติการดังกล่าว จะต้องยื่นเสนอให้กับสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) เพื่อยื่นเสนอของบประมาณ ตามลำดับต่อไป ซึ่งอาจถูกตัดลด หรือปรับเพิ่มก็ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฝ่ายจัดทำงบประมาณประจำปี

สำหรับรายละเอียดของโครงการตามแผนงานที่ 1 รวม 7 โครงการ ได้แก่ โครงการศึกษาเพื่อลดขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้มีระยะเวลาสั้นลง , โครงการพัฒนามาตรฐานธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์, โครงการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาและผลกระทบจากทัวร์ศูนย์เหรียญ , โครงการตรวจ ติดตามและประเมินผล การประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว , โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กลุ่มตลาดสำคัญ เช่น จีน เกาหลี รัสเซีย อินเดีย และสวีเดน ,โครงการประกวดผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว/มัคคุเทศก์ดีเด่นแห่งปี และ โครงการเดินท่องเที่ยวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

ส่วนแผนงานที่ 2 มีทั้งหมด 5 โครงการ ได้แก่ โครงการอบรมมัคคุเทศก์ในโรงเรียน ,โครงการอบรมเพิ่มศักยภาพมัคคุเทศก์อาชีพ , โครงการอบรมสัมมนาผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว เพื่อแสวงหาแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มผลผลิต, โครงการศึกษาดูงานต่างประเทศด้านการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์และโครงการส่งเสริมศักยภาพและองค์ความรู้ขององค์กรปกครองท้องถิ่นด้านธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์

สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือเรื่องของการพัฒนาขีดความสามารถของมัคคุเทศก์อาชีพของไทย และการเพิ่มจำนวนมัคคุเทศก์ในภาษาที่ขาดแคลน รวมถึงการจัดทำระบบข้อมูลกลาง เฉพาะธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พร้อมการอัพเดทที่เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อสามารถตรวจสอบความต้องการของตลาด ปัญหาและอุปสรรคที่จะต้องแก้ไข

“สำนักทะเบียนฯต้องการวางพื้นฐานการทำงานอย่างเป็นระบบ และเป็นไปตามกฎหมายในธุรกิจนี้อย่างเคร่งครัด ซึ่งเราเป็นภาครัฐต้องทำงานแบบเป็นกลาง ผลักดันทุกโครงการโดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก แต่ก็ต้องดูแลให้ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ พร้อมกับช่วยเติมในสิ่งที่ขาด”

การทำงานในแผน 5 ปี เราจะให้ความสำคัญกับ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มมัคคุเทศก์อาชีพ คือผู้ที่มีบัตรอนุญาตประกอบอาชีพได้ กับกลุ่มผู้ที่สนใจจะเข้ามาฝึกอบรมมัคคุเทศก์ ซึ่งจะได้เรียนรู้ในหลักการพื้นฐาน และหากชอบ ก็สามารถเรียนเพิ่มเติม เพื่อขอใบประกอบอาชีพตามภาษาที่ถนัดต่อไป

**จับมือสถานศึกษาเพิ่มศักยภาพมัคคุเทศก์ไทย**

สำหรับในปีงบประมาณ 2549 ล่าสุด สำนักทะเบียนฯได้ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง และราชภัฎจันทร์เกษม จัดฝึกอบรมภาษาเกาหลี ให้กับมัคคุเทศก์อาชีพ โดยประสานกับสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพที่จะส่งบุคลากรเข้ามาฝึกอบรม โดยแบ่งอบรมใน 3 จังหวัดท่องเที่ยว คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต จำนวนผู้รับการฝึกอบรมทั้งสิ้นประมาณ 500 คน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – กันยายน ศกนี้

“ที่ผ่านมา สำนักทะเบียนฯ ได้จัดอบรมภาษาให้แก่ มัคคุเทศก์อาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาษาที่ขาดแคลน ครั้งนี้จึงกำหนดให้เป็นการฝึกในภาษาเกาหลี สำหรับแผนงาน 5 ปี ข้างต้น การจัดอบรมมัคคุเทศก์ในโรงเรียน หรือการให้ความรู้ด้านมัคคุเทศกกับองค์กรท้องถิ่น ทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับรองนักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติ ที่จะกระจายออกไปยังจังหวัดต่างๆ” นายธนธรณ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us