Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538
หมื่นล้านใน 7 ปี : เรื่องท้าทายของ อภิรักษ์ โกษะโยธิน             
 


   
search resources

เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทย, บจก.
อภิรักษ์ โกษะโยธิน
Soft Drink




หลังจากเตรียมการในด้านต่างๆ มานานกว่า 5 เดือน บริษัทเป๊ปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย จำกัด ภายใต้การบริหารงานของอภิรักษ์ โกษะโยธิน กรรมการผู้จัดการ ก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้ารุกตลาดขนมขบเคี้ยวเมืองไทย ด้วยเป้าหมายที่ท้าทายตัวเองยิ่งนัก

เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย เป็นสาขาของเป๊ปซี่ โค ฟูดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทในเครือที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลผลิตภัณฑ์ขนมเคี้ยวของบริษัท เปีปซี่ โค อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหาร และเครื่องดื่มที่มียอดขาย ในปี 2537 มากกว่า 725,000 ล้านบาท

รายได้ของเป๊ปซี่ โค อิงค์ มาจากธุรกิจหลัก 3 ประเภท คือ เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว และร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟูด แต่ในประเทศไทยแล้วรายได้ของเป๊ปซี่มาจาก 2 ธุรกิจเท่านั้น คือ ธุรกิจเครื่องดื่ม ที่อยู่ภายใต้การดูแลของเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด และธุรกิจฟาสต์ฟูด ที่คนไทยรู้จักกันดีอย่างร้านไก่ทอด "เคเอฟซี " และ "พิซซ่าฮัท"

ส่วนธุรกิจขนมขบเคี้ยวนั้นพูดได้เต็มปากว่าเป๊ปซี่ยังไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านนี้ แม้ว่าบริษัทเป๊ปซี่ โค อิงค์ จะเข้ามาร่วมทุนกับบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อตั้งโรงงานผลิตขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยในนามบริษัทสยามสแน็ค จำกัด ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 49% และ 51% ตามลำดับ เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนมขบเคี้ยวที่ผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าของเป๊ปซี่เอง คือ มันฝรั่งทอดกรอบตรา "เลย์" และข้าวโพดทอดกรอบตรา "ชีโตส" ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เทียบเท่ากับสินค้าที่พันธมิตรธุรกิจของเป๊ปซี่ โค อิงค์ ผลิตขึ้นมาจำหน่ายในชื่อ "ปาร์ตี้"

ว่ากันว่านี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป๊ปซี่ โค อิงค์ อินเตอร์เนชั่นแนล ตัดสินใจเข้ามาตั้งบริษัท เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย เพื่อเป็นแขนขาในการทำตลาดขนมขบเคี้ยวเองในช่วงเวลาที่ตลาดกำลังมีศักยภาพในการเติบโต และมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น

นายราเมซ แวนเกิล ประธานกรรมการ บริษัท เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเดินทางมาร่วมงานเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการกล่าวว่า เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เล็งเห็นถึงศักยภาพในการขยายตัวที่สูงของตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ผนวกกับความสำเร็จอย่างสูงของเครื่องดื่มเป๊ปซี่ รวมทั้งเคเอฟซีและพิซซ่าฮัท จึงมั่นใจว่าธุรกิจขนมขบเคี้ยวของบริษัทในเมืองไทยจะสามารถเจริญรุดหน้าด้วยดี

"ผมขอถือโอกาสนี้แนะนำคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน กรรมการผู้จัดการของเป๊ปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย ซึ่งเคยดูแลการตลาดให้กับเป๊ปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย ซึ่งเคยดูแลการตลาดให้กับเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้งมาก่อน ผลงานของเขาทำให้บริษัทภาคภูมิใจที่จะแต่งตั้งเขาเป็นผู้นำ ซึ่งนอกจากการรุกตลาดในประเทศไทย คุณอภิรักษ์นี่แหละที่จะทำหน้าที่นำขนมขบเคี้ยวของเป๊ปซี่ โค ฟูดส์ เข้าสู่ตลาดอินโดจีน เช่นเดียวกับที่เคยทำให้เครื่องดื่มเป๊ปซี่มาแล้ว"

อภิรักษ์ดูจะเหมาะสมกับการเป็นผู้นำของเป๊ปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย อยู่มากดูได้จากประวัติการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานของเขา กล่าวคือ อภิรักษ์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิชาเอกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จบเอ็มบีเอจากนิด้า และได้ผ่านหลักสูตร Strategic Marketing Planning Program จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

ด้านการทำงานเขาเริ่มต้นที่บริษัท พิซซ่าฮัท (ไทย) จำกัด ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ เป็นระยะเวลา 1 ปี จึงย้ายไปอยู่กับลินตาส เวิลด์ไวด์ จำกัด เริ่มจากตำแหน่ง Management Trainee ก่อนจะไป ตำแหน่ง Account Manager เพื่อไปนั่งเป็น Accoumt Director ที่ดามาสก์ แอดเวอร์ไทซิ่ง อยู่ 2 ปี

เขาก้าวสู่วงการน้ำอัดลมเมื่อปี 2533 เริ่มต้นจากการเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดดูแลผลิตภัณฑ์น้ำสีที่บริษัทเปีปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง ก่อนขึ้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด ดูแลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามลำดับ จนกระทั่งเดือนธันวาคม 2537 ที่ผ่านมา เขาจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัด บริษัท เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย จำกัด

แม้ว่าคุณสมบัติและความสามารถของเขาจะเพียบพร้อม แต่รับรองได้ว่าอภิรักษ์ต้องเหนื่อยแน่ๆ กับการสร้างผลงานให้เป็นที่พอใจของบริษัทแม่ เพราะดูเหมือนว่าเป๊ปซี่ โค ฟูดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จะตั้งความหวังกับประเทศไทยไว้มาก

ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายการขยายตลาดให้ใหญ่โตเทียบเท่ากับตลาดน้ำอัดลม โดยตั้งเป้าการขายในประเทศ และส่งออกไว้สูงถึง 10,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 7-10 ปีข้างหน้า โดยต้องเริ่มต้นจากยอดขายประมาณ 300 ล้านบาทในปี 2528

เพราะบริษัทแม่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นประเทศตัวอย่างในการสร้างตลาดให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นจีน หรืออินเดีย

ปัจจุบันตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยมีมูลค่า 4,500 ล้าน ซึ่งยังห่างไกลจากตลาดเครื่องดื่มมาก ผิดกับสหรัฐอเมริกาที่ 2 ตลาดมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ อัตราการเติบโตของตลาดสูงถึงปีละ 35% ทั้งๆ ที่ไม่มีการกระตุ้นอย่างจริงจังและเป็นระบบ

"เราต้องการทำให้ขนมขบเคี้ยวเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้บริโภคคนไทย โดยวางแผนที่จะเข้าไปเจาะผู้บริโภคทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แม้กระทั่งคนสูงอายุ ด้วยสินค้าที่เหมาะสม" อภิรักษ์กล่าวถึงแผนการตลาดซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการสร้างตลาด นอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการวางระบบการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง

โดยในส่วนของเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ มีศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกาซึ่งหล่อเลี้ยงด้วยเงินปีละ 5,000-7,500 ล้านบาทเป็นฐานในการพัฒนาหลักอยู่แล้ว รวมทั้งยังมีศูนย์วิจัยและพัฒนาย่อยๆ ในแต่ละประเทศ ที่จะนำเทคโนโลยีจากบริษัทแม่มาปรับใช้อีกด้วย สำหรับระบบการจัดจำหน่ายนั้นยังนับว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น เพราะเปีปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย เพิ่งโอนเลย์และชีโตสจากบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ มาจัดจำหน่ายเอง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา ด้วยการจัดตั้งทีมขายขึ้นมา 2 ทีม คือ ทีมโมเดิร์น เทรด และทีมโฮลเซลส์ เริ่มจากพนักงานขาย 40 คน แต่ก็เชื่อว่าเงินลงทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 200 ล้านบาท ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ได้ไม่ยาก

ส่วนแผนการบุกตลาดอินโดจีนนั้น ขณะนี้ได้มีการส่งทีมเข้าไปสำรวจตลาดในประเทศเวียดนามแล้ว คาดว่าภายในปลายปี 2538 หรือต้นปี 2539 ก็จะเริ่มส่งสินค้าเข้าไปทำตลาดได้

แม้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกจัดเตรียมไว้อย่างพร้อมสรรพ แต่ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยที่ผู้ประกอบการท้องถิ่นทำให้ยักษ์ใหญ่ต้องเจ็บตัว ซึ่ง "อภิรักษ์" คงไม่ต้องการสร้างตำนานบทนี้ให้แก่เป๊ปซี่ โค ฟูดส์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us