|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หลังจากชินวัตรทิ้งธุรกิจไอทีขายหุ้นในเครือ ชินคอร์ปให้ทุนข้ามชาติสัญชาติสิงคโปร์ “เทมาเส็ก” แล้ว หัวเรือใหญ่ตัดสินใจเดินหน้ายืนอสังหาฯ เป็นธุรกิจหลักของตระกูล ส่งไม้ต่อให้ “ยิ่งลักษณ์” บริหาร เชื่อไปได้สวย เพราะมีพื้นฐานแข็งแกร่ง บวกกับมีแลนด์แบงก์ในมือจำนวนมาก
แม้ว่าตระกูลชินวัตรขายหุ้น “ชินคอร์ป” ไปสู่มือของเทมาเส็กแล้ว ก็ใช่ว่าชินวัตรจะไม่เหลือธุรกิจอะไรอยู่ในมือเลย เพราะอย่างน้อยๆ หัวเรือใหญ่อย่างนายกฯ ทักษิณก็เล็งเห็นว่า เอสซี แอสเสทฯ ซึ่งทำอสังหาริมทรัพย์มากว่า 12 ปี ยังเป็นธุรกิจที่เติบโต และสามารถทำกำไรได้มาก จากเหตุผลนี้ทำให้นายกฯ ทักษิณตัดสินใจที่จะเก็บ เอสซี แอสเสทฯ เอาไว้เป็นฐานที่มั่นหลังจากขายชินคอร์ปออกไปแล้ว และนี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทักษิณดึงเอาน้องสาวคนเล็ก “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” อดีตกรรมการผู้อำนวยการแห่งเอไอเอส มานั่งแท่นเป็นประธานกรรมการบริหารของเอสซี แอสเสท โดยวางจุดยืนให้เอสซีฯ เป็นธุรกิจหลักที่ตระกูลชินวัตรจะให้ความสำคัญสูงสุด หลังจากยุคก่อนนี้ที่ชินวัตรให้ความสำคัญกับธุรกิจสื่อสารเป็นอันดับหนึ่ง
เหตุผลลึกๆ อีกส่วนที่ชินคอร์ปขายหุ้นออกไป เพราะธุรกิจสื่อสารเริ่มเข้าสู่วงจรขาลง ไม่สดใสเหมือนยุคก่อน จึงต้องเร่งหาธุรกิจที่มีอนาคตดี สามารถกอบโกยผลกำไรได้ไม่แพ้ธุรกิจสื่อสารที่เคยทำมา ซึ่งแอสซี แอสเสทฯ ที่มีอยู่ในมือสามารถตอบโจทย์นี้ได้ เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในขาขึ้นหรือขาลงอย่างไร คนก็ยังมีความต้องการซื้อบ้าน ต้องการเช่าสำนักงานอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับตระกูลมีที่ดินที่ซื้อไว้ในช่วงราคาตกอีกเป็นจำนวนมากอยู่ในมือ สามารถนำมาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าได้อีกมาก ทั้งหมดนี้ทำให้ เอสซี แอสเสทฯ กลายเป็นธุรกิจหนึ่งเดียวที่ไม่ถูกขายออกไป ทั้งนี้นายกฯ ทักษิณยังมองการณ์ไกลว่าหากตัวเองมีโอกาสได้เข้าไปเป็นรัฐบาลอีกครั้ง จะสามารถผลักดัน Infrastructure ให้เกิดขึ้นในที่ดินของตนเองได้ ซึ่งจะเป็นจุดขายให้กับโครงการจัดสรรของตนเองได้ดีที่สุด
ที่มาที่ไปของ เอสซี แอสเสทฯ เกิดจากการนายกทักษิณ และคุณหญิงพจมานเข้าไปซื้อกิจการ บริษัท เอฟ เอฟ พี จำกัด มาบริหาร ในปี 2537 ทำธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่า หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีประสบการณ์ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าใน จ.เชียงใหม่มาก่อน ต่อมาได้ลงทุนสร้าง “อาคารชินวัตร 3” หวังรายได้ระยะยาวจากค่าเช่าพื้นที่ และในปี 2546 เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด” เริ่มลงทุนในโครงการที่อยู่อาศัย และเข้าไปจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นดีเวลลอปเปอร์เจ้าหนึ่งในวงการที่สามารถทำธุรกิจครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ทุกรูปแบบ
ยุคแรกของเอสซี แอสเสทฯ อยู่ภายใต้การบริหารของ “สุรเธียร จักรธรานนท์” ลูกหม้อของเอสซี แอสเสทฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง แต่เมื่อปีที่แล้วเกิดกระแสข่าวว่ามีความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างสุรเธียร และบุญคลี ปลั่งศิริ มือขวาที่ทักษิณมอบความไว้วางใจให้ดูแลธุรกิจโดยรวมของตระกูล ทำให้สุรเธียรตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ และ บุษบา ดามาพงศ์ ประธานกรรมการบริหารในขณะนั้นได้เข้ามานั่งควบตำแหน่งรักษาการของสุรเธียรแทน
หลังจากที่ผ่านมานายกทักษิณปล่อย เอสซี แอสเสทฯ ให้คนใกล้ชิดดูแล วันนี้ถึงเวลาแล้วที่นายกทักษิณจะกลับมาดูแลเองอย่างเต็มตัว โดยส่งไม้ต่อให้ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” น้องสาวคนเล็กของตระกูล นั่งบริหารในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ตั้งแต่ เม.ย. ที่ผ่านมา โดยภารกิจแรกที่ยิ่งลักษณ์จะเข้ามาทำ คือ การรีแบรนด์ดิ้งองค์กรเพื่อให้ชัดเจนในความเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น
สำหรับตัวยิ่งลักษณ์เองถือว่าเป็นมือใหม่ถอดด้ามในวงการอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์โดยตรงในธุรกิจประเภทนี้มาก่อน ซึ่งยิ่งลักษณ์กล่าวว่า “ไม่หนักใจ แม้ว่าจะไม่เคยมีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มาก่อน แต่เชื่อว่าตนเองสามารถทำได้ เพราะสามารถนำประสบการณ์งานบริหารในอดีตมาใช้ได้กับทุกธุรกิจ”
ส่วนผลการดำเนินงานของเอสซี แอสเสทฯ ยิ่งลักษณ์บอกว่ายังไปได้ดี เนื่องจากมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งเงินทุน ไอที ที่ดินสะสม และบุคลากรมืออาชีพ ทำให้สามารถทำรูปแบบโครงการได้ตรงใจลูกค้า ซึ่งยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2549 เป็นไปตามเป้าหมาย ในขณะที่การรับรู้รายได้ยังไม่เป็นไปตามเป้า เนื่องจากธนาคารเข้มงวดเรื่องสินเชื่อมากขึ้น แต่คาดว่าในไตรมาส 2 จะมียอดรับรู้รายได้ทะลุเป้า เพราะได้รับผลพวงจากการยอดขายในไตรมาสแรกที่จะทยอยรับรู้ในไตรมาสนี้
|
|
|
|
|