Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 มิถุนายน 2549
"เลอโอโว" สร้างแบรนด์ต่อมุ่งตลาดใหม่ "เอสเอ็มอีไทย"             
 


   
www resources

โฮมเพจ เลอโนโว (ประเทศไทย)

   
search resources

Computer
Marketing
เลอโนโว (ประเทศไทย), บจก.




"เลอโนโว" คุยแผนควบรวมกิจการเป็นไปตามแผน ยอมรับต้องปรับภาพลักษณ์ "แบรนด์เมืองจีน" ขอเวลาลบภาพสินค้าราคาถูก แผนปีที่สองคงดูโฮโมเดลธุรกิ ชู "ธิงค์เพค" ลุยตลาดคอร์ปอเรต "เลอโนโว" ลุยตลาดเอสเอ็มอี ส่วนคลาดคอนซูมเมอร์ปีนี้ เลอโนโวยังไม่สน

ชื่อของ "เลอโนโว" ในตลาดคอมพิวเตอร์ยังนับว่า ค่อนข้างใหม่มากในตลาดเมืองไทย ด้วยระยะเวลาเพียง 1 ปีที่ผ่านมาภายหลังจากที่ไอบีเอ็ม บริษัทผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในโลกของคอมพิวเตอร์ที่สร้าง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งเรียกกันติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ว่า "พีซี" ตกลงใจยอมขายแผนกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เซิร์ฟเวอร์รวมถึง โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ "ธิ้งค์แพค" ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 เป็นต้นมา

เมื่อมองถึงความคืบหน้าในการดำเนินการของเลอโนโวในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา คงต้องสอบถามจากปาก "ธนพงษ์ อินทริสกุลชัย" กรรมการผู้จัดการ บรัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด ผู้รับผิดชอบการทำตลาดแบรนด์ "เลอโนโว" ในประเทศไทยว่า 1 ขวบปีของเลอโนโลในไทยเป็นอย่างไรและจะก้าวต่อไปอย่างไรหลังจากนี้

"เมื่อ 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้บริโภคและบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในประเทศจีน น้อยคนนักที่จะรู้จักเลอโนโว ในขวบปีที่ผ่านมา ทางเลอโนโวพอใจกับการดำเนินงานในปีแรกของเลอโนโวพอสมควร โดยเราได้วางขั้นตอนการถ่ายโอนไว้เป็น 3 เฟสใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี"

ธนพงษ์ อินทริสกุลชัยเริ่มเล่าถึงแผนการถ่ายโอนธุรกิจของเลอโนโวในเฟสแรกของการควบรวมธุรกิจระหว่างเลอโนโวกับไอบีเอ็ม ธนพงษ์บอกว่า เฟสแรกของการอินติเกชั่น เราตั้งเป้าหมายที่จะรักษาระดับของยอดขายและดำเนินธุรกิจให้ได้อย่างต่อเนื่องโดยให้มีผลกระทบต่อลูกค้าน้อยที่สุด ซึ่งถือว่า พอใจในจุดนี้ และถือว่า ทำได้เร็วเกินคาดด้วยซ้ำไป

ในขณะเดียวกัน เลอโนโวก็ได้เริ่มเฟสที่สองควบคู่กันไปในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งเป็นเฟสของการสร้างแบรนด์ "เลอโนโว" ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการที่เราได้เข้าไปเป็นผู้สนับสนุนในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่โตริโน ที่สามารถนำแบรนด์เลอโนโวออกสู่สายตาผู้ชมผ่านโทรศัพท์กว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมสำคัญต่างๆ"

"การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ของเลอโนโวโดยในระดับโลกนั้น เลอโนโวได้ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทั้งเครื่องพีซีและโน้ตบุ๊กที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ส่วนหนึ่งเพื่อนำแบรนด์เลอโนโวออกสู่สายตาผู้ชมทั่วโลกหวังให้เป็นที่รู้จัก"

นอกจากเรื่องการสร้างแบรนด์แล้ว กิจรรมที่เลอโนโวดำเนินการในเฟสที่สองยังมีเรื่องของการยกระดับมาตรฐานการใช้งานโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ด้วยการเปิดตัวโน้ตบุ๊ก "ธิงค์เพด" ถึง 4 รุ่น เปิดตัวคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในตระกูลเลอโนโว 3000 ซึ่งเป็นการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ภายใต้แบรนด์ "เลอโนโว" ครั้งแรกนอกประเทศจีน โดยมุ่งเจาะตลาดผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีอยู่ทั่วโลก ผสานงานวิจัยและพัฒนาจากแผนกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอบีเอ็มกับเลอโนโวเข้าด้วยกัน รวมถึงความคิดริเริ่มด้านการใช้สื่อ การทำตลาดและโฆษณาต่างๆ เพื่อสร้างการจดจำในแบรนด์รวมถึงส่งเสริมคุณค่าของเลอโนโวไปทั่วโลก

"สิ่งเหล่านี้ เลอโนโวสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีเดียว เร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้"

เมื่อย้อนกลับถึงการสร้างแบรนด์ "เลอโนโว" ในประเทศไทยช่วง 1 ปีที่ผ่าน นับเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารของเลอโนโวต้องดำเนินการ ธนพงษ์บอกถึงเรื่องนี้ว่า 12 เดือนก่อนแทบไม่มีใครรู้จักชื่อเลอโนโวเลยเหมือนเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ก็ถือว่าเป็นงานที่หนักทีเดียว ถึงแม้ว่า ในวันนี้การสร้างแบรนด์เลอโนโวในไทยก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากเท่าไร หากกำหนดเป็นคะแนนเต็ม 100 วันนี้ หากให้คะแนนคงได้ประมาณไม่ถึง 10 แต่เลอโนโวก็ได้ดำเนินการสร้างแบรนด์อะแวร์เนสตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการโฆษณาสินค้าแบรนด์เลอโนโวผ่านสื่อต่างๆ มากมาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อภายนอกอาคาร เว็บไซต์รวมถึงภาพยนต์โฆษณาทางโทรทัศน์

"ความยากลำบากอย่างหนึ่งในการสร้างแบรนด์ "เลอโนโว" ก็คือ ภาพความเป็นแบรนด์จีนที่ทำให้ผู้บริโภคมักจะคิดถึงสินค้าที่คุณภาพไม่ค่อยดี และมีราคาถูกซึ่งตรงข้ามกับภาพลักษณ์ในอดีตที่ยังเป็นแบรนด์ไอบีเอ็มโดยสิ้นเชิง

ธนพงษ์ย้ำอีกว่า จริงๆ แล้ว คอมพิวเตอร์ของเลอโนโวที่ขายในเมืองจีน ไม่ได้เน้นที่ราคาถูก ภาพลักษณ์ของเลอโนโวในจีนป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งการจะสื่อสารแมสเซสนี้ไปยังผู้บริโภคคนไทยให้เข้าใจจำเป็นต้องใช้เวลา ซึ่งคงจะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

"กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ทางเลอโนโววางไว้ 5 ปี" ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมจะดูย่ำแย่ ซึ่งการทุ่มงบประมาณในการสร้างแบรนด์ของเลอโนโวในช่วงเวลานี้ ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพราะได้มีการเตรียมงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว

"ปีที่สองของเลอโนโวจะยังคงมุ่งสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสร้างแบรนด์ในระดับโลก เลอโนโวได้เลือกให้โรนัลโด้ เดอ อาสซิส มอริเอร่า หรือ "โรนัลดินโญ่" เป็นตัวแทนแบรนด์เลอโนโวทั่วโลก เนื่องจากการที่โรนัลดินโญ่ได้นำการเล่นระดับโลกและการทำงานร่วมกันเป็นทีมมาสู่สนาม อีกทั้งยังพยายามปรับปรุงการเล่นอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้สอดคล้องเป็นอย่างดีกับเลอโนโว"

ผู้บริหารของเลอโนโลในเมืองไทยยังบอกถึงกลยุทธ์ในปีที่สองให้ฟังว่า แผนธุรกิจของเลอโนโวต่อจากนี้ไปจะเริ่มเข้าสู่เฟสที่สาม ซึ่งจะเป็นเรื่องของการคงโมเดลธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของไอบีเอ็มที่เป็นโคเปอเรตแบรนด์ในตลาดองค์กร ควบคู่กับโมเดลการทำธุรกิจของเลอโนโวในประเทศจีนมีความแข็งแกร่งในตลาดเอสเอ็มอีควบคู่กันไป

"โมเดลธุรกิจต่อจากนี้ไปของเลอโนโวนั้นจะเดินคู่ขนานกันไประหว่างโมเดยธุรกิจของไอบีเอ็มที่ประสบผลสำเร็จในตลาดองค์กร กับจุดแข็งของเลอโนโวในตลาดเอสเอ็มอีเข้าด้วยกัน"

ธนพงษ์กล่าวว่า เลอโนโวจะต้องเจอทั้งศึกในและนอก ต้องเดินหน้าสร้างแบรนด์พร้อมกับบุกตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดเอสเอ็มอีและรีเทล คอนซูมเมอร์หรือโซโฮ เป็นตลาดใหญ่มีส่วนสัดส่วนในตลาดถึง 65% ตลาดองค์กร 35% โดยเลอโนโวจะยังคงรักษาฐานลูกค้าในระดับองค์กรให้มียอดขายไว้อยู่และจะรุกเข้าตลาดเอสเอ็มอีให้มากขึ้นในปีนี้

การเดินเข้าสู่ตลาดใหม่ของเลอโนโวในปีนี้ ธนพงษ์บอกว่า จะเดินเกมรุกร่วมมือกับคู่ค้าในกลุ่มที่ทำตลาดที่เป็นโครงการปัจจุบันมีอยู่ 4 ราย ได้แก่บริษัท โฟร์ท เวฟ โซลูชั่น จำกัด บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)บริษัท คอมพิวเตอร์ ยูเนี่ยน จำกัดและบริษัท ซีดีจีเอ็ม จำกัด ซึ่งถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญมาเสริมความแข็งแกร่งในตลาดโครงการ เพื่อขับเคลื่อนตลาดภาครัฐหรือองค์กรและช่วยรักษาฐานลูกค้าหลัก

นอกจากนี้ นำความแตกต่างของสินค้าไอบีเอ็มและเลอโนโวมาขยายผลิตภัณฑ์ไหม่ครบไลน์มากกว่าที่ผ่านมา ได้แก่ ธิงค์เพด 4 รุ่น เลอโนโว โน้ตบุ๊ก 3 รุ่น และเลอโนโว พีซี 2 รุ่น โดยที่แบรนด์ "ธิงค์เพด" เจาะกลุ่มตลาดองค์กรและโน้ตบุ๊กด้วยเทคโนโลยีและสิทธิบัตรทางนวัตกรรมลงทุนพัฒนาวิจัยที่ในแต่ละปีมีสูงถึง 4-5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาในส่วนแบรนด์เลอโนโวที่เข้ามาเสริมในตลาดรีเทลคอนซูมเมอร์มากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าง่ายต่อการจดจำ แต่ต่างจากผู้เล่นรายอื่นๆ ที่มีธุรกิจส่วนต่างๆ ทับซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ทีมงาน และสายการผลิต

สำหรับแนวทางการบุกตลาดคอนซูเมอร์นั้น ธนพงษ์บอกว่า จะยังไม่เข้าไปทำจริงจัง เนื่องจากโรด์แมปที่วางไว้ 5 ปีในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักแข็งแกร่งในตลาดเอสเอ็มอี กับโซโฮก่อน หลังจากนั้นจึงลงมาทำตลาดคอมซูเมอร์จริงจัง ทั้งนี้ก็ตอบไม่ได้ว่าเลอโนโวจะพร้อมเมื่อไหร่ที่จะเข้าทำตลาดคอนซูเมอร์ซึ่งอาจตามแผนงานหรืออาจจะเร็วกว่านั้นจึงต้องขึ้นอยู่กับการตอบรับของตลาดในแบรนด์เลอโนโว

"โดยส่วนตัวยังต้องเรียนรู้และรอทิศทางความพร้อมของตลาด เพื่อเจาะตลาดคอมซูมเมอร์ให้เกิดผลตามเป้าหมาย เราคงจะค่อยๆ ทำตลาดไป ซึ่งในปีนี้เราคงจะยังไม่ลงไปเล่นในตลาดคอนซูเมอร์อย่างแน่นอน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us