Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 มิถุนายน 2549
คลังขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันอีก2เดือนหลังส่วนราชการล่าช้าส่งแผนไม่ทัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
นิพัทธ พุกกะณะสุต
Investment




คลังขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันของส่วนราชการอีก 2 เดือน หวังให้โครงการที่เริ่มดำเนินการแล้วไม่สะดุด ขีดเส้นล่าช้าสุดได้ไม่เกิน 31 สิงหาคม 49 ยันเร่งเบิกจ่ายงบปี 49 ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้93% แน่นอน ขณะที่รัฐบาลแปลงสภาพโครงการ จีเอฟเอ็มไอเอส เป็นเอสดียู อ้างเพื่อเบิกจ่ายรูปแบบพิเศษ ลั่นไม่เกี่ยวเบิกจ่ายล่าช้าเชื่อโอนย้ายไปกระทรวงการคลัง 1 ต.ค.50

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณว่าต้องการให้การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีผลกระทบมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาจากผลกระทบของความล่าช้าของงบประมาณประจำปี2550 ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศค.) ได้ดูแลเรื่องดังกล่าว

โดยที่ประชุมได้มีมติให้มีการผ่อนผัน โดยให้ขยายเวลาการก่อหนี้ผูกพันของส่วนราชการออกไปอีก2 เดือน จากเดิมที่สิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 เป็นวันที่ 31 สิงหาคม 2549 ซึ่งการขยายเวลาดังกล่าวเพื่อให้หน่วยราชการที่ยังไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันในขณะนี้ได้ มีเวลาการดำเนินการเพิ่ม ซึ่งการก่อหนี้ผูกพันจะทำให้โครงการที่มีการดำเนินการไปบ้างแล้วทั้งในเรื่องของการประกวดราคา กำหนดวันประมูลโครงการไว้แล้วนั้น สามารถมีเวลาในการก่อหนี้ผูกพันได้มากขึ้น

“งบประมาณลงทุนของปี 2549 มี 379,500 ล้านบาท แต่ตอนนี้ หน่วยงานราชการเบิกจ่ายไปแล้วประมาณ 179,000 ล้านบาท หรือประมาณ 47.21% และยังไม่ได้เบิกจ่ายประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้คาดว่าจะไม่น่าเบิกงบประมาณผูกพันได้ทันตามเวลาที่กำหนดไว้เดิมประมาณ 80,000 ล้านบาท จึงพิจารณาให้มีการขยายเวลาการก่อหนี้ผูกพันดังกล่าวให้หน่วยราชการมีเวลาในการก่อหนี้ผูกพันมากขึ้น”นายวราเทพ กล่าว

ซึ่งในการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2549 ขณะนี้ได้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 894,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 65.74% จากงบประมาณ 1,360,000 ล้านบาท ซึ่งเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าปีที่แล้ว แต่จำนวนเงินเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนเนื่องจากงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามยืนยันว่าจะเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรวมในปี 2549 ให้ได้ตามเป้าที่วางไว้ที่ 93% ของงบประมาณทั้งหมด และในส่วนของงบลงทุนให้ได้ถึง 73% โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างแน่นอน

ทั้งนี้มติในที่ประชุมจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อพิจารณาในวันที่ 27 มิถุนายน 2549 นี้

แปลงจีเอฟเอ็มไอเอส เป็น เอสดียู

นายนิพัทธ พุกกะณะสุต รองประธานคณะกรรมการกำกับการบริหารการเงิน การคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) กล่าวภายหลังการประชุม ซึ่งมีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมรับทราบผลการทำงานโดยเฉพาะส่วนขยายโครงการใหม่ เช่น ระบบเบิกจ่าย ทั้งนี้โครงการใหม่มีหลักการในขั้นต้นจะสังกัดอยู่กับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จากนั้นจะโอนไปยังกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินการต่อไป โดยโครงการใหม่จะใช้ชื่อว่า หน่วยงานกำกับระบบคอมพิวเตอร์ ในเรื่องการเบิกจ่ายพิเศษรูปแบบ Service Delivery Unit หรือ SDU และจะนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้เบื้องต้น SDU จะมีคณะกรรมการเข้ามากำกับในสำนักเลขาธิการนายกฯ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จากนั้นต้นเดือนตุลาคม ก็จะมีการโอนไปยังกระทรวงการคลัง เนื่องจากงานกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เป็นงานเกี่ยวกับงบประมาณ อย่างไรก็ตามในส่วนของทุกกระทรวงก็จะต้องเข้ามาร่วมบริหารกำกับร่วมกันซึ่งมีกว่า 2,000 เทอร์มินอล จากเดิมที่ให้ธนาคารกรุงไทยเข้ามากำกับในลักษณะเอาท์ซอร์ท และจากนั้นก็จะมีการว่าจ้างผู้บริหาระดับอินเตอร์ และโอนงานจากธนาคารกรุงไทยมากำกับดูแลเอง โดยใช้งบประมาณต่อปีกว่า 400 ล้านบาท

นายนิพัฒน์ กล่าวอีกว่า การปรับเป็นโครงการใหม่ ไม่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยราชการที่ล่าช้า แต่จะเป็นโครงการใหม่ที่สามารถติดตามได้ง่าย เพราะที่ผ่านมาระบบนี้เป็นระบบใหม่ที่เจ้าหน้าที่ยังไม่คุ้นเคย และที่ผ่านมาก็ใช้เต็มรูปแบบ

นอกจากนี้ระบบ SDU มีอำนาจหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของระบบ GFMIS ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพรองรับหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้น จัดทำรายงาน MIS ได้ถูกต้องและครบถ้วนได้เป็นมาตรฐานทั้งนี้จะเป็นหน่วยงานราชการรูปแบบพิเศษ กำกับบริหารจัดซื้อ และพัฒนาระบบให้รองรับความต้องการของรัฐ อย่างครบวงจร ซึ่งการถ่ายโอนจะกำหนดไว้ประมาณวันที่ 1 ต.ค.2550

วิษณุแจงงบประมาณล่าช้ามีทางออก อ้างรัฐบาลชุดอานันท์ก็ใช้วิธีเดียวกัน

“วิษณุ เครืองาม” แจงงบล่าช้าไม่มีปัญหาใช้รัฐธรรมนูญหรือพรบ.งบประมาณแก้ไขได้ ระบุยึดกรอบปี 49 ไปก่อน ชี้กระทรวงใดเคยได้รับเท่าไรก็ให้ใช้เท่าเดิมไปก่อน อ้างสมัยรัฐบาลอานันท์ 2 ก็ใช้วิธีเดียวกัน

นายวิษณุ เครืองาม รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความล่าช้าในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ(พรบ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ว่า สำหรับการพิจารณาขั้นตอน เมื่อร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ยังไม่ออก หรือออกไม่ทัน เรื่องนี้มีทางแก้ อยู่ในกฎหมาย 2 ฉบับคือในรัฐธรรมนูญและในพรบ.วิธีการงบประมาณหรือ ภายในฉบับใด ฉบับหนึ่งก็ได้ แต่เนื่องจากความรอบคอบของผู้ร่างรัฐธรรมนูญว่าหากมีการขอแก้หรือเลิกระเบียบวิธีการงบประมาณก็จะสูญหายไป

ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับได้เขียนวิธีแก้ไว้เหมือนกันคือหากงบประมาณปีเก่าออกไม่ทัน และมีการเลิกปีงบประมาณไปแล้ว ให้ใช้งบประมาณปีเก่าไปพลางก่อน ซึ่งหมายความว่าหากกระทรวงหนึ่งปีที่ผ่านมาเคยได้งบประมาณไปแล้วเท่าใด ตามหลักแล้วหากกฎหมายงบประมาณออกทันในปีต่อไปก็จะมีการตั้งงบประมาณใหม่ขึ้นมา เช่น หากงบประมาณปีเก่าได้ทั้งสิ้น 1 พันล้านบาท และปีต่อไปก็อาจจะตั้งไว้ที่ 1.5 พันล้านบาท เนื่องจากงบประมาณใหม่ไม่สามารถออกมาได้ทัน ก็จะต้องยึดในกรอบ 1 พันล้านบาทอยู่เช่นเดิม

นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้งบประมาณที่จะนำมาใช้จ่าย จะประกอบไปด้วยเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งจะไม่มีปัญหา รวมทั้งการขึ้นเงินเดือนข้าราชการก็จะสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้เช่นกัน ส่วนโครงการใดที่ดำเนินการค้างอยู่และมีงบประมาณค้างก็ยังสามารถใช้กรอบนั้นต่อไปได้ แต่หากโครงการใดดำเนินการแล้วเสร็จ จะคิดโครงการใหม่ต่อเนื่องและหวังว่าจะนำเงินที่เหลือในกรอบเดิมมาใช้ในโครงการใหม่นั้น ไม่สามารถปฏิบัติได้ เป็นต้น

เนื่องจากโครงการใหม่นั้นไม่ได้ปรากฎอยู่ในเอกสารงบประมาณ แต่ในส่วนของงบกลางปีมีจำนวนเท่าใด ก็สามารถโอนมาใช้สำหรับในปีงบประมาณหน้าซึ่งเป็นตัวเลขเดิมและรัฐก็จะรู้ว่างบกลางปีที่หมุนเวียนนำไปใช้ในโครงการใดที่มีปัญหาได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหากมีภัยพิบัติ เช่น สึนามิ เกิดขึ้น ในปีหน้าจะไม่มีงบประมาณใช้ดำเนินการซึ่งก็จะสามารถดึงเงินจากงบกลางมาใช้ เพราะงบกลางไม่ได้ระบุว่าจะต้องนำไปใช้กับเหตุอะไร หรือในปีใด ๆ เพราะหากเกิดเหตุกรณีฉุกเฉินก็สามารถนำไปใช้ได้ทันที

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ในอดีตแล้วสาเหตุที่งบประมาณไม่สามารถออกทันและจะต้องนำงบประมาณเดิมมาใช้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว เช่น สมัยนายอานันท์ ปันยารชุณ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ได้เข้ามาในเดือนพฤษภาคม และเกิดการยุบสภาและกว่าจะเลือกตั้งก็ไปถึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ว่างบประมาณไม่สามารถออกได้ทันในวันที่ 1 ตุลาคม แต่ในส่วนของงบประมาณปี 2550 ถือว่ามีความพิเศษตรง งบประมาณจะออกล่าช้า นานมาก หลายเดือน เพราะร่างงบประมาณที่ผ่านมาแม้จะมีความล่าช้า 2-3 เดือน แต่งบประมาณปี 2550 คาดว่าจะล่าช้าครึ่งปีถึง1 ปี และคาดว่าจะล้าไปถึงเดือนพฤษภาคา มิถุนายน หรือกรกฎาคม 2550

“อย่างไรก็ตามงบประมาณในวันที่ 1 ต.ค.2550 ก็กำลังจะออกมา ลักษณะนี้จึงจะกลายเป็นการนำงบประมาณเข้าไปพิจารณาถึง 2 ฉบับ ใกล้เคียงกัน เพราะในร่าง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณได้ระบุไว้ว่างบประมาณปีใหม่ออกไม่ทัน ก็ให้ใช้งบประมาณปีเก่าไปพลางๆ ก่อน โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเป็นผู้อนุมัติตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี” นายวิษณุกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us