Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 มิถุนายน 2549
จับตาจัดสรรซื้อตึกเก่าปรับปรุงใหม่ หนีต้นทุนที่ดินพุ่งหลังประกาศใช้ผังเมืองใหม่กทม.             
 


   
search resources

Real Estate
วสันต์ คงจันทร์




"AERA" ย้ำแนวรถไฟฟ้า -รอบสนามบินสุวรรณภูมิ -มักกะสัน ยังครองแชมป์ทำเลทองหลังประกาศใช้ผังเมืองใหม่ กทม. ชี้ ข้อกำหนด FAR- OSR ส่งผลต้นทุนที่ดินพัฒนาโครงการย่านกลางเมืองพุ่ง ด้านอาคารเก่า โครงการสร้างค้าง รับอานิสงค์มูลค่าขายสูงขึ้น คาดจัดสรรเล็งซื้อโครงการสร้างค้างปรับปรุงใหม่ขายต่อ

นายวสันต์ คงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเจนซี ฟอร์ เรียลเอทเตท แอฟแฟร์ส จำกัด กล่าวว่า ผังเมืองใหม่ กทม.ที่ประกาศใช้ล่าสุดจะส่งผลให้เกิดการกระจุกตัวของชุมชนมากในเมืองชั้นในมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการกำหนด FAR ในเมืองชั้นในที่สูง และทยอยลดลงในเมื่องชั้นกลาง และชั้นนอกออกไป ส่งผลให้พื้นที่ใจกลางเมืองศูนย์กลางธุรกิจย่านสีลม สาทร เพลินจิต ราชประสงค์ มักกะสันต้องใช้ที่ดินในการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้การพัฒนาอาคารขนาดใหญ่เช่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และอื่นๆ จะพัฒนาได้น้อยลงมากๆ ในเขตชั้นกลาง ชั้นนอก ซึ่งการกำหนด FAR ดังกล่าวจะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้ในอนาคตจะเกิดแหล่งงานในเขตชั้นในมากขึ้น ในขณะที่ที่อยู่อาศัยจะเกิดได้ยากมากขึ้นเพราะต้องใช้มีต้นทุนที่ดินที่เพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้ จากการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ที่ต่างกัน ทำให้ในบางทำเลกลายเป็นทำเลที่มีศักยภาพในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสูงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณศูนย์กลางชุมชนย่อย (sub-center) ต่างๆ ที่กำหนด FAR ไว้สูงกว่าพื้นที่โดยรอบ และจากความสามารถในการพัฒนาที่มากขึ้น จะทำให้เกิดศักยภาพทางการตลาด และกลายเป็นบริเวณทำเลสำคัญในอนาคต ขณะที่ในทางกลับกัน ราคาที่ดินอาจจะลดลงได้ เนื่องจากการก่อสร้างที่น้อยลงเนื่องจาก FAR ลดลง ส่งผลให้เกิดผลตอบแทนน้อยลง ทำให้ต้องซื้อที่ดินในราคาถูกลง อาทิ การก่อสร้างอาคารชุดขนาดประมาณ 9,999 ตารางเมตร บริเวณผังเมือง ย.4 จะทำให้ราคาขายต้องสูงขึ้นถึง 15% เนื่องจากต้องใช้ที่ดินมากขึ้น ซึ่งต้นทุนราคาที่ดินที่มากขึ้นจะส่งผลต่อราคาขาย

จากการเปลี่ยนแปลง FAR และ OSR ในผังเมืองประเภทพาณิชยกรรม (พ.1-พ.5) จะส่งผลต่อราคาที่ดินลดลงประมาณ 16-30% ข้างต้น และในผังเมืองประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากในเขตชั้นใน ราคาที่ดินอาจจะลดลงประมาณ 13-22% ข้างต้น อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดินอาจไม่ลดมากนักก็ได้ ถ้าสามารถปรับราคาขายสูงขึ้นได้ แต่ต้องตลาดเป็นไปได้ด้วยอาจเป็นช่วงธุรกิจอสังหาฯ ขาขึ้น (ปัจจุบันน่าจะเป็นขาลงมากกว่ากระมัง) หรือในบริเวณที่มีศักยภาพสูงๆ ตามแนวรถไฟฟ้าซึ่งมีความต้องการที่ดินสูง ราคาที่ดินอาจไม่ลด แต่อาจสูงขึ้นก็ได้

นายวสันต์ กล่าวว่า สำหรับทำเลที่จะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นคือ รอบสนามบินสุวรรณภูมิที่จะมีศักยภาพสูงในการพัฒนาทางพาณิชยกรรมได้ในอนาคต คือ บริเวณด้านทิศตะวันตกหรือตะวันตกเฉียงเหนือของสนามบิน ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นพื้นที่บางส่วนในเขตกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ ได้แก่ ย่านกิ่งแก้ว บางนา (กม.9-12) และอ่อนนุช โดยบริเวณถนนวัดกิ่งแก้วซึ่งแต่เดิมเป็นย่านอุตสาหกรรมสำคัญ ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์ทางด้านพาณิชยกรรมแทน (ผังเมืองเป็นพื้นที่สีม่วงหรืออุตสาหกรรม ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นประเภทพาณิชยกรรม มาตั้งแต่ปี 2544) ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นบริเวณหนึ่งที่จะมีศักยภาพสูงในอนาคต ในการพัฒนาทางด้านพาณิชยกรรมที่เกี่ยวข้องกับสนามบินฯ ใน เช่น โรงแรม สถานบันเทิง ศูนย์ประชุม ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม พื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ ปัจจุบันถูกควบคุมการก่อสร้างโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี 2546 ที่ประกาศควบคุมการก่อสร้างห้ามก่อสร้างห้องแถว ตึกแถว ตลาด โรงแรม สถานบริการ ฯลฯ และห้ามก่อสร้างอาคารเกิน 12 เมตร ประกาศกระทรวงดังกล่าว เป้นการบังคับใช้ชั่วคราวเพื่อควบคุมการก่อสร้างไว้ก่อน ในช่วงที่มีการจัดทำผังเมืองเฉพาะรอบสนามบินฯ ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งตามร่างผังเมืองเฉพาะเบื้องต้นพื้นที่ดังกล่างเป็นพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย ซึ่งจะทำให้เกิดศูนย์พาณิชยกรรมย่อยใหม่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งบนถนนสายนี้ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ย่านอ่อนนุช ลาดกระบัง ที่จะมีแนวรถไฟฟ้าเข้าสนามบินฯ

สำหรับพื้นที่ฝั่งตะวันตกหรือตะวันตกเฉียงเหนือของสนามบินฯ บริเวณช่วงถนนกิ่งแก้วตัดถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ไปทางเหนือจนถึงมอเตอร์เวย์ ร่มเกล้า ผังเมืองใหม่กำหนดให้สามารถก่อสร้างอาคารได้มากกว่าเดิมมาก และนอกจากข้อกำหนดผังเมืองที่ก่อสร้างได้มากขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยจากรถไฟฟ้าสายแอร์พอร์ทลิงค์ที่จะผ่านทำเลนี้ รวมทั้งเป็นบริเวณทางเข้าออกสนามบินฯ ด้านเหนือ และยังติดกับมอเตอร์เวย์อีก ซึ่งรวมกันแล้วจะทำให้บริเวณนี้จะมีศักยภาพสูงขึ้นมาก

นอกจากนี้ทำเลรอบสนามบินฯ ด้านตะวันออก บริเวณที่เรียกว่า วัดศรีวารีน้อย บางโฉลง ราชาเทวะ ลาดกระบังไปจนถึงบางปะกง ในอนาคตจะเป็นทำเลที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากราคาที่ดินที่ยังต่ำอยู่ และยังมีที่ว่างรอการพัฒนาเหลืออีกมาก โดยหลังจากมีความชัดเจนในผังเมืองเฉพาะแล้ว คงจะมีความต้องการที่ดินสูงในบริเวณที่สามารถพัฒนาได้ตามข้อกำหนด เช่น พื้นที่พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม เป็นต้น

ส่วนบริเวณที่ดินฝั่งตะวันออกที่น่าจะมีศักยภาพในการพัฒนาทางด้านพาณิชยกรรมได้สูงกว่าบริเวณอื่นในอนาคต คือ บริเวณถนนบางนา-ตราด กม. 23-28 ย่านตลาดบางพลี บางบ่อ เนื่องจากตามข้อกำหนดผังเมืองสมุทรปราการ (ถ้าไม่ถูกผนวกเข้ากับผังเมืองเฉพาะรอบสนามบินฯ) กำหนดให้บริเวณนี้เป็นเขตพาณิชยกรรมล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่อยู่อาศัย ที่น่าจะมีการลงทุนในเชิงพาณิชยกรรมสูงในอนาคต โดยนอกจากการใช้ประโยชน์ด้านที่อยู่อาศัย หรืออุตสาหกกรมของพื้นที่ใกล้เคียงในอนาคตแล้ว ทำเลนี้จะเป็นบริเวณที่เชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรมสำคัญ อีสเทอร์นซีบอร์ดในภาคตะวันออก และเมืองพัทยา อีกด้วย

สำหรับทำเลย่านสถานีรถไฟมักกะสันในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าสายมักกะสัน-สุวรรณภูมิ และการพัฒนาศูนย์คมนาคมมักกะสัน บนที่ดินของการรถไฟฯ ที่มีแผนงานการพัฒนาทั้งด้านพาณิชยกรรมทั้ง อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า เซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์ ฯลฯ ในรูปแบบการให้เช่าเนื่องจากที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ดินของการรถไฟฯ โดยมีปัจจัยทางด้านผังเมืองใหม่ ที่เอื้อให้มีการพัฒนาได้มากกว่าเดิมจะเป็นปัจจัยเสริมสำคัญให้ศักยภาพการพัฒนาที่เพิ่มากขึ้น

นอกจากนี้ตามรถไฟฟ้าสายแอร์พอร์ทลิงค์ ซึ่งจะก่อสร้างตามแนวรถไฟสายตะวันออก จะเป็นบริเวณที่มีการพัฒนาพื้นที่สูงมากในอนาคต 1-2 ปีข้างหน้า โดยในปัจจุบันก็ได้มีการซื้อทรัพย์สินตามแนวรถไฟฟ้าสายนี้โดยเฉพาะอาคารเก่า เพื่อการปรับปรุงใหม่กันมาก โดยเฉพาะอาคารชุด อพาร์ทเม้นต์ เพื่อรองรับความต้องการของคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับสนามบินสุวรรณภูมิ

นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งในผังเมืองใหม่ คือการกำหนดให้พื้นที่โดยรอบรัศมีรถไฟฟ้าในระยะ 500 เมตร เป็นทำเลสำคัญที่ถนนไม่ต้องกว้างถึงตามข้อกำหนดแต่ละผังเมืองก็ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษได้ และมีผลบริเวณสถานีที่ตั้งอยู่ในผังเมืองสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัย ประเภท ย.6 แถวย่านสถานีห้วยขวาง สุทธิสารตามตัวอย่างรอบสถานีสุทธิสารข้างต้น ส่วนที่เหลืออยู่ใน ย.8-9-10 สำหรับการพัฒนาอาคารพาณิชยกรรมและอาคารสำนักงานประเภทอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีผลต่อย่านสถานีบนถนนพหลโยธิน ย่านสถานีสะพานควาย อารีย์ ราชครู และถนนสุขุมวิท ย่านสถานีพร้อมพงษ์ ทองหล่อ เอกมัย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us