Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538
ทักษิณ ชินวัตร ความหวังในกระแสคลื่นลูกที่สาม ?             
 


   
search resources

ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
Social




สำหรับเมืองไทยเป็นเรื่องธรรมดาที่เหล่านักธุรกิจผู้ยิ่งยงจะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะลิ้มลองรสชาติชีวิตนักการเมือง ซึ่งในด้านหนึ่งนับเป็นนิมิตหมายอันดี ที่ประเทศชาติจะมีผู้ทรงภูมิความรู้เข้ามาบริหาร แต่ขณะเดียวกันมักหนีไม่พ้นเสียงวิพากษ์เรื่องการยึดถือผลประโยชน์ทางธุรกิจตนเอง หรือพรรคพวกเป็นเรื่องใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เข้ามาโดยอุบัติเหตุทางการเมือง ตัวอย่างล่าสุดของนักธุรกิจระดับประเทศที่พยายามสลัดคราบพ่อค้ามาสวมบทบาทนักการเมืองผู้เสียสละเพื่อชาติคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คนรุ่นใหม่อดีตประธานกรรมการบริหาร กลุ่มชินวัตร ซึ่งที่สุดได้กลายเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปแล้ว หลังจากเข้ามาชิมลางได้แค่ 101 วันเท่านั้น ด้วยการส่งเทียบเชิญไปจากพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้นำพรรคพลังธรรม เรียกได้ว่าปลายลิ้นยังไม่ทันได้สัมผัสรสชาติเสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม คนหนุ่มไฟแรงอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช่จะหยุดความปรารถนาเพียงแค่นี้หลังจากต้องก้าวลงจากเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบัวแก้วด้วยความจำยอมแล้ว ยังมีกระแสข่าวออกมาว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีโครงการจะหวนกลับมาอีกครั้งโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง อันเป็นข้อตกลงพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นยันต์กันคำครหาที่ได้ผลในระดับหนึ่ง

MIS Business Poll จึงร่วมกับนิตยสาร "ผู้จัดการ" ประเมินศักยภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ ในการบริหารประเทศในระดับนายกรัฐมนตรีจากสายตาของเหล่าผู้บริหารองค์กรชั้นนำต่างๆ ในเมืองหลวง ต่อประเด็นความพึงพอใจต่อบุคลิกภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ ความสามารถและโอกาสในการเป็นนายกรัฐมนตรีหรือในการดำรงตำแหน่งระดับผู้นำบริหารประเทศ อุปสรรคปัญหาที่สกัดกั้นเส้นทางสู่นายกฯ ตลอดจนความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ต่างๆ หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี และอะไรจะเกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมหากตัวแทนจากกลุ่มชินวัตรเป็นผู้นำประเทศ

MIS Business Poll
ชี้ศักยภาพทักษิณในกลุ่มชนชั้นนำ

MIS Business Poll สะท้อนมุมมองต่อศักยภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ จากมุมมองของกลุ่มผู้บริหารองค์กรต่างๆ ในกรุงเทพฯ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบจัดชั้น โดยแบ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นผู้บริหารองค์กรที่ประกอบกิจการต่างๆ 4 กลุ่มด้วยกันคือกลุ่ม ธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง กลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม และกลุ่มธุรกิจบริการ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 เมษายน-3 พฤษภาคม 2538 ด้วยวิธีการส่งแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบ

ผลปรากฏว่าได้รับกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 216 ราย ประมาณ 1 ใน 3 คือ 34.70% เป็นผู้บริหารในธุรกิจบริการ รองลงมาเป็นผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง 28.60% กลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม 18.80% ใกล้เคียงกับสัดส่วนผู้บริหารในกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ซึ่งคิดเป็น 17.80% องค์กรเหล่านี้ส่วนใหญ่คือ 40.90% เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีขนาดการจ้างงาน 500 คนขึ้นไป ถัดมามีขนาดการจ้างงานต่ำกว่า 100 คน 26.50% 100-299 คน 20.90% และ 300-499 คน 11.70%

ด้านตำแหน่งของผู้บริหาร ส่วนใหญ่คือ 39.50% ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง รองลงมาได้แก่ ผู้บริหารระดับต้น 36.30% ผู้บริหารระดับสูง 15.30% และเจ้าของกิจการ 8.80% โดยกว่าครึ่งคือ 58.90% จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ถัดมาจบการศึกษาสูงกว่าระดับปริญยาตรี และจบต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นสัดส่วน 33.20% และ 7.90% ตามลำดับ

ภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ นับว่าน่าประทับใจไปทุกด้านในสายตาผู้นำองค์กรธุรกิจต่างๆ ในกรุงเทพฯ จากคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อบุคลิกภาพโดยภาพรวมเท่ากับ 81.53% มีช่วงคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 71.94%-92.80% บุคลิกภาพแต่ละด้านจึงได้รับระดับความประทับใจแตกต่างไป โดยด้านที่โดดเด่นเป็นที่สุดคือ ความมีวิสัยทัศน์ (Vision) สมกับที่เป็นผู้นำธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสำคัญต่อการชี้อนาคตของประเทศในยุค Information Superhighway นี้ ส่วนบุคลิกภาพที่ประทับใจในลำดับถัดมา ได้แก่ ความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นธรรมชาติของนักธุรกิจระดับชาติ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 90.48% ความกล้าและฉับไวในการตัดสินใจ/ทำงาน 85.22% ความเอาใจใส่และทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มที่ 83.26% ความมีระบบในการทำงานภายใต้ทิศทางที่ชัดเจน 82.00%

นอกจากนี้บุคลิกภาพในเรื่องต่อมาที่ประทับใจ คือการมีระบบคิดที่มีเหตุผลกับคะแนนเฉลี่ย 81.82% ความสามารถในการบริหารงานบุคคล 79.04% ความสามารถในการสร้างภาพที่ดีในการสื่อสารกับสาธารณชน 74.98% ความมีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตย 73.80% และสุดท้ายคือ ความประทับใจในความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยคะแนนเฉลี่ย 71.94%

ในมุมมองของผู้บริหารแต่ละกลุ่มกิจการต่อบุคลิกภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ พบว่าผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มีความประทับใจต่อบุคลิกภาพของพ.ต.ท.ทักษิณมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 84.49% ถัดมาเป็นความประทับใจของผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/ การเงิน/ ประกันภัย กับคะแนนเฉลี่ย 82.56% ตามด้วยผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง 80.99% และกลุ่มธุรกิจบริการ 80.39%

ทั้งนี้ทุกกลุ่มดังกล่าวประทับใจบุคลิกภาพด้านความมีวิสัยทัศน์ มุมมองที่กว้างไกลของพ.ต.ท.ทักษิณ มากที่สุด รองลงมาเป็นความประทับใจต่อความไหวตัวต่อสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว ยกเว้นผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ที่ประทับใจในเรื่องความกล้าหาญรวดเร็วในการตัดสินใจ/ทำงาน มากเป็นอันดับสอง ส่วนเรื่องที่เรียกคะแนนความประทับใจได้น้อยที่สุด ในสายตาของผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ตรงกับความเห็นของกลุ่มธุรกิจบริการ ที่พึงใจด้านความซื่อสัตย์ สุจริต ของพ.ต.ท.ทักษิณน้อยกว่าทุกด้าน ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ประทับใจกับความมีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตยน้อยที่สุด ส่วนผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง ลงความเห็นว่าบุคลิกภาพที่เป็นจุดอ่อนของพ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุดคือ ความสามารถในการสื่อสารสู่สาธารณชน ดังเช่นคำพูด ตลอดจนท่าทีที่แสดงผ่านทางสื่อมวลชน

หลังจากที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถ ผนวกกับประสบการณ์ทางธุรกิจระดับชาติ แสดงภูมิปัญญาไม่เพียงให้สาธารณชนทั่วประเทศได้ประจักษ์เท่านั้น หากยังปรากฏต่อสายตาประเทศเพื่อนบ้านเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของกระทรวงการต่างประเทศนับเป็นเวลากว่า 3 เดือน และ ณ วันนี้พ.ต.ท.ทักษิณยังมีปณิธานที่จะเข้ารับใช้ชาติโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง เมื่อหยั่งเสียงของเหล่าผู้บริหารธุรกิจเอกชน ผู้ไวต่อข่าวสารต่อความสามารถของ พ.ต.ท.ทักษิณในการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศ พบว่าแม้เสียงส่วนใหญ่คือ 39.30% ลงมติว่าพ.ต.ท.ทักษิณมีความพร้อมแล้วที่จะทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี แต่ยังมีเสียงที่ดังใกล้เคียงกันคือ 32.20% ประกาศว่ายังลังเลไม่แนใจอยู่ ซึ่งก็อาจจะเหมาะสม หรือไม่เหมาะสมก็ได้ แสดงให้เห็นว่า บารมีที่ผ่านมาของพ.ต.ท.ทักษิณยังไม่แรงกล้าพอ ขณะเดียวกันความเห็นอีก 28.50% ประเมินว่าขณะนี้พ.ต.ท.ทักษิณยังมีความพร้อมไม่พอกับการจะแอ่นอกรับภาระอันหนักหน่วงดังกล่าว

ทั้งนี้ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุด มีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของพ.ต.ท.ทักษิณในการเป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ คิดเป็นสัดส่วนความเห็น 45.00% รองลงมาได้แก่ ความเชื่อมั่นของผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ ก่อสร้าง 42.60% กลุ่มธนาคาร/ การเงิน/ ประกันภัย 36.80% และกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย 36.80% และกลุ่มธุรกิจบริการ 34.20%

อย่างไรก็ตาม ความหวังที่จะก้าวถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพ.ต.ท.ทักษิณเห็นท่าจะไปได้ยากในการเลือกตั้งครั้งหน้า จากความเห็นถึง 64.43% ประเมินในทิศทางเดียวกันว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าพ.ต.ท.ทักษิณยังไปไม่ถึงฝันแน่ แต่ยังพอหวังได้ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปอีก ขณะที่ความเห็นรองลงมายังลังเลไม่แน่ใจ คิดเป็น 28.19% และมีผู้ที่มั่นใจกับศักยภาพของพ.ต.ท.ทักษิณว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งหน้าเพียง 7.38% เท่านั้น

เมื่อมองลึกลงไปในความเห็นของแต่ละกลุ่มกิจการ ปรากฏว่าทุกกลุ่มมีความเห็นในทิศทางเดียวกันคือ ส่วนใหญ่เชื่อว่าโอกาสทองกับการเป็นผู้นำประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ในระยะอันใกล้นี้แน่นอน แต่หากอดทนสะสมบารมีต่อไป ในการเลือกตั้งครั้งถัดๆ ไป นับว่ามีสิทธิลุ้น ขณะที่ความเห็นในลำดับถัดมาคือ ยังไม่แน่ใจ และความเห็นส่วนน้อยที่สุดคือ มีสิทธิเป็นถึงนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งหน้าเลยทีเดียว ซึ่งในความเห็นส่วนนี้ยังคงปรากฏว่าผู้บริหารในกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ยังมีสัดส่วนความเห็นดังกล่าวสูงกว่าผู้บริหารทึกกลุ่มกิจการ คือ 10.70%

หาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี อะไรจะเกิดขึ้น ? ในมุมมองของผู้บริหารโดยภาพรวมยังมั่นใจในความสามารถบริหารประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณค่อนข้างสูง กับคะแนนเฉลี่ย 76.13% แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้อย่างน่าพึงพอใจ จากช่วงคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจต่อสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งอยู่ระหว่าง 57.94%-89.80% ทั้งนี้ในฐานะตัวแทนระดับเจ้าพ่อจากธุรกิจโทรคมนาคม จึงได้รับความเชื่อถือด้านความสามารถนำพาประเทศไปสู่ความเจริญทางเทคโนโลยีได้สูงสุดกว่าทุกด้านด้วยคะแนนเฉลี่ย 89.80% ถัดมากลุ่มผู้บริหารเชื่อมั่นว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะสามารถเชื่อมสายสัมพันธ์กับกลุ่มนักธุรกิจด้วยกันอย่างไปได้สวย 88.82% ตามด้วยการส่งเสริมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ 82.93% การกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนในระยะยาว 81.16% ความสามารถในการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีอันดีกับต่างชาติ 79.23%

นอกจากนี้ ประเด็นที่ได้รับความเชื่อมั่นประการถัดมา ได้แก่ ความสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินให้เกิดในประเทศ กับคะแนนเฉลี่ย 71.30% การส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย 70.20% ความสัมพันธ์กับกลุ่มทหาร และผู้กุมกำลังในกองทัพ 70.14% การแก้ไขปัญหาการจราจร 69.28% ความสัมพันธ์กับกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคม อาทิ นักวิชาการ กรรมกร องค์กรประชาธิปไตย เป็นต้น 67.82% การปรับปรุงระบบราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 67.60% การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 66.10% การแก้ปัญหาสังคม 61.99% การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 66.10% การแก้ปัญหาสังคม 61.99% การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศาสนา 58.52% และเรื่องที่กลุ่มผู้บริหารให้ความไม่เชื่อมั่นมากที่สุด หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีคือการกระจายความเจริญสู่ชนบทไม่ว่าการแก้ปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ทำกิน การกระจายสาธารณูปโภคสู่ชนบท การพยุงราคาพืชผลการเกษตร ตลอดจนการขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งได้รับคะแนนเฉลี่ยความเชื่อมั่นเพียง 57.94%

ส่วนความเห็นของแต่ละกลุ่มกิจการ ผลปรากฏว่าโดยภาพรวมผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มอบความไว้วางใจให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ หากดำรงฐานะนายกรัฐมนตรีสูงกว่าทุกกลุ่มกิจการ ด้วยคะแนเฉลี่ย 80.44% ทั้งนี้เรื่องที่ผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ให้ความเชื่อมั่นสูงสุดตรงกับความเห็นของผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการ อันได้แก่ความสามารถของพ.ต.ท.ทักษิณในการนำความเจริญทางเทคโนโลยีมาสู่ประเทศ ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม และกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง มั่นใจในเรื่องความสามารถเชื่อมสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มนักธุรกิจซึ่งพูดภาษาเดียวกันอยู่แล้วมากที่สุด ส่วนประเด็นที่ได้รับความไม่เชื่อมั่นมากที่สุดหากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี พบว่าความเห็นส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นเอกฉันท์ นั่นคือ ผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย มีความเห็นตรงกับกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง และกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม คือไม่มั่นใจต่อสเถียรภาพของกลุ่มเกษตรกรผู้ยากไร้ในชนบทมากที่สุด ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการไม่มั่นใจในเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศาสนามากกว่าทุกเรื่อง

จากการประเมินทัศนะชนชั้นนำขององค์กรต่างๆ พบว่าแนวโน้มของธุรกิจโทรคมนาคมภายใต้ยุคพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีจะเข้าสู่ความเป็นเสรีมากขึ้น ไม่ผูกขาดอยู่เฉพาะกลุ่มเพียงหนึ่งหรือไม่กี่กลุ่มดังเช่นปัจจุบัน และแม้แต่กลุ่มชินวัตรเองก็ไม่ได้รับโอกาสให้ผูกขาดธุรกิจโทรคมนาคมด้านใดด้านหนึ่งอย่างถาวรเช่นกัน ดังความเห็นต่อธุรกิจดาวเทียม ปรากฏว่าสัดส่วนความเห็นว่ากลุ่มชินวัตรจะเป็นฝ่ายผูกขาดธุรกิจนี้ หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีใกล้เคียงกับสัดส่วนความเห็นว่าธุรกิจนี้จะเสรียิ่งขึ้นอย่างมากคิดเป็น 29.40% กับ28.10% ตามลำดับ ส่วนความเห็นในลำดับต่อมาคือ จะมีการผูกขาดในธุรกิจดาวเทียมมากขึ้น 22.20% และไม่แน่ใจ คิดเป็นสัดส่วน 20.30%

ในประเด็นเดียวกันนี้ผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกับกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม คือคาดว่าธุรกิจดาวเทียมจะเปิดเสรีมากขึ้น ส่วนผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกับผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการ คือคาดว่ากลุ่มชินวัตรจะเข้ามาผูกขาดในการดำเนินธุรกิจดาวเทียมมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้นับว่าผูกขาดอยู่แล้วในฐานะผู้ได้รับสัมปทานดาวเทียมไทยคมที่ให้บริการในไทยเพียงเจ้าเดียวถึง 8 ปี

สำหรับความเห็นต่อนโยบายสื่อเสรี ไม่ว่าทีวีเสรี หรือเคเบิลทีวี หากอยู่ภายใต้การชี้นำของพ.ต.ท.ทักษิณ ความเห็นส่วนใหญ่คาดว่าจะเปิดให้หน่วยงานต่างๆ เข้าดำเนินธุรกิจได้อย่างเสรียิ่งขึ้นคิดเป็น 48.70% รองลงมาลงความเห็นว่าจะผูกขาดมากขึ้น 17.10% เปิดทางให้กลุ่มชินวัตรผูกขาดธุรกิจมากขึ้น 15.80% และมีกลุ่มที่ไม่แน่ใจอีก 18.40% ทั้งนี้เมื่อแยกแยะความเห็นของผู้บริหารแต่ละกลุ่มกิจการ พบว่าทุกกลุ่มลงความเห็นส่วนใหญ่ว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าจะเปิดทางให้การดำเนินธุรกิจด้านสื่อต่างๆ เสรียิ่งขึ้น โดยผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม เชื่อมั่นต่อความเป็นเสรีในเรื่องนี้มากกว่าผู้บริหารทุกกลุ่ม คิดเป็นสัดส่วน 58.60%

เช่นเดียวกับทัศนะต่อธุรกิจการสื่อสารทางโทรศัพท์และไปรษณีย์ ที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่าภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ธุรกิจนี้จะเข้าสู่มิติการดำเนินกิจการที่เสรียิ่งขึ้นคิดเป็นสัดส่วนความเห็นถึง 42.80% รองลงมามีความเห็นว่าจะเกิดการผูกขาดมากขึ้น 20.70% และเปิดโอกาสให้กลุ่มชินวัตรเข้าผูกขาดแทน เท่าเทียมกับสัดส่วนความไม่แน่ใจ คือ 18.40% ทั้งนี้ผู้บริหารทุกกลุ่มกิจการต่างเชื่อมั่นว่าธุรกิจสื่อสารทางโทรศัพท์และไปรษณีย์จะเสรียิ่งขึ้น หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มีสัดส่วนความเห็นในเรื่องดังกล่าวมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ คือคิดเป็น 55.20%

การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดบนเส้นทางการเมืองย่อมมิใช่หนทางที่ราบเรียบ และเต็มไปด้วยความรื่นรมย์ตรงข้ามกลับเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม และหลุมพรางที่คอยทิ่มตำให้สะดุด หรือพลาดท่าจนอาจต้องชีวิตทางการเมืองไป ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญยิ่งสืบเนื่องจากการเดินเกมการเมืองของเหล่านักการเมืองชั้นนำแต่ละท่าน ที่ต่างพยายามหาแรงส่งให้ตนเองขึ้นไปให้สูงที่สุด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถหลบเลี่ยงได้หากตกลงปลงใจเดินเข้าสู่เวทีการเมือง

สืบเนื่องจากประเด็นดังกล่าว คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในการช่วงชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีกับพ.ต.ท.ทักษิณในทัศนะของผู้บริหารส่วนใหญ่ คิดเป็นสัดส่วน 41.10% ลงความเห็นว่าคือนายอำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคนำไทยผู้ลงทุนสละตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ซึ่งมาในมาดนักธุรกิจเช่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนบุคคลที่เป็นคู่แข่งคนถัดมา ได้แก่นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ด้วยสัดส่วนความเห็น 20.80% ตามด้วยนายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคชาติไทย 13.90%

ลำดับถัดมาเป็นคู่แข่งที่กลุ่มผู้บริหารลงความเห็นว่ายังห่างชั้นกับพ.ต.ท.ทักษิณมากนักอันได้แก่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นักการเมืองรุ่นลายคราม หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา 6.60% พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใฟม่ 2.60% พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม ผู้ชักนำ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าสู่สนามการเมืองอย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรก 2.00% และบุคคลอื่นๆ อันได้แก่ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้าพรรคเสรีธรรม และ น.พ.กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนความเห็นเพียง 1.30% ขณะเดียวกันยังมีผู้ที่ไม่สามารถระบุคู่แข่งตัวจริงของพ.ตท.ทักษิณได้อีก 10.60%

สำหรับความเห็นต่อนโยบายสื่อเสรี ไม่ว่าทีวีเสรี หรือเคเบิลทีวี หากอยู่ภายใต้การชี้นำของพ.ต.ท.ทักษิณ ความเห็นส่วนใหญ่คาดว่าจะเปิดให้หน่วยงานต่างๆ เข้าดำเนินธุรกิจได้อย่างเสรียิ่งขึ้นคิดเป็น 48.70% รองลงมาลงความเห็นว่าจะผูกขาดมากขึ้น 17.10% เปิดทางให้กลุ่มชินวัตรผูกขาดธุรกิจมากขึ้น 15.80% และมีกลุ่มที่ไม่แน่ใจอีก 18.40% ทั้งนี้เมื่อแยกแยะความเห็นของผู้บริหารแต่ละกลุ่มกิจการ พบว่าทุกกลุ่มลงความเห็นของผู้บริหารแต่ละกลุ่มกิจการ พบว่าทุกกลุ่มลงความเห็นส่วนใหญ่ว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าจะเปิดทางให้การดำเนินธุรกิจด้านสื่อต่างๆ เสรียิ่งขึ้นโดยผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม เชื่อมั่นต่อความเป้นเสรีในเรื่องนี้มากกว่าผู้บริหารทุกกลุ่มคิดเป็นสัดส่วน 58.60%

เช่นเดียวกับทัศนะต่อธุรกิจการสื่อสารทางโทรศัพท์และไปรษณีย์ที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่าภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ธุรกิจนี้จะเข้าสู่มิติการดำเนินกิจการที่เสรียิ่งขึ้นคิดเป็นสัดส่วนความเห็นถึง 42.80% รองลงมา มีความเห็นว่าจะเกิดการผูกขาดมากขึ้น 20.40% และเปิดโอกาสให้กลุ่มชินวัตรเข้าผูกขาดแทน เท่าเทียมกับสัดส่วนความไม่แน่ใจ คือ 18.40% ทั้งนี้ผู้บริหารทุกกลุ่มกิจการต่างเชื่อมั่นว่าธุรกิจสื่อสารทางโทรศัพท์และไปรษณีย์จะเสรียิ่งขึ้น หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มีสัดส่วนความเห็นในเรื่องดังกล่าวมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ คือคิดเป็น 55.20%

การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดบนเส้นทางการเมืองยิ่มมิใช่หนทางที่ราบเรียบ และเต็มไปด้วยความรื่นรมย์ตรงข้ามกลับเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม และหลุมพรางที่คอยทิ่มตำให้สะดุด หรือพลาดท่าจนอาจต้องจบชีวิตทางการเมืองไป ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญยิ่งสืบเนื่องจากการเดินเกมการเมืองของเหล่านักการเมืองชั้นนำแต่ละท่าน ที่ต่างพยายามหาแรงส่งให้ตนเองขึ้นไปให้สูงที่สุด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถหลบเลี่ยงได้หากตกลงปลงใจเดินเข้าสู่เวทีการเมือง

สืบเนื่องจากประเด็นดังกล่าว คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในการช่วงชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีกับพ.ต.ท.ทักษิณในทัศนะของผู้บริหารส่วนใหญ่ คิดเป็นสัดส่วน 41.10% ลงความเห็นว่าคือนายอำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคนำไทย ผู้ลงทุนสละตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ซึ่งมาในมาดนักธุรกิจ เช่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนบุคคลที่เป็นคู่แข่งคนถัดมา ได้แก่นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วยสัดส่วนความเห็น 20.50% ตามด้วยนายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคชาติไทย 13.90%

ลำดับถัดมาเป็นคู่แข่งที่กลุ่มผู้บริหารลงความเห็นว่ายังห่างชั้นกับพ.ต.ท.ทักษิณมากนักอันได้แก่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นักการเมืองรุ่นลายคราม หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา 6.60% พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ 2.60% พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม ผู้ชักนำ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าสู่สนามการเมืองอย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรก 2.00% และบุคคลอื่นๆ อันได้แก่ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้าพรรคเสรีธรรม และ น.พ.กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนความเห็นเพียง 1.30% ขณะเดียวกันยังมีผู้ที่ไม่สามารถระบุคู่แข่งตัวจริงของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้อีก 10.60%

สำหรับความเห็นของผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงินประกันภัย ต่อคู่แข่งคนสำคัญของพ.ต.ท.ทักษิณ ในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศตรงกับความเห็นของผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง และกลุ่มธุรกิจบริการต่างๆ อันได้แก่ นายอำนวย เช่นเดิม โดยกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ให้ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของนายอำนวยมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม เชื่อว่านายชวนคือคู่ปรับคนสำคัญที่สุดของพ.ต.ท.ทักษิณ

ส่วนคู่ปรับที่อยู่นอกสายตามากที่สุด จากผลการสำรวจพบว่าผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ลงความเห็นว่าคือนายชวนและพล.ต.จำลอง ผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง มีความเห็นตรงกับกลุ่มธุรกิจบริการ คือเลือกพล.อ.ชวลิต ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม เชื่อว่านักการเมืองชั้นนำหลายท่านล้วนทาบรัศมีพ.ต.ท.ทักษิณไม่ติดอันได้แก่ นายบรรหาร พล.อ.ชาติชาย พล.อ.ชวลิต และพล.ต.จำลอง

คงไม่ใช่เรื่องง่ายกับการเล่นการเมืองไทยอย่างเต็มตัวครั้งแรก แล้วจะได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนจนสามารถขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้มีการสั่งสมบารมีมาสักระยะหนึ่งก่อน กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณจึงต้องอาศัยเวลาพิสูจน์ให้เกิดการยอมรับอยู่ อย่างไรก็ตาม กับชั้นเชิงความสามารถในระดับเจ้าพ่อธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจที่กำลังเปล่งประกายรุ่งโรจน์ในปัจจุบัน ผู้บริหารองค์กรธุรกิจกว่าครึ่งคือ 57.30% จึงลงความเห็นว่าหากไม่กล่าวถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการมากที่สุด โดยกระทรวงที่ตรงกับความชำนาญที่สุดคือ กระทรวงคมนาคม รองลงมาคือ กระทรวงการต่างประเทศ ความเห็นในลำดับถัดมาได้แก่ความเหมาะสมกับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 24.50% รัฐมนตรีช่วยว่าการ 8.30% ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 6.70% และส.ส.ฝ่ายค้าน 3.10%

สำหรับมุมมองของแต่ละกลุ่มกิจการ พบว่าผู้บริหารทุกกลุ่มเชื่อมั่นว่า หากไม่กล่าวถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วพ.ต.ท.ทักษิณมีความเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการมากที่สุด โดยผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการมีสัดส่วนความเห็นในเรื่องนี้มากกว่าผู้บริหารกลุ่มอื่นๆ ซึ่งคิดเป็น 61.90% ทั้งนี้กระทรวงที่เหมาะสมกับพ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุดได้แก่ กระทรวงคมนาคม ยกเว้นผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ที่ประเมินว่ากระทรวงการต่างประเทศเหมาะกับความรู้ความสามารถของพ.ต.ท.ทักษิณมากกว่ากระทรวงใดๆ

ในด้านตรงข้าม ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมกับพ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุดในสายตาของผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ตรงกับความเห็นผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการ และกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม อันได้แก่ ตำแหน่ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลคือตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมกับศักยภาพของพ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุด

หนทางสู่นายกฯ ยังต้องรอเวลาสั่งสมบารมี

โดยสรุปภาพลักษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณในมุมมองของบุคคลระดับผู้นำองค์กรธุรกิจในเขตเมืองหลวง นับว่าเป็นตัวแทนของผู้บริหารแห่งยุคคลื่นลูกที่สามอย่างแท้จริง ด้วยลักษณะของผู้ที่เต็มไปด้วยการมองไปข้างหน้า ทันยุคทันเหตุการณ์กล้าคิดกล้าทำ มีความพร้อมอย่างสูงที่จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์โลก จึงเชื่อมั่นได้ว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างแน่นอน รวมทั้งมีแนวโน้มเข้าสู่ยุคโทรคมนาคมเสรีมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันปัญหาความล้าหลังจะยังผูกติดอยู่กับภาคเอกชนเช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม แม้ประสบการณ์ความรู้ความสามารถของพ.ต.ท.ทักษิณจะได้รับการยอมรับในกลุ่มชนชั้นนำองค์กรธุรกิจ แต่ในการเลือกตั้งครั้งหน้าหรือประมาณ 1 ปีข้างหน้าตามกำหนดการ คงยากที่จะมีศักยภาพสูงถึงระดับนายกรัฐมนตรี สำหรับพ.ต.ท.ทักษิณยังต้องอาศัยเวลาสั่งสมบารมีให้เกิดการยอมรับกับคนส่วนใหญ่ในประเทศ ประการสำคัญยังต้องเรียนรู้ยุทธวิธีเดินเกมการเมืองที่ลุ่มลึกอีกระยะหนึ่ง ท่ามกลางการเทใจช่วยของชนชั้นนำในกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มากกว่ากลุ่มใดๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us