|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลาดหลักทรัพย์ฯ หั่นเป้าบริษัทเข้าจดทะเบียนปีนี้เหลือ 40 บริษัทจากเดิม 100 บริษัท เหตุภาวะตลาดไม่ดีทำให้ได้เม็ดเงินระดมทุนไม่เป็นไปตามความต้องการ “โสภาวดี” แนะบริษัทที่ต้องการเข้าระดมทุนเดินหน้าแต่งตัวรอจังหวะให้พร้อม เผยขณะนี้มีบริษัทเตรียมยื่นไฟลิ่งต่อก.ล.ต.ปีหน้าแล้ว 40 บริษัท ขณะที่วงการวาณิชธนกิจมองจะทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพตลาดหุ้นในครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร ระบุถ้าภาวะหุ้นยังซบเซาต่อเนื่องก็เป็นไปได้ลำบาก
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย ประธานศูนย์ระดมทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการปรับเป้าบริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ SET และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอหรือ mai เหลือ 40 บริษัท แบ่งเป็น บริษัทที่เข้าจดทะเบียนในSET 30 บริษัทmai 10 บริษัท จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 100 บริษัท คือ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือSETจำนวน 60 บริษัทและในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอหรือ maiจำนวน 40 บริษัท เนื่องจากภาวะตลาดไม่ดีซึ่งมีผลให้ค่าพี/อี เรโช หรือP/Eตลาดปรับตัวลดลงเช่นกัน ทำให้บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนมีการชะลอแผนการเข้าจดทะเบียนออกไป ซึ่งหากยังเข้าจดทะเบียนอยู่ก็จะทำให้ได้เม็ดเงินระดมทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะ การกำหนดราคาเสนอขายหุ้นจะให้ส่วนลดกับนักลงทุน 15-20% จากค่าP/Eตลาด รวมถึง บริษัทบางแห่งก็ยังไม่จำเป็นที่จะต้องเร่งใช้เงินลงทุนในการขยายธุรกิจ
“จากการหารือกันภายในศูนย์ระดมทุนคาดว่าจะมีบริษัทเข้าจดทะเบียนในปีนี้รวม 40 บริษัท จาก เดิมที่ตั้งเป้าไว้ที่ 100 บริษัท เพราะ ภาวะตลาดไม่ดีซึ่งทำให้ค่าP/E ตลาดปรับตัวลดลงเช่นกัน ซึ่งการกำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอ จะให้ส่วนลดลง 15-20 % จากค่าP/Eตลาดทำให้ได้เงินที่น้อย ดังนั้นบริษัทจึงมีการชะลอการเข้าจดทะเบียนออกไป ”นางสาวโสภาวดีกล่าว
ทั้งนี้การปรับลดเป้าหมาบริษัทจดทะเบียนที่จะเข้าระดมทุนเหลือ 40 บริษัท ลดลงไม่มากจากปีที่ผ่านมาที่มีบริษัทเข้าจดทะเบียนรวม 50 บริษัท และคาดว่าบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 30 บริษัท จะเป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจาก ทั้ง 30 บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทที่ได้มีการยื่นขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อปลายปี2548 ที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องเข้าจดทะเบียนภายในปีนี้ โดยเชื่อว่ามีหลายบริษัทที่ต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งจะได้เป็นระยะเวลา 5 ปี
อย่างไรก็ตามบริษัทจะเข้าจดทะเบียนจะเริ่มมีจำนวนมากขึ้นในช่วงปลายปี เพราะปกติแล้วที่บริษัทจะเลือกเข้าในช่วงปลายปีจากที่ภาวะตลาดเริ่มปรับตัวดีขึ้น และเป็นช่วงที่จะต้องรีบเข้าจดทะเบียนเพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
นางสาวโสภาวดี กล่าวว่า บริษัทที่ต้องการที่จะเข้าระดมทุนก็อยากให้มีการดำเนินการอนุมัติให้เรียบร้อย ถึงแม้ภาวะตลาดไม่เอื้อก็ชะลอไปก่อน เพราะ มีระยะเวลา 1 ปีในการเข้าจดทะเบียนหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)อนุมัติ ซึ่งหากภาวะตลาดที่ดีก็เป็นโอกาสที่จะเข้าจดทะเบียน ซึ่งหากบริษัทใดมีความพร้อมก็จะได้เปรียบในการเข้าจดทะเบียน
ขณะนี้มีบริษัทที่มีความต้องการที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯและได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินแล้วจำนวน 50 บริษัท ซึ่งจะเตรียมที่จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล(ไฟลิ่ง) ต่อ ก.ล.ต.ในปีหน้าแล้วจำนวน 40 บริษัท
“ในช่วงภาวะตลาดไม่เอื้อในการเข้าจดทะเบียนก็อยากให้บริษัทที่มีความต้องการเข้าระดมทุนมีการดำเนินการขออนุมัติจากก.ล.ต.ให้เรียบร้อย เพราะกระบวนการอนุมัตินั้นจะใช้เวลาที่นาน ซึ่งหากภาวะตลาดเอื้อก็จะทำให้สามารถเข้าจดทะเบียนได้ทันที โดยขณะนี้มีบริษัทที่มีความต้องการที่จะเข้าจดทะเบียน โดยขณะนี้มีบริษัทที่มีที่ปรึกษาทางการเงินแล้วจำนวน 50 บริษัท และจะยื่นไฟลิ่งในปีหน้า จำนวน 40 บริษัท ”นางสาวโสภาวดี กล่าว
นายพรทัต อมตวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา จำกัดเปิดเผยว่า เป้าหมายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ 40 บริษัทจะสามารถทำได้ตามเป้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้นในช่วงครึ่งปีหลังว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งถ้าภาวะตลาดหุ้นยังซบเซาต่อเนื่อง โอกาสที่จะทำให้ได้ตามเป้าหมายใหม่ 40 บริษัทก็อาจจะทำได้ยาก แต่ถ้าภาวะตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัวและมีการซื้อขายคึกคักก็เชื่อว่ามีโอกาสที่จะทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เช่นเดียวกัน
"จากสภาพตลาดหุ้นที่ซบเซาในขณะนี้เชื่อว่าภายในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฎาคม คงจะยังไม่มีหุ้นไอพีโอหรือหุ้นใหม่ออกมาเสนอขาย เพราะส่วนใหญ่คงจะเลื่อนออกไปเพื่อรอให้ภาวะตลาดหุ้นกลับมาดีเสียก่อน ซึ่งถ้ามองว่ามีหุ้นไอพีโอเริ่มออกมาเสนอขายภายในเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน ก็อาจจะมีหุ้นเสนอขายเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น เพราะในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นช่วงที่นักลงทุนต่างประเทศหยุดพักการซื้อขายและมีวันหยุดมาก ที่ผ่านมาจึงไม่ค่อยมีการซื้อขาย ดังนั้นจึงต้องดูว่าในช่วง 4 เดือนที่เสนอขายหุ้นนั้นจะมีจำนวนบริษัทที่ทำไอพีโอมากน้อยเพียงใด"นายพรทัตกล่าว
ในส่วนของบล.กรุงศรีอยุธยานั้นภายในปีนี้คงจะไม่มีการนำหุ้นเข้ามาจดทะเบียนแล้ว เพราะมองว่าสภาพตลาดหุ้นไม่เอื้ออำนวย คงจะเลื่อนไปขายในปีหน้าแทน ซึ่งที่ผ่านมาบล.กรุงศรีอยุธยาเป็นแกนนำในการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายนำหุ้นบริษัทไทยออพติคอล กรุ๊ปหรือ TOG เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
นายแมนพงษ์ เสนาณรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า การที่จะมีบริษัทใหม่เข้ามาจดทะเบียนตามเป้าหมายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ด้านในด้านแรกเกี่ยวกับความพร้อมของข้อมูลของบริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียน รวมถึงความน่าสนใจของบริษัท ส่วนประการที่สองได้แก่ภาวะตลาดหุ้นจะเอื้ออำนวยหรือไม่ ซึ่งถ้าภาวะตลาดหุ้นยังซบเซาต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้หลายบริษัทชะลอแผนการเข้ามาจดทะเบียน
อย่างไรก็ตามจำนวนเป้าหมายที่กำหนดไว้ 40 บริษัทก็ถือว่าใกล้เคียงกับจำนวนบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในปีก่อน ซึ่งถ้าในช่วงที่ภาวะ ตลาดหุ้นปกติ เชื่อว่าไอพีโอก็จะมีจำนวนมากในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนเหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา โดยในเดือนธันวาคมจะเป็นช่วงที่นักลงทุนต่างประเทศหยุดพักร้อน ดังนั้นการขายไอพีโออาจจะมีไม่มากนัก
สำหรับในครึ่งปีแรกที่มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนแล้วจำนวนไม่มาก ก็เพราะภาวะตลาดหุ้นซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อภาวะตลาดหุ้นโดยรวม เพราะได้รับปัจจัยลบจากปัญหาด้านการเมือง สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอการเติบโตลง รวมถึงปัจจัยภายนอก เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ
นายแมนพงษ์กล่าวว่า ภายในครึ่งปีหลังบล.ภัทรจะนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนอีกหรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาในด้านต่างๆ รวมถึงภาวะตลาดหุ้นโดยรวม และบริษัทก็ไม่ได้มีการตั้งเป้าว่าในแต่ละปีจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนกี่บริษัท แต่จะตั้งเป้าในแง่ของรายได้ว่าจะอยู่ในระดับใด ซึ่งถ้าไอพีโอซบเซาก็จะหารายได้จากการเป็นที่ปรึกษาด้านอื่นเข้ามาเสริมแทน
นายสิทธิไชย มหาคุณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน)หรือ KESTเปิดเผยว่า ขณะนี้ประเมินได้ยากว่าจะมีจำนวนบริษัทเข้าจดทะเบียนได้ตามเป้าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้หรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับสภาพตลาดหุ้นโดยรวมว่าเป็นอย่างไร แต่ก็เชื่อว่าบริษัทหลายแห่งที่มีแผนจะเข้ามาจดทะเบียน บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินก็ได้มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว ถ้าภาวะตลาดหุ้นกลับมาฟื้นตัวก็จะได้เสนอขายหุ้นได้ทันที
สำหรับในส่วนของลูกค้าของบล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย)ในปีนี้นั้นจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กี่บริษัทยังไม่สามารถตอบได้เช่นเดียวกัน เพราะจะต้องรอประเมินสถาการณ์ภาวะตลาดหุ้นว่ามีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง
นายสรรเสริญ นิลรัตน์ รองการการผู้จัดการ บริษัท กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์จะต้องมีการปรับเป้าบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ เนื่องจาก ภาวะตลาดไม่ดีจึงทำให้บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนมีการชะลอแผนการออกไป เพราะ หากยังคงเข้าจดทะเบียนในช่วงภาวะตลาดไม่มี มีค่าP/E ต่ำ ก็จะทำให้เม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนไม่ได้จำนวนที่ต้องการ จากการกำหนดราคาเสนอขายหุ้น บริษัทจะต้องมีการกำหนดราคาที่ต่ำกว่าค่าP/E ตลาด
ทั้งนี้ที่ผ่านมาหุ้นที่เข้าจดทะเบียนแล้ว มีไม่กี่บริษัทที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าราคาจอง ทำให้นักลงทุนไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น โดยหุ้นบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน)หรือ RRC ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้น แต่ราคาหุ้นขณะนี้ก็มีการปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาจองแล้ว
|
|
 |
|
|