|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บิ๊กไออีซีออกโรงยันไม่มีความขัดแย้งในกลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัท ขณะที่ "บี เตชะอุบล" ยันถือหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาว เล็งดึงกองทุน OPUS เข้าถือหุ้นไออีซีในอนาคต
นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ กรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทอินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาได้มีกระแสข่าวว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทเกิดความขัดแย้งกันนั้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งการที่นายบี เตชะอุบล ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทนั้น เนื่องจากนายบีได้ไปร่วมจัดตั้งกองทุนกับผู้จัดการกองทุนต่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ขึ้นมา
"คุณบีเข้ามาบริหารงานในไออีซี ซึ่งได้เข้ามาดูแลในส่วนธุรกิจมือถือ และได้สร้างทีมงานในระดับมืออาชีพเข้ามาช่วย แต่หลังจากที่คุณบีได้ลาออกไปทำธุรกิจกองทุน ทำให้มีกระแสข่าวว่าผู้ถือหุ้นมีความขัดแย้ง จึงส่งผลทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงและทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รับความเสียหาย ส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้นไม่ได้กระทบมากนัก เพราะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นระยะยาว" นายสุมิทกล่าว
สำหรับความคืบหน้าในการหาพันธมิตรเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ขายเฉพาะเจาะจงจำนวน 600 ล้านหุ้นนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งก็มีนักลงทุนต่างประเทศหลายแห่งที่ติดต่อเข้ามา ส่วนที่มีข่าวว่ากองทุนดูไบจะเข้ามาถือหุ้นนั้นไม่ทราบว่าข่าวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
นายบี เตชะอุบล อดีตกรรมการ บริษัทอินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจีเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ตนถือหุ้นบริษัทไออีซีจำนวน 50 ล้านหุ้น ซึ่งยังมีแผนที่จะถือหุ้นในระยะยาวต่อไป และในอนาคตถ้ามีโอกาสก็อาจจะนำกองทุน OPUS เข้ามาถือหุ้นในบริษัทไออีซีก็ได้
"ผมเข้าถือหุ้นในบริษัทไออีซีตั้งแต่เดือนกันยายนปีก่อน และเมื่อเข้ามาแล้วก็เห็นว่าบริษัทไออีซีนั้นถือเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่แต่มีสินค้าที่ขายไม่มากนัก ดังนั้นจึงได้มีการปรับโครงสร้างบริหาร เพื่อให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง โดยดูแลด้านค้าส่งและค้าปลีกและช่วงที่ผ่านมาบริษัทก็ได้มีการเพิ่มทุนทำให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น" นายบีกล่าว
ในช่วงที่ผ่านมาตนได้ร่วมกับกลุ่มเพื่อนที่เคยเป็นผู้จัดการกองทุนของโกลแมนแซคส์ ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ OPUS Thailand Opportunity Fund ซึ่งมีบริษัทโกลบอลเอสเตทของตนเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 40% ซึ่งบริษัทร่วมทุนนี้จะบริหารกองทุน OPUSซึ่งเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) โดยมีมูลค่ากองทุนเบื้องต้น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะเพิ่มเป็น 50,100 และ 500 ล้านเหรียญสหรัฐภายใน 18 เดือนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้"นายบีกล่าว
ทั้งนี้กองทุน OPUS จดทะเบียนในเกาะเคย์แมน และมีนโยบายลงทุนในธุรกิจด้านไอทีและมีเดีย บริษัทในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นที่บริษัทไทย และฮ่องกงเป็นหลัก รวมถึงตลาดในสิงคโปร์, เกาหลี, ญี่ปุ่น, ไต้หวันฯลฯ โดยสัดส่วนจะเป็นในประเทศไทยประมาณ 40% และต่างประเทศ 60% ซึ่งผู้ลงทุนเป็นบุคคลส่วนตัวและกองทุนอื่นๆ จากยุโรป เอเซีย และออสเตรเลีย และจะเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีขนาดกลางและขนาดเล็กในตลาดต่างๆ ซึ่งกองทุนนี้จะเริ่มเข้าลงทุนได้ภายในกรกฎาคมนี้
|
|
|
|
|