Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 มิถุนายน 2549
กรุงไทยเล็งซื้อ TSEC อภิศักดิ์โต้ยังไม่ชัดเจน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย
โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้
โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์ ทีเอสอีซี จำกัด

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ทรีนิตี้, บล.
Banking and Finance
ทีเอสอีซี, บล




แหล่งข่าวจากวงการธนาคารพาณิชย์เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาได้มีกระแสข่าวลือว่าผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ทีเอสอีซีได้มีการหารือกับผู้บริหารของธนาคารกรุงไทยหรือ KTB ซึ่งธนาคารนั้นต้องการที่จะถือหุ้นในบล.ทีเอสอีซีซึ่งในเบื้องต้นได้กำหนดว่าจะถือหุ้นในสัดส่วนประมาณ 40% ซึ่งจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โดยทันที

ทั้งนี้การเจรจาถือว่ามีความคืบหน้าไปอย่างมากและมีแนวโน้มว่าจะสามารถสรุปได้ภายในไตรมาส 3 นี้ โดยบล.ทีเอสอีซีนั้นจะดำเนินการเพิ่มทุนในลักษณะขายให้กับนักลงทุนเฉพาะเจาะจงหรือ PP เพื่อเสนอขายให้กับธนาคารกรุงไทย ซึ่งปัจจุบันนี้บล.ทีเอสอีซีมีทุนจดทะเบียน 432 ล้านบาท และเป็นทุนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มทุนอีกประมาณเท่าตัว ซึ่งจะทำให้บล.ทีเอสอีซีมีทุนจดทะเบียนอยู่ในระดับ 800 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่ธนาคารกรุงไทยสนใจเข้าถือหุ้นในบล.ทีเอสอีซี เนื่องจากมองว่าเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีขนาดเล็กและสามารถบริหารต้นทุนในการดำเนินงานอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงใช้เงินในการลงทุนไม่มากนัก และสามารถถือหุ้นในสัดส่วนที่มาก เมื่อเทียบกับการที่ธนาคารกรุงไทยเข้าถือหุ้นในบริษัททรีนิตี้ วัฒนา ซึ่งมีบริษัทในเครือคือบล.ทรีนิตี้จะใช้เงินลงทุนที่มากกว่า รวมถึงสัดส่วนการถือหุ้นก็ไม่สูงมากนัก โดยถือหุ้นเพียง 19.44% เท่านั้น

สาเหตุธนาคารกรุงไทยต้องการเข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์นั้น เนื่องจากต้องการที่จะเป็นธนาคารพาณิชย์ครบวงจรหรือยูนิเวอร์เซอร์แบงก์ ซึ่งจะให้บริการทางด้านการเงินครบวงจร ขณะเดียวกันในส่วนของบล.ทีเอสอีซีก็จะได้รับประโยชน์เพราะจะได้ฐานลูกค้าของธนาคารกรุงไทย ที่เป็นผู้ฝากเงินที่อาจจะมีความต้องการเข้ามาซื้อขายหลักทรัพย์กับบล.ทีเอสอีซีในอนาคต ซึ่งจะช่วยทำให้มาร์เกตแชร์ในธุรกิจหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธนาคารกรุงไทยถือได้ว่าเป็นธนาคารที่มีสาขาอยู่จำนวนมาก รวมถึงธุรกิจด้านวาณิชธนกิจที่ธนาคารอาจจะป้อนลูกค้า ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความสนใจจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็อาจจะให้บล.ทีเอสอีซีเข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้เช่นกัน รวมถึงจะทำให้ฐานะการเงินของบล.ทีเอสอีซีมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันนี้โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบล.ทีเอสอีซี 5 อันดับแรกจะเป็นรายบุคคลทั้งหมด ไม่มีนักลงทุนสถาบันเข้ามาถือหุ้นเลยประกอบด้วยนายธวัช มีประเสริฐสกุล ถือหุ้น 11.46% รองลงมาได้แก่นายกรวุฒิ ลีนะบรรจง ถือหุ้น 8.02%, นางเบญจวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ ถือหุ้น 7.99%, นายวิบูลย์ องค์วาสิฏฐ์ ถือหุ้น 7.64% และนางสาวอุษณีย์ สุขสันต์ ถือหุ้น 7.44%

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่ธนาคารกรุงไทยถือหุ้นในบริษัททรีนิตี้วัฒนาอยู่นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องจับตาว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร ซึ่งก็มีกระแสข่าวลือว่าธนาคารกรุงไทยอาจจะตัดสินใจขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัททรีนิตี้ วัฒนา ออกไปก็ได้ สาเหตุเนื่องจากสัดส่วนการถือหุ้นของธนาคารกรุงไทยในทรีนิตี้ไม่มากนัก ไม่สามารถเข้าไปควบคุมดูแลงานได้มากนัก

นายภควัต โกวิทวัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ทรีนิตี้ จำกัดกล่าวว่า กรณีที่ธนาคารกรุงไทยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจะเข้าไปซื้อหุ้นบล.ทีเอสอีซีนั้น โดยส่วนตัวแล้วไม่ทราบเรื่องดังกล่าว จึงยังไม่ขอแสดงความคิดเห็นในขณะนี้

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่จะขยายธุรกิจหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในสิ้นไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา ว่าขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน และยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะจบได้ภายในสิ้นปีนี้หรือไม่ เนื่องจากภาวะจากปัจจัยต่างๆที่ยังไม่มีความแน่นอน ทั้งเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ และสถานการณ์ตลาดหุ้นที่มีความผันผวนในปัจจุบัน ทำให้ธนาคารมีความจำเป็นต้องเลื่อนการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ออกไปก่อนและยังไม่มีความชัดเจนว่าจะลงทุนในบริษัทใด โดยต้องขอรอดูที่ราคาหุ้นของบริษัทที่จะลงทุนด้วย

"ขณะนี้ยังไม่ลงตัวในเรื่องธุรกิจหลักทรัพย์ ยังไม่รู้ว่าจะเป็นหุ้นตัวใดและราคาหุ้นด้วย และที่ชะลอแผนออกไปว่าจะเอาที่ไหนดีประกอบกับเรื่องเศรษฐกิจและภาวะตลาดหุ้นด้วยทั้งสองด้าน ปีนี้เองก็ยังไม่แน่ใจว่าจะได้ข้อสรุปหรือเปล่า" นายอภิศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ธนาคารอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางที่เหมาะสมระหว่างการลงทุนเพิ่มในธุรกิจหลักทรัพย์ที่ธนาคารถืออยู่กับการซื้อใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อให้มีอำนาจในการบริหารมากขึ้น ในส่วนของการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ก็คงจะพยายามถือให้มากกว่า 40% แต่คงไม่เกิน 50% เพราะหากถือเกิน 50 % จะทำให้กลายเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งจะส่งผลให้การทำงานอาจมีความไม่คล่องตัวมากนัก

ทั้งนี้บริษัท ทรีนิตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ทรีนิตี้ เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ธนาคารมีนโยบายเข้าไปลงทุน แต่ปัจจุบันราคาหุ้น TNITY อยู่ระดับสูง จึงชะลอการลงทุนออกไป เพื่อรอจังหวะที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง ปัจจุบันธนาคารถือหุ้นอยู่ในทรีนิตี้ วัฒนาในสัดส่วน 19.6% ขณะที่ทรินิตี้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบล.ทรีนิตี้

“ทรีนีตี้ เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ดูอยู่ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งนี้หากใครได้เป็นพันธมิตรกับธนาคารจะได้ประโยชน์จากเครือข่ายของธนาคารที่มี เงินกองทุนจำนวนมาก ทำให้ธุรกิจหลักทรัพย์สามารถออกบอนด์ให้กับภาคเอกชนได้มากขึ้น แต่ราคาที่ธนาคารจะเข้าไปซื้อจะต้องไม่แพงเกินไป เพราะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แผนการซื้อหุ้นบล.คงต้องเลื่อนออกไปก่อนเพื่อรอให้ราคาลง ซึ่งคาดว่าภาวะการเมืองจะส่งผลให้ตลาดซบเซา” นายอภิศักดิ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us