Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538
"โรงเรียน-โรงงาน" ของทีพีไอ เสริมทัพอุตสาหกรรมของประชัย เลี่ยวไพรัตน์             
 


   
www resources

โฮมเพจ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (TPI) - ทีพีไอ

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
Chemicals and Plastics




เพราะการเติบโตแบบก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมไทยด้านปิโตรเคมี, ปูนซีเมนต์, โรงกลั่นน้ำมัน ไปจนถึงโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้เราหนีไม่พ้นปัญหาขาดแคลนบุคลากรเหมือนดั่งได้เกิดกับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมมาแล้วอย่างวิกฤติ แม้ในระยะสั้นจะแก้ปัญหาได้บ้างโดยใช้แรงงานสาขาใกล้เคียง และแรงงานนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ระยะยาวยังถือว่าน่าเป็นห่วง

"TPI Institute of Technology = TPIT" หรือในชื่อภาษาไทยว่า โรงเรียนเทคโนโลยีทีพีไอ (ทีพีไอเทค) สถาบันที่ทีพีไอกรุ๊ป รังสรรค์มาเป็นยาบรรเทาอาการด้านพลังงานในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า และเตรียมการวางรากฐานหลักสูตร เพื่อเสริมทัพสู้ศึกวิกฤติการณ์แรงงานด้านนี้อีกในอนาคต ซึ่งไม่เพียงจะป้อนให้เฉพาะค่ายตัวเองเท่านั้น ค่ายอื่นๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ทีพีไอก็ยังวาดหวังไว้อย่างไม่ลำเอียง

พลเอกสืบ อักษรานุเคราะห์ ประธานกรรมการบริหารทีพีไอเทค ซึ่งเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับวงการการศึกษามานาน กล่าวถึงจุดประสงค์ของการตั้งโรงเรียนในเขตอุตสาหกรรมระยองนี้ว่า "ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยคนในท้องถิ่นให้ได้มาทำงานใกล้บ้านเป็นการลดการอพยพ ลดการย้ายถิ่นฐานด้วย โดยโรงเรียนมีโครงการที่จะสร้างหอพักให้เด็กนอกพื้นที่ด้วย และในโอกาสข้างหน้า เรามีแผนเปิดในระดับปริญญา แต่ทั้งนี้ต้องดูในชั้นต้นก่อนว่าจะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน"

ส่วนปัญหาที่ว่า ทำไมทีพีไอถึงไม่ร่วมทำโครงการโรงเรียน-โรงงานกับโรงเรียนช่างที่มีอยู่แล้วในจังหวัด กรรมการโรงเรียนท่านหนึ่งแจงว่านี่เป็นปัญหาในทางการจัดการที่ยุ่งยากลำบาก ควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถกำหนดนโยบายอะไรได้ อีกทั้งตัวบทกฎหมายก็ยังไม่มีรองรับ ที่สำคัญรัฐก็ไม่สามารถนำเงินมาลงทุนได้เพียงพอ เพราะขณะที่เงิน 100 บาทที่รัฐเก็บจากนักเรียนขณะนี้ คิดแล้วเป็นค่าเงินเดือนครูตั้ง 80 กว่าบาท ไม่สามารถทำโรงเรียนเช่นเราได้ได้แน่ การส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้ลงทุนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (มหาชน) หรือทีพีไอ เคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า "ทีพีไอเทคเกิดขึ้นจากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่ขณะนี้มีโรงงานถึง 8,000 กว่าแห่ง แรงงานกว่า 300,000 คน ทว่าแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ต้องนำมาฝึกอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากยังไม่มีสถาบันใดผลิตแรงงานด้านพลังงานหรือปิโตรเคมีได้โดยตรง ทีพีไอเทคจึงถือเป็นการสนองความต้องการแรงงานเฉพาะด้านได้ตรงจุดที่สุด โดยเป็นไปในลักษณะการเรียนการสอนแบบโรงเรียน-โรงงาน"

ชั้นต้นกว่าจะออกมาเป็นรูปเป็นร่างทั้งหลักสูตร อาคารโรงเรียน ครูผู้สอนและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ก็เล่นเอาคณะกรรมการโรงเรียนหลายท่านต้องแก้เกมประชาสัมพันธ์กันมากกว่าปกติ เพราะผู้ปกครองหลายท่านยังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การเรียนไปและฝึกงานปฏิบัติจริงในโรงงานของทีพีไอกรุ๊ปจะสอนสู้โรงเรียนในภาคปกติไม่ได้

"แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว คนที่เรียนในภาคปกติ ผมว่าจะสู้คนที่เรียนในระบบโรงเรียน-โรงงานไม่ได้ เพราะการฝึกงานในสถานที่จริงกับการฝึกงานในห้องทดลองที่โรงเรียนทั่วไปปฏิบัติอยู่ย่อมแตกต่างกันมาก"

วรเทพ ติยะเจริญศรี ผู้จัดการโรงงานทีพีไอหนึ่งในคณะกรรมการโรงเรียนทีพีไอเทค บอกเล่ากับ "ผู้จัดการ" และพูดถึงหลักสูตรที่สอนว่า ในแต่ละห้องแต่ละชั้นยังจะแบ่งแยกย่อยเป็นสาขาแต่ละแขนงอีก การจะให้คนคนเดียวรู้ทั้งหมดทุกส่วนของอุตสาหกรรมต่อเนื่องทีพีไอคงเป็นไปไม่ได้ เพราะจะหนักเกินไป เราจึงแบ่งกลุ่มศึกษาแต่ละแขนงไปอีกครั้งหรือพูดง่ายๆ คือ จะแบ่งเป็นรายวิชาอาชีพให้เด็กเลือกอีกทีนั่นเอง

ซึ่งหลักสูตรที่เปิดมี 2 ระดับคือ ปวช.และปวส. ในส่วนของปวช.เปิดสอน 4 สาขา คือช่างยนต์, ช่างกลโรงงาน, ช่างไฟฟ้า, ช่างอิเล็กทรนิกส์

ส่วนปวส.จะเปิดเช่นเดียวกับปวช.แต่จะเพิ่มช่างเทคนิคอุตสาหกรรมอีกสาขาหนึ่ง ซึ่งในทุกช่างยังสามารถเลือกได้อีกว่าจะฝึกด้านปิโตรเคมี, ปูนซีเมนต์, โรงกลั่นน้ำมัน หรือโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า

โดยความแตกต่างกับโรงเรียนช่างทั่วไปนั้น พลเอกสืบสรุปว่า "ไม่แตกต่างกันนัก หลักสูตรก็ใช้ของสถาบันราชมงคลที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตแล้ว ทั้งนี้เพื่อที่ว่าเมื่อเด็กจบไปแล้ว รัฐจะได้รับรอง และสามารถเข้างานที่ไหนแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนทั่วไป มักจะต้องผ่านทฤษฎีประมาณ 4-5 เทอม ก่อนถึงจะได้ฝึกจริง ทำให้เด็กต่อภาพภาคทฤษฎี และปฏิบัติลำบาก จำไม่ค่อยได้แต่ทีพีไอเทค จะสอนทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริงในโรงงานเลย

เมื่อเรียนถึงเรื่อง หรือขั้นตอนไหนจะมีการจัดบุคลากรพิเศษ ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมาช่วยอธิบายหลังจากอาจารย์ประจำให้ความรู้ทางทฤษฎีเสร็จแล้ว ซึ่งก็คือทีมงานของทีพีไอกรุ๊ปตามสายงานการทำงานต่างๆ นั่นเอง

"เราจะไม่รอให้เด็กเรียนทฤษฎีจบไปนานแล้วค่อยมาฝึกจริง โรงเรียน-โรงงานของเราจะช่วยให้เด็กได้หลอมรวมระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างกลมกลืน" อาจารย์วิเชียร พันธ์เครือบุตร รองอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการกล่าว

ทั้งนี้ปีการศึกษาแรกที่จะเริ่มเดือนมิถุนายน 2538 เป็นการรับในระดับปวช.480 คนน และระดับปวส. 400 คน ซึ่งจำนวนนักเรียนทั้งหมดกับครูจะอยู่ในอัตราประมาณ 12 ต่อ 1 โดยหลักจากที่ผู้ปกครองและเด็กในจังหวัดเข้าใจนโยบายทีพีไอเทคแล้ว ปรากฏว่ายอดสมัครสอบคัดเลือกมีเขามามากถึง 3 เท่าของจำนวนรับทั้งสองระดับ

"ที่รับจำนวนจำกัด เพราะความสามารถเรามีเท่านี้ เรามิได้เปิดมาเพื่อหวังว่าจะค้ากำไรได้มากน้อยแค่ไหน แต่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยประเทศชาติได้เท่านั้น โดยเฉพาะช่วยลดปัญหาบุคลากรด้านนี้มากกว่าที่จะเป็นผลกำไรตอบสนองกลับมาเป็นการตอบแทนให้แก่สังคม" พลเอกสืบกล่าว

ในระยะแรกเริ่ม แน่นอนน่าจะเป็นการป้อนให้แก่กลุ่มทีพีไอกรุ๊ปได้อย่างดีเพราะดูโครงการต่างๆ มีมากเหลือเกินตั้งแต่ โรงกลั่นระยองที่จะเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ (37,500 ล้านบาท) โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกโพลีพ็อพพีลีน (พีพี) ในอินเดีย, โครงการในระหว่างการดำเนินการที่ประเทศฟิลิปปินส์คือโครงการผลิตเม็ดพลาสติกพีพี พีวีซี พีอี วีซีเอ็ม และก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์, โรงปูนซีเมนต์ในประเทศลาว

แต่ในอนาคตเป็นที่คาดว่าทีพีไอเทคนี้จะสามารถลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, ปูนซีเมนต์, โรงกลั่นน้ำมันหรือโรงผลิตกระแสไฟฟ้า ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นได้แน่นอน แต่แม้จะมีทีพีไอเทคเกิดขึ้นอีกสัก 3 หรือ 4 แห่งก็คงไม่สามารถสนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานนี้ได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้นทีพีไอเทคจึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us