Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538
สยามพาณิชย์ลิสซิ่ง บุกเบิกกู้ BIBF ภายใต้กฎหมายไทย             
 


   
search resources

สยามพาณิชย์ลิสซิ่ง, บมจ.
สำนักงานวิเทศธนกิจ
โอฬาร ไชยประวัติ
Loan




นับเป็นเวลากว่า 2 ปีมาแล้วที่มีการเปิดให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทย และต่างประเทศ เปิดสำนักงานวิเทศธนกิจ หรือ BIBF ขึ้นตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้เกิดธุรกรรมการกู้เงินตราต่างประเทศผ่านสำนักงานวิเทศธนกิจในประเทศเกือบ 100 สัญญา แต่ไม่แม้แต่สัญญาเดียวที่ลงบัญชีภายใต้กฎหมาย เงื่อนไขการโอนและชำระภาษีของไทย ทั้งนี้ส่วนธนาคารผู้จัดการเงินกู้จะอยู่ในประเทศก็จริง และสัญญาอยู่ภายใต้กฎหมายของสิงคโปร์และฮ่องกงเป็นส่วนใหญ่

เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเงื่อนไขภาษีที่ไทยเก็บในอัตราสุงกว่า ทำให้ต้นทุนการเงินสูงตามเมื่อเทียบกับการกู้ในฮ่องกงและสิงคโปร์

ดังนั้นการกู้เงินของบริษัทสยามพาณิชย์ลิสซิ่ง (SPL) ผ่านสัญญาเงินกู้ร่วม (Syndicated Loan) จาก 13 ธนาคารนำทีมโดย 4 สำนัก งานวิเทศธนกิจ ประกอบด้วย เดรสเนอร์แบงก์ ธนาคารไทยพาณิชย์ แบงก์ ออฟ โนวาสโกเทีย และ ลองเทอมเครดิตแบงก์ญี่ปุ่น ในวงเงิน32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐจึงเสมือนหนึ่งการเริ่มต้นที่แท้จริงของไทยที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์การเงินแห่งใหม่ เนื่องจากเป็นการกู้ครั้งแรกที่เกิดภายใต้กฎหมายไทย ที่เสียภาษีและโอนเงินในประเทศไทย

"การทำ Syndicated Loan ของสยามพาณิชย์ลิสซิ่งในครั้งนี้เป็นกุญแจสำคัญของกิจการวิเทศธนกิจ หรือ BIBF ในการพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการการเงินในอนาคต" ธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังการเซ็นสัญญากู้ยืมระหว่างสยามพาณิชย์ลิสซิ่ง กับ 13 ธนาคารผู้ปล่อยกู้ เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา

แต่สำหรับบริษัทสยามพาณิชย์ลิสซิ่งเป็นการบุกเบิกที่พ่วงมาด้วยต้นทุนการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อเทียบชื่อเสียงและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแล้ว ดร.โอฬาร ไชยประวัติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ และในฐานะประธานกรรมการบริษัทเชื่อมั่นว่างานนี้คุ้ม

"นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการเงินไทย ที่สามารถนำธนาคารต่างประเทศเข้าปล่อยกู้ในไทยได้ภายใต้กฎหมายไทย แม้ว่าต้นทุนภาษีการลงบัญชีจะสูงกว่าแต่บริษัทสามารถที่จะรับได้ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล" ดร.โอฬารกล่าว

สำหรับรายละเอียดต้นทุนการเงินของสยามพาณิชย์ลิส ซิ่งถือว่าบริษัทได้รับเครดิตที่ดีมากบริษัทหนึ่งที่สามารถกู้ได้อัตราค่อนข้างต่ำคือ LIBOR บวก 0.90% สามารถลดต้นทุนได้ถึง 5% เมื่อเทียบกับการกู้ยืมในประเทศ แต่เนื่องจากเป็นการกู้ผ่าน BIBF ภายใต้กฎหมายในประเทศไทย บริษัทจึงมีภาระต้องจ่ายภาษีหั ณ ที่จ่าย สำหรับการกู้เงินตราต่างประเทศ (Outing) อีก 10% จากวงเงินกู้คิดเป็นยอดเงินทั้งสิ้น 3.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 80 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นการกู้และโอนเงินในสิงคโปร์หรือฮ่องกงบริษัทจะไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานวิเทศธนกิจแห่งหนึ่ง กล่าวว่าการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือ Witholding Tax สำหรับการกู้ out-in นั้นเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ไทยยังไม่สามารถแข่งกับศูนย์กลางทางการเงินอื่นโดยเฉพาะที่สิงคโปร์ได้ ทั้งๆ ที่มีปัจจัยเอื้ออื่นๆ ดีกว่าทั้งในเรื่อง time zone และระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนาระดับสูงรองรับอยู่ ซึ่งในเรื่องกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะต้องรีบดำเนินการแก้ไข

ในส่วนของกระทรวงและธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาลดเงื่อนไขภาษี ทั้งนี้แหล่งข่าวระดับสูงระบุว่าขณะนี้กำลังเตรียมการลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายการกู้ยืม และภาษีธุรกิจใน BIBF อื่นๆ ทั้งนี้จะดำเนินการพร้อมกันทั้งระบบ

ปัจจุบันการกู้ผ่าน BIBF แบบ out-in มีสัดส่วนสูงถึง 96% เมื่อเทียบกับการทำธุรกิจ BIBF แบบ out-out หรือการนำเงินสกุลอื่นจากประเทศอื่นมาปล่อยกู้ให้อีกประเทศหนึ่งซึ่งมีอยู่เพียง 4% อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนมีนาคม 2537 จนถึงมีนาคม 2538 การทำธุรกิจ BIBF แบบ out-out เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 20% แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินซึ่งควรจะมีสัดส่วนการทำธุรกิจ BIBF แบบ out-in กับ out-out ใกล้เคียงกัน

อย่างไรก็ตาม การปรับเงื่อนไขภาษีใช่ว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นเป็นศูนย์กลางการเงินได้ หากสถาบันการเงินในประเทศไม่สามารถที่จะเพิ่มบทบาทการดำเนินงานได้มากกว่านี้ วิชัย พันธุ์โภคา ผู้จัดการทั่วไปสำนักงานเดรสเนอร์แบงก์วิเทศธนกิจกล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ จะต้องเพิ่มบทบาทในการเข้ามาเป็นผู้จัดการในการจัดหาแหล่งเงินกู้ในลักษณะนี้มากขึ้นเพราะจริงๆ แล้วแบงก์ไทยมีโนว์ฮาวมากที่จะทำได้และนั่นจึงจะมีส่วนสำคัญให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินอย่างแท้จริง

"ในส่วนตัวผมจะช่วยดึงลูกค้าที่จะลงบัญชีที่สิงคโปร์กลับเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งผมเคยช่วยเดรสเนอร์แบงก์ดึงลูกค้าจากฮ่องกงมาสิงคโปร์ เมื่อตอนที่ผมทำงานที่แฟรงก์เฟิร์ต" วิชัยกล่าวในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us