Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538
ความหมายของ "ริชาร์ด ชาง"นายคนแรกของวีซ่ากรุงเทพฯ             
 


   
search resources

วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
ริชาร์ด เค. ชาง
Banking and Finance




หนุ่มใหญ่ชาวไต้หวันวัยสี่สิบต้นๆ ริชาร์ด เค. ชาง ผู้สามารถพูดภาษาไทยคละเคล้าภาษาอังกฤษ ผนวกกับสำเนียงชาวจีนแมนดาริน เพิ่งจะร่วมงานกับวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เพียง 10 เดือน โดยประจำที่สิงคโปร์เป็นหลัก แต่มีภารกิจที่ต้องดูแลรับผิดชอบในฐานะผู้จัดการภูมิภาคในสิงคโปร์ สำนักงานในประเทศไทย และตลาดอินโดจีน

ใครจะเชื่อว่าวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ยักษ์ใหญ่ด้านระบบการชำระเงินเพื่อผู้บริโภคที่มีธนาคาร 22,000 แห่ง ใน 227 ประเทศเป็นเครือข่ายสมาชิกทั่วโลก มีร้านค้ารับบัตรวีซ่าถึง 12 ล้านแห่ง เพิ่งจะเปิดสำนักงานสาขาที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก หลังจากทิ้งเวลาเนิ่นนานให้คู่แข่งอย่างอเมริกาเอ็กซ์เพรสหรือเอเม็กซ์ทำไปก่อน ทั้งๆ ที่วีซ่าทำมาหากินร่วมกับแบงก์ไทยเทศ 14 แบงก์ เช่น กสิกรไทย มานานถึง 16 ปี นับตั้งแต่บัตรวีซ่าใบแรกเกิดขึ้นในปี 2522 และใช้กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และบริการรุกตลาดไทยสำเร็จ จนสามารถครองส่วนแบ่งตลาดบัตรเครดิตระหว่างประเทศถึง 60%

"การจัดตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ นี้ถือเป็นพันธกรณีที่มุ่งสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดและธนาคารสมาชิกในไทย พร้อมทั้งพัฒนาระบบการชำระเงินเพื่อผู้บริโภคไทยให้ดีขึ้น เพราะตลาดไทยโตเร็วมาก กว่า 30% ในปี 2536 ที่ผ่านมา มียอดชำระเงินผ่านบัตรไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 36,000 ล้านบาท) จากจำนวนผู้ถือบัตรถึง 640,000 ราย ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ และโตเร็วที่สุดในโลก" ลินด์เซย์ ซี.ไพน์ ประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งมีฐานบัญชาการใหญ่ที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่นเล่าให้ฟังถึงไทยที่ก้าวขึ้นมาสู่การเป็นตลาดระดับพันล้านเหรียญสหรัฐอีกแห่งหนึ่ง และไทยจะเป็นประตูสู่อินโดจีน โดยเฉพาะเวียดนามในอนาคตมีศักยภาพเติบโต

การแข่งขันเพื่อรักษาความเป็นผู้นำ ทำให้แบงก์กสิกรไทยซึ่งมีลูกค้ามากที่สุดกับแบงก์ทหารไทยจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ โดยอาศัยโนว์ฮาวและเทคโนโลยีของวีซ่าที่เรียกว่า 'ระบบอินเตอร์ลิงค์' ที่คุยว่าใช้รหัสลับ (พินเบส) ที่ปลอดภัยสูงสุดในการทำธุรกรรมการเงินในยุคโลกาภิวัตน์มาออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปต์รีเลชั่นการ์ดบัตรเดียวใช้คุ้ม เป็นทั้ง "บัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็มที่สามารถหักบัญชี ณ จุดขาย (พีโอเอส)" ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการซื้อ

ระบบอินเตอร์ลิงค์เป็นระบบของบัตรวีซ่าเดบิตระบบเดียวที่ออนไลน์เชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานพีไอเอ็น 100% สามารถตรวจสอบรหัสลับก่อนทำรายการ ณ จุดขาย แต่แบงก์จะต้องลงทุนสูงมากที่จะติดตั้งเครื่องเทอร์มินอลเอง เช่นเดียวกับสมัยก่อนที่แต่ละแบงก์ต้องลงทุนตู้เอทีเอ็ม แต่ภายหลังที่มีการทำเอทีเอ็มพูลก็สามารถลดค่าใช้จ่ายแต่เพิ่มจุดบริการได้ และเป็นที่คาดหวังว่าถ้าแบงก์กสิกรไทยทำตลาดสำเร็จ อาจจะมีแบงก์อื่นๆ ที่เหลือร่วมแชร์ค่าใช้จ่ายด้วย โดยวันแรกที่เปิดใช้กสิกรไทยตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่งให้บริการ จากจำนวนร้านค้าปัจจุบันที่รับบัตรวีซ่าในไทยรวม 65,000 แห่ง

"ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชีย-แปซิฟิกที่ได้ใช้ระบบอินเตอร์ลิงค์ เพราะมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ใหญ่มาก ผมเคยอยู่เมืองไทย รู้จักวัฒนธรรมไทย คนไทยชอบเป็นที่หนึ่ง ในอีกหกเดือนข้างหน้าหรือเร็วกว่านั้นเราจะได้เห็น" ชางเล่าให้ฟังหลังจากที่เพิ่งอยู่ไทยได้ 3 วันเพื่อแถลงข่าวและพิธีการเปิดสำนักงานวีซ่าในกรุงเทพฯ โดยตลอดเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นาฬิกาเรือนงามบนข้อมือเขายังคงเป็นเวลาในประเทศสิงคโปร์

ความเหมาะสมที่วีซ่าเลือกริชาร์ด ชาง เข้ามาร่วมงานด้วย เพราะเมื่อครั้งวัยเยาว์ ตั้งแต่อายุ 13 ชางเคยอยู่เมืองไทยและเมื่อเรียนจบไฮสกูลจากโรงเรียนนานาชาติที่กรุงเทพฯ ก็บินไปต่อปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจด้านสถิติและวิจัย จากมหาวิทยาลัยเท็กศัสที่ออสติน ชางทำงานกับบริษัทแทนเดม ยักษ์ใหญ่ธุรกิจคอมพิวเตอร์ถึง 18 ปี มีประสบการณ์ช่ำชองในตลาดสหรัฐฯ ตระเวนไปอยู่หลายเมือง เช่น เท็กซัส แมสซาชูเซตต์ โอกลาโฮมา จนกระทั่งปีที่แล้วชางจึงเปลี่ยนเส้นทางชีวิตมาทำงานกับวีซ่าและประจำอยู่สิงคโปร์

ในฐานะผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ริชาร์ด ชาง ตั้งเป้าหมายรุกให้ตลาดวีซ่าในไทยขยายส่วนแบ่งตลาดให้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ครองอยู่ 60% โดยทีมงานคนไทยที่มาจากแบงก์กสิกรไทยและบริษัทฟิลิปส์ ดิจิตอล จะสามารถให้บริการความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อประสานงานระหว่างสมาชิกลูกค้าที่เป็นแบงก์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้บัตรวีซ่ามากขึ้นเพราะยิ่งผู้ถือบัตรวีซ่ารุดไปซื้อสินค้าบริการมากเท่าใด วีซ่าก็ยิ่งจะได้รับ
ค่าธรรมเนียมจากปริมาณทรานแซกชั่นมากขึ้นเท่านั้น

แต่ผู้ถือบัตวีซ่าทั่วไปอย่าเข้าใจผิด โทรไปถามปัญหาข้องใจส่วนตัวกับคนในสำนักงานวีซ่าที่อาคารสินธรเชียว เพราะที่นี่เขาไม่รู้ มันเป็นเรื่องความรับผิดชอบของแต่ละแบงก์เอง ฉะนั้นวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนลจึงทำหน้าที่เป็นองค์กรคล้ายๆ บริษัทเอทีเอ็มพูลบ้านเรา ที่คอยลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและเก็บค่าต๋งจากสมาชิกที่เป็นแบงก์เท่านั้น

ที่สำคัญเวลาไปตกทุกข์ได้ยากเกี่ยวกับบัตรหายในต่างประเทศ อย่ามัวเสียเวลาค้นหาเบอร์โทรศัพท์วีซ่าอินเตอร์เนชั่นแนลในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองเด็ดขาด เพราะมันไม่เคยมี นี่คือคำเตือนสุดท้ายกันหน้าแตกจากริชาร์ด ชาง...จะบอกให้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us