Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2538
ความหมายยุคพันธมิตร             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ช่อง 7

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7
แกรมมี่ เทเลวิชั่น, บจก.
ชินวัตร
News & Media




ช่วงเดือนที่แล้ว บริษัทแกรมมี่ และกรุงเทพโทรทัศน์ (ช่อง 7 สี) ได้เข้าซื้อหุ้นไอบีซีจากชินวัตรประมาณ 18% และจากนอมินิของชินวัตรอีกประมาณ 15% หลังจากบริษัททั้งสองได้เสนอแผนการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ต่อก.ล.ต.ในอีก 2 เดือนข้างหน้า

จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาชินวัตรระบุว่าการเสนอขายหุ้นไอบีซีจำนวนประมาณ 33% (จำนวนประมาณ 22 ล้านหุ้น) ครั้งนี้จะมีมูลค่าประมาณ 1,474 ล้านบาทหรือตกประมาณหุ้นละ 67 บาท

แกรมมี่ และช่อง 7 สีจะเข้าลงทุนซื้อหุ้นกันคนละส่วนในไอบีซี คือ ฝ่ายละกว่า 700 ล้านบาท เงินลงทุนที่สูงเช่นนี้ กล่าวสำหรับช่อง 7 สี ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมทีวีมากว่า 25 ปี และเป็นบริษัท "ร่ำรวยเงินสด" คงไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรับแกรมมี่ที่เพิ่งมีอายุเพียง 10 ปี ต้องถือว่าเป็นการลงทุนที่สูงที่สุดของบริษัท

ไอบีซีเป็นบริษัทที่อยู่ในธุรกิจข่าวสารและบันเทิงโดยผ่านข่ายดาวเทียมไทยคม ดำเนินธุรกิจมากกว่า 5 ปีแล้ว ในทางเปิดเผยแม้ไอบีซีจะเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ก็ยังไม่มีใครทราบข้อเท็จจริงของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ในขณะนี้ ได้แต่อนุมานคาดเดาเอาเองว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 150,000 รายและไม่น่าจะเกิน 200,000 ราย

การที่แกรมมี่ ช่อง 7ส ีและชินวัตรอยู่ร่วมกันในไอบีซีโดยผ่านการซื้อขายหุ้นถือว่าเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมทีวีของบ้านเรา ที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ซึ่งเราเรียกว่าเป็นยุทธศาสตร์การสร้างพันธมิตรของทั้ง 3 ราย

ประเด็นที่น่าสนใจต่อปรากฏการณ์ข่าวนี้ก็คือ สิ่งนี้น่าจะเป็นสัญญาณที่กำลังบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีเป้าหมายเพื่อยึดกุมจำนวนผู้ชมในตลาดเมืองไทยได้เกิดขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมทีวี ก็กำลังเผชิญหน้ากับตลาดแข่งขันที่เปิดกว้างขึ้นจากความก้าวหน้าเทคโนโลยีข่ายสื่อสาร และการล่มสลายของระบบผูกขาดในการเช่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์รายการทีวี

แล้วเช่นนี้ ความหมายของการสร้างพันธมิตรในอุตสาหกรรมทีวีโดยผ่านข่ายดาวเทียมคืออะไร ?

จากการแสวงหาข้อเท็จจริงของผม พบว่าพันธมิตรทั้ง 3 คือชินวัตร แกรมมี่ และช่อง 7 สี ต่างมีจุดอ่อนและจุดแข็งในการทำธุรกิจนี้ แหล่งข่าวของผมคนหนึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมหนักเคยเล่าให้ผมฟังว่า การแข่งขันอุตสาหกรรมยุคใหม่ต้องสามารถใช้ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และมีความสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

ยุทธศาสตร์การบรรลุถึงสิ่งนี้ มีได้หลายหนทาง แต่ที่ให้ผลที่คุ้มค่ารวดเร็ว และประหยัด มีหนทางเดียวคือ การสร้างพลังผนึกกับพันธมิตรที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ชินวัตรเป็นเจ้าของเน็ตเวิร์กดาวเทียมไทยคมในฐานะผู้ลงทุน แต่ชินวัตรไม่มีสินทรัพย์ ในฐานะเจ้าของรายการข่าว และบันเทิงใดๆ ต่างจากช่อง 7 สี ที่ 25 ปีที่ผ่านมา ได้ลงทุนผลิตข่าวสาร ภาพยนตร์ สารคดี และรายการบันเทิงที่หลากหลายจนปัจจุบันถือว่าเป็นเจ้าของห้องสมุดรายการบันเทิงและสารคดีภาษาไทยที่ใหญ่ที่สุด ช่อง 7 สีกำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในการดำเนินงานทีวีช่อง 7 ต้นปีหน้า การประมูลครั้งใหม่ช่อง 7 สีจะเข้ามาร่วมประมูลใหม่ และคงจะได้สัมปทานต่อ

ส่วนแกรมมี่เป็นเจ้าของห้องสมุดเพลงไทย และจำนวนนักร้อง ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จที่ใหญ๋ที่สุดของประเทศ

สินทรัพย์ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ เมื่อนำมารวมกันภายใต้ยุทธศาสตร์ความเป็นพันธมิตร ทำให้ชินวัตร แกรมมี่ และช่อง 7 สี สามารถใช้เป็นจุดในการแข่งขันช่วงชิงคนดูด้วยรายการหรือผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

ผมมองว่าความหมายของพันธมิตรที่เกิดขึ้นในไอบีซีไม่มีข้อสงสัยเลยว่า จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านรายการสำหรับภาคภาษาไทยให้ไอบีซี

และขณะเดียวกันมองในแง่ภาพรวมแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในไอบีซี กำลังเป็นบรรทัดฐานใหม่สำหรับการแสวงหาคำตอบเพื่อความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีในอนาคตอันใกล้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us