Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 มิถุนายน 2549
ตลาดก่อสร้างปี49เติบโตต่ำสุดรอบ6ปี ปัจจัยอสังหาฯชะลอตัวรุนแรงบวกรัฐบาลสภาพคล่องฝืด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Construction




วิจัยกสิกรไทยฯ วิเคราะห์ภาพรวมตลาดการลงทุนก่อสร้าง คาดครึ่งหลังปี49 ตลาดขยายตัวในอัตราคงที่0.7% ถือเป็นอัตราเติบโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี

โดยงานก่อสร้างภาคเอกชนลดตามสภาพตลาดอสังหาฯ เผยไตรมาสแรกอัตราการขยายตัว4.1% โตจากปี48ไม่ถึง1% แจงการก่อสร้างภาครัฐฯยังขยายตัวสูงกว่าเอกชนขณะที่เอกชนอัตราการเติบโตส่วนทางปี48 ไตรมาสแรกขยายตัวเพียง2.8%ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ถึงตลาดการลงทุนก่อสร้างครึ่งหลังปี 2549 ว่า จากตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2549 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) พบว่าเศรษฐกิจไทยโดยภาพรวมมีการขยายตัว 6.0% แต่การลงทุนด้านการก่อสร้างมีทิศทางชะลอตัวลง โดยมีอัตราการขยายตัว 4.1% ในไตรมาสแรก ลดลงต่อเนื่องจากปี48 ที่ขยายตัวเฉลี่ย 3.9% แต่การลดลงดังกล่าวในปีนี้ เกิดจากการชะลอตัวของภาคเอกชน ในขณะที่ช่วงครึ่งหลังของปี 2548 การชะลอตัวเกิดจากของภาครัฐ

ทั้งนี้ คาดว่า การชะลอตัวในไตรมาสแรกปี49 เนื่องจากภาคเอกชนมีการลงทุนก่อสร้างขยายตัวเพียง 2.8% ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี โดยเฉพาะในไตรมาส4 ปี48 โดยมีสาเหตุของการชะลอตัวจากการพัฒนาอสังหาฯประเภทที่อยู่อาศัยเติบโตช้าลง โดยขยายตัวเพียง3.1% ในไตรมาสแรกปี 2549 ชะลอลงเหลือเพียงหนึ่งในสามของอัตราการเติบโตในไตรมาส4ปี48 ที่มีการขยายตัว 10.8% เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยชะลอตัวตามกำลังซื้อ และเงินเฟ้อ

ส่วนการก่อสร้างประเภทอื่น แม้ว่าชะลอตัวลงแต่ก็มีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าการก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยการก่อสร้างอาคารพาณิชย์กรรมขยายตัว11.4% (จาก 21% ในไตรมาสสี่ปี 2548) ส่วนใหญ่เป็นการขยายสาขาห้างสรรพสินค้าและดิสเคานท์สโตร์ในต่างจังหวัด ขณะที่การก่อสร้างประเภทอุตสาหกรรมขยายตัว 6.6% จาก10 %ในปี48 ส่วนการก่อสร้างอื่นๆ หดตัวลง 5.4% ขณะที่การก่อสร้างของภาครัฐมีการขยายตัว 5.6% โดยเป็นการก่อสร้างของหน่วยราชการส่วนกลาง และท้องถิ่น รวมทั้งในส่วนของรัฐวิสาหกิจมีการก่อสร้างโครงบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ(กคช.) และการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

สำหรับแนวโน้มการลงทุนด้านการก่อสร้างในช่วงที่เหลือของปี49 ธุรกิจการก่อสร้างอาจยังเผชิญกับภาวะซบเซา เนื่องจากทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากปัจจัยลบ น้ำมัน ดอกเบี้ย และเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นขณะที่สถานการณ์การเมืองยังไม่คลี่คลาย ได้ส่งผลให้การใช้จ่ายงบประมาณลงทุนในโครงการก่อสร้างของรัฐบางส่วนล่าช้าออกไป โดยในส่วนภาคเอกชนคาดว่าระยะเวลาที่เหลือของปี 49 นี้ จะมีปัจจัยลบ จากการชะลอตัวของความต้องการที่อยู่อาศัย ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้อีกในช่วงไตรมาส 3 และอาจทรงตัวในระดับที่สูงไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อลดลงอีก

นอกจากนี้ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลให้เกิดภาวะสูญญากาศในการดำเนินนโยบายของภาครัฐ ก็เป็นปัจจัยลบที่สำคัญต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชนไทยและการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งเมื่อนับรวมผลกระทบราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ในตลาดที่อยู่อาศัย คาดว่าถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้น 20% (ประมาณ 5 บาทต่อลิตร) จากปีก่อน อาจจะส่งผลให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง ยานพาหนะ ค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นประมาณ 62,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยนับเป็นตลาดที่สำคัญอย่างยิ่งต่อปริมาณงานในธุรกิจก่อสร้าง เนื่องจากเป็นตลาดงานก่อสร้างที่มีขนาดตลาดใหญ่ถึง 30% ของกิจกรรมการก่อสร้าง การชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัยจึงมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อแนวโน้มธุรกิจก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง ดังจะเห็นได้ว่ายอดขายปูนซีเมนต์หดตัว 6.5% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี49 ตามการชะลอตัวอย่างฉับพลันของตลาดก่อสร้างภาคเอกชน

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ คาดว่าการลงทุนในด้านการก่อสร้างของภาคเอกชน อาจจะขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี โดยอัตราการขยายตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 อาจอยู่ที่ประมาณ 3.4% และขยายตัว 4.6 % ในช่วงครึ่งหลังของปี โดยการขยายตัวที่สูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเปรียบเทียบที่ค่อนข้างต่ำในช่วงครึ่งหลังของปีก่อน ที่ธุรกิจพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรผลิตที่อยู่อาศัยออกสู่ตลาดน้อยลง โดยภาพรวมของการลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชนตลอดช่วงปี49 อาจมีอัตราการเติบโต 4 % (ปรับลดจากคาดการณ์เดิมที่คาดว่าอาจขยายตัว 6-8% จากการที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาด) คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 357,000 ล้านบาท เทียบกับที่มีมูลค่า 327,395 ล้านบาทในปี 48

ส่วนการลงทุนในการก่อสร้างของภาครัฐ อาจจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงในระยะที่เหลือของปี โดยในไตรมาสแรกปี49 การลงทุนยังได้รับอานิสงส์จากการที่รัฐบาลเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ทำให้ในช่วง 7 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 12% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังมีการเบิกจ่ายในส่วนของงบประมาณ 90,000 ล้านบาท แต่ในไตรมาสสองรัฐบาลเผชิญภาวะสภาพคล่องที่ลดลง ขณะที่การจัดเก็บรายได้เริ่มต่ำกว่าเป้าหมายในเดือนพ.ค.49 โดยต่ำกว่าประมาณการ1.3% ซึ่งรายรับที่ต่ำกว่าเป้าอาจเป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่ายของรัฐบาล โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการลงทุนในด้านการก่อสร้างโดยรวมของประเทศอาจมีมูลค่าประมาณ 693,000 ล้านบาทในปี 2549 เทียบกับมูลค่า 657,484 ล้านบาทในปี48 คิดเป็นอัตราการขยายตัว 0.7% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี

สำหรับแนวโน้มในปี 2550 การลงทุนในการก่อสร้างของภาคเอกชนมีแนวโน้มที่อาจปรับตัวดีขึ้น โดยปัจจัยบวกอาจมาจากการอ่อนตัวลงของภาวะเงินเฟ้อ ตามราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลง ซึ่งก็อาจส่งผลดีต่อเนื่องไปสู่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับลดลงเช่นกัน นอกจากนี้ ถ้าสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองคลี่คลายลง ก็น่าจะสนับสนุนให้ความมั่นใจของนักลงทุนกลับคืนมา ส่วนภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นมาขยายตัว 6% ในปี 2550   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us