Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538
วิสิฐ ตันติสุนทร แห่งเอไอเอดาวรุ่งบริหารพอร์ตหมื่นล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ)

   
search resources

อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์, บจก.
วิสิฐ ตันติสุนทร
Insurance




ตำแหน่งรองประธานภูมิภาคฝ่ายการลงทุนของวิสิฐ ตันติสุนทร ที่นั่งอยู่บนชั้น 12 ของตึกเอไอเอในประเทศไทย มีภารกิจดูแลครอบคลุมพื้นที่ยุทธศาสตร์การลงทุนที่สำคัญๆ ที่บริษัทแม่ "เอไอจี" หว่านเม็ดเงินมหาศาลลงไปในธุรกิจดั้งเดิมด้านประกันชีวิตและประกันภัย รวมถึงธุรกิจใหม่ขณะนี้ที่กำลังเฟื่องฟู คือการบริหารกองทุนซึ่งเป็นธุรกิจการให้บริการทางการเงิน (Financial Services)

ปัจจุบันวิสิฐทำงานหนักให้กับเอไอจีที่มีสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอยู่ที่ฮ่องกง ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นสำนักงานที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาก็ไต้หวัน อันดับสามคือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขณะที่อนาคตรอใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐบาลเวียดนาม และวิสิฐเริ่มเข้าไปดูการทำธุรกิจจัดการกองทุนที่อินเดียอยู่

วิสิฐเป็นนักบริหารการเงินมืออาชีพหนุ่มที่เพิ่งเข้ามาร่วมทำงานให้เอไอเอได้เพียง 3 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาทมิฬในปี 2535 ก่อนหน้านี้วิสิฐทำงานกับทิสโก้มานานมากถึง 9 ปี ฝึกวิทยายุทธ์จนกลายเป็นมืออาชีพครองตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อก่อนลาออกมาทำกับเอไอเอ

นามสกุล "ตันติสุนทร" คุ้นหูเพราะอาของวิสิฐเป็นนักการเมือง แต่วิถีทางของวิสิฐไม่ต้องการเป็นผู้แทนราษฎร เขาเลือกที่จะบริหารเงินๆ ทองๆ มากกว่า โดยเรียนจบปริญญาตรีบัญชีและพาณิชยศาสตร์ สาขาสถิติจากจุฬาฯ และบินไปเรียนต่ออีกสองปีก็คืนรังด้วยดีกรีเอ็มบีเอ-ปริญญาโท สาขาการเงินจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา

หนุ่มเอ็มบีเอจากวิสคอนซินคนนี้ได้สั่งสมประสบการณ์เพียง 12 ปีก็ก้าวขึ้นมาสู่ระดับรองประธานภูมิภาคของสถาบันยักษ์ใหญ่ประกันชีวิตอย่างเอไอเอได้ด้วยฝีมืออันโดดเด่น จากการบริหารพอร์ตลงทุนของเอไอเอประเทศไทยในปีที่แล้ว ที่สร้างตัวเลขผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 30% ขณะที่ตลาดการเงินผันผวน เป็นผลงานที่เปรียบเหมือนสปริงบอร์ดที่ส่งเสริมให้ฐานะตำแหน่งการงานของวิสิฐสูงขึ้นทันตา จากรองประธานฝ่ายการลงทุนของเอไอเอ ประเทศไทย พุ่งเป็นดาวรุ่งในฐานะรองประธานภูมิภาคฝ่ายการลงทุน

"นโยบายการลงทุนของเอไอเอ คือ หนึ่ง-ลงทุนในประเภทเสี่ยงน้อยที่สุด เช่น ฝากแบงก์ สอง-ลงทุนระยะยาวที่สุดเพราะกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นภาระหนี้สินระยะยาวและคงที่ ทำให้เราต้องลงทุนในตราสารหรือเครื่องมือการเงินที่มีระยะยาว และสาม-ผลตอบแทนสูงที่สุด" นี่คือหลักการบริหารเม็ดเงินของเอไอเอที่วิสิฐเล่าให้ฟัง

ขณะนี้พอร์ตลงทุนของเอไอเอในประเทศไทย 80% ของสินทรัพย์รวม 45,000 ล้านบาท จะถูกนำไปลงทุนในส่วนที่ให้ผลตอบแทนคงที่ (Fix Income Securities) แยกเป็นฝากธนาคาร 45% พันธบัตรรัฐบาลอีก 13% และลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของเอไอเอแค่หลักร้อยล้านเท่านั้นเอง

ส่วนอีก 21% ของสินทรัพย์รวมได้นำไปลงทุนในตลาดทุน (Equity Market) เป็นการลงทุนโดยตรงด้วยการถือหุ้นในธุรกิจที่มีศักยภาพ เช่น ลงทุนนับ 500-600 ล้านในเทเลคอมเอเซีย ถือหุ้น 5% ในชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯ ถือ 8% ชินวัตรแซทเทลไลท์ 12% ของหุ้นควอลิตี้ เฮ้าส์ ถือหุ้นในบลจ.ไทยพาณิชย์ 20% ถือหุ้น 20% ของโรงแรมฮิลตัน ณ ปาร์คนายเลิศ ถือหุ้นในแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และถือหุ้น 13% ในบริษัทศรีอู่ทอง

"หลังจากผมร่วมงานกับเอไอเอเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมได้จัดพอร์ตโฟลิโอใหม่ โดยโยกเงินลงทุนระยะสั้นที่มีอยู่นับหนึ่งหมื่นล้านไปอยู่ในรูปการลงทุนระยะยาว เพื่อให้ภาระหนี้สินกับทรัพย์สินมีระยะเวลา ทำให้เราได้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น ฝากแบงก์ และสามารถขยายระยะเวลาสินทรัพย์ลงทุนมากขึ้นจาก 2-3 ปีเป็น 6-7 ปีและเราพอใจในผลตอบแทนที่ดี" ในแต่ละปีเม็ดเงินใหม่ แคชโฟลที่นำมาลงทุนจำนวนไม่ต่กว่า 13,000 ล้านบาทที่วิสิฐบริหาร

การเลือกเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจ เช่น ชินวัตรกรุ๊ปและแกรมมี่ในมิติความคิดของนักลงทุนอย่างวิสิฐ ตันติสุนทร หัวใจสำคัญอยู่ที่ต้องมองให้ทะลุเห็นศักยภาพเติบโตและมูลค่าเพิ่มอันมหาศาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

"ทุกครั้งที่ผมตัดสินใจจะลงทุนเช่นในธุรกิจโทรคมนาคมซึ่งผมเข้าไปลงทุนทุกตัว ผมมองลึกลงไปกว่านั้นว่า แค่รายได้จากการเก็บค่าใช้โทรศัพท์สามบาทต่อครั้งนั้นไม่ใช่ปัจจัยสำคัญอันดับแรก แต่ "มูลค่าเพิ่ม" ที่เดินมาตามสายโทรศัพท์ใยแก้วมีมหาศาล เช่น เคเบิลทีวี ที่เชื่อมโยงธุรกิจโทรคมนาคมกับที่เราลงทุนในบริษัทแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นธุรกิจบันเทิงที่ผมไม่ได้มองแค่แกรมมี่มีแต่เพลวเท่านั้น แต่ทำอย่างไรจึงจะผลิตซอฟต์แวร์โปรแกรมผ่านสื่อทีวีเข้าถึงบ้านโดยตรงหรือทำรีเทลเอาต์เล็ตซึ่งแกรมมี่ขยายตลาดไป" เบื้องหลังการลงทุนแต่ละกิจการที่วิสิฐมองเป็นทัศนะที่ต้องกว้างไกล

ความเป็นหนุ่มเนื้อหอมที่หลายบริษัทยักษ์ใหญ่น้อยต่างรุมจีบอย่างเอไอเอ เป็นเพราะแหล่งเงินทุนระยะยาวที่คิดดอกเบี้ยต่ำ ดังเช่น กรณีบริษัทการบินไทยที่กู้เอไอเอซื้อเครื่องบินแอร์บัส หรือการปล่อยสินเชื่อเคหะให้แก่บริษัทพร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค และแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

"ผมคิดว่าพอร์ตโฟลิโอของเราพยายามที่จะกระจายความเสี่ยงในส่วนที่เสี่ยงน้อยที่สุด กรณีบริษัทการบินไทยก็มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เหมือนประเทศไทยค้ำประกันเงินกู้นี้ และมันเป็นการซินเนอยี่ระหว่างเอไอจีกรุ๊ปด้วยกัน คือการปล่อยเป็นเงินบาท แล้วบริษัทเอไอจี ไฟแนนเชียล โปรดักส์ ในเครือเอไอจีทำการสวอปเงินบาทเป็นดอลลาร์ให้กับการบินไทย โดยมี Arranger เป็นบริษัทเอไอเอแคปิตอล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจของเอไอเอทำ" ธุรกิจบริการการเงินที่วิสิฐเล่าให้ฟังคือทิศทางใหม่ที่จะเพิ่มบทบาทเอไอเอในยุทธจักรนี้ นอกเหนือจากความเป็นยักษ์ใหญ่ด้านประกันชีวิต

นี่คือจุดสำคัญที่ทำให้เอไอเอประสบความสำเร็จคือ เป็นนักลงทุนระยะยาวซึ่งไม่เหมือนกองทุนอื่นๆ ขณะเดียวกันก็เป็นหุ้นส่วนทางการเงินระยะยาวที่มีเครดิตเรตติ้งระดับ AAA ที่สามารถเสริมบริษัทที่เอไอเอเข้าไปถือได้ รวมทั้งให้บริการด้านการเงินครบวงจรที่จุใจ ต้นทุนต่ำในขณะนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us