|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จากภาวะอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น มีผลกดดันให้ต้นทุนในการดำเนินงานของบริษัทต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แบงก์ชาติเตือนบริษัทที่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินเป็นจำนวนมากในการดำเนินธุรกิจต้องระวัง ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ที่กู้เงินจากต่างประเทศต้องคอยดูแลต้นทุนที่อาจจะเกิดจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการผันผวนในขณะนี้เพิ่มขึ้นด้วย
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่า ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากการที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น และปัจจัยราคาน้ำมันที่มีผลกดดันให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อต้นทุนในการดำเนินงาน จนทำให้กำไรของบริษัทต่างๆ ที่ดำเนินกิจการในระบบเศรษฐกิจอาจได้รับผลกระทบดังกล่าวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ บริษัทที่ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องกู้เงินจากต่างประเทศมาดำเนินธุรกิจเป็นจำนวนมาก อาจจะได้รับผลกระทบด้านต้นทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงการความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดโลกที่สูงในขณะนี้ และอาจจะมีผลต่อการทำกำไรและการดำเนินงานของบริษัทเหล่านี้ในระยะต่อไปได้
“แต่ละบริษัทที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจจะมีต้นทุนแตกต่างกันไป ซึ่งบางบริษัทก็มีการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ อาจลดปัญหาต้นทุนเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไปได้บางส่วน แต่การที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นก็จะทำให้ประชาชนชะลอการใช้จ่ายและอาจจะทำให้ผลประกอบการบริษัทต่างๆในปีนี้อาจจะลดลงก็ได้”
ทั้งนี้ จากข้อมูลของธปท.ได้รายงานเศรษฐกิจและการเงินประจำเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า หนี้ต่างประเทศโดยรวมล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 มียอดคงค้าง 56.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 53.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการนำเข้าหนี้ของภาคธนาคารเป็นสำคัญ ขณะที่โครงสร้างหนี้ต่างประเทศก็มีสัดส่วนหนี้ระยะสั้นคิดเป็น 32.8%ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 29.5 ในเดือนก่อน
โดยหนี้รัฐบาลมียอดคงค้าง 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อน แม้ว่ารัฐบาลจะมีการไถ่ถอนตราสารหนี้ระยะยาวที่ครบกำหนด(Japanese Yen Bond Fifteen-series)ในเดือนนี้ก็ตาม และหนี้ภาคธนาคารมียอดคงค้าง 8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจำนวน 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากสาขาธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นนำเข้าหนี้ระยะสั้นเพื่อปิดงวดบัญชีเป็นสำคัญ ขณะที่กิจการวิเทศธนกิจชำระคืนเงินกู้สุทธิเพียงเล็กน้อย จึงทำให้ยอดคงค้างทรงตัวจากเดือนก่อน
สำหรับหนี้ภาคอื่นๆ มียอดคงค้าง 43.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขั้นจากเดือนก่อนจำนวน 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากการนำเข้าเงินกู้โดยตรงของบริษัทเอกชนบางกลุ่มและการนำเข้าสินเชื่อการค้าของธุรกิจน้ำมัน ส่วนรัฐวิสาหกิจมีการชำระคืนหนี้สุทธิจำนวน 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
|
|
|
|