|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ธีระชัย" ยิ้มได้รับเลือกนั่งเป็นประธาน ก.ล.ต.กลุ่มเอเซีย –แปซิฟิกเป็นสมัยที่2 หลังโชว์ผลงานเข้าตาผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างองก์กรกำกับดูแลตลาดทุนระดับภูมิภาค เตรียมเดินแผนงานหนุนให้เกิดมาตรฐานการดูแลระดับสากลมาประยุก์ใช้ในแต่ละประเทศ พร้อมจีบ ก.ล.ต.จีน กับไทย หวังแลกเปลี่ยนข้อมูลความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพื่อปูทางเสนอขายหลักทรัพย์และบริการด้านการเงินระหว่างกันในอนาคต
นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า การประชุมประจำปีขององค์กรระหว่างประเทศด้านการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน (IOSCO) เมื่อวันที่ 6 - 8 มิถุนายน 2549 ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงได้เลือกให้ตนเองดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ International Organization of Securities Commissions – Asia-Pacific Regional Committee (“IOSCO-APRC”) เป็นสมัยที่สองติดต่อกัน
ทั้งนี้เหตุผลที่ได้รับการเลือกเนื่องจาก ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้แสดงให้ประเทศสมาชิก IOSCO เห็นว่า ตนเองมีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรกำกับดูแลตลาดทุนในระดับภูมิภาค สมาชิกจึงได้ไว้วางใจให้ผมปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธาน IOSCO-APRC อีกวาระหนึ่ง
สำหรับหนึ่งปีต่อจากนี้ ตนเองจะสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกมีการช่วยเหลือกันและกันอย่างต่อเนื่อง โดยกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเต็มที่มากขึ้น พร้อมทั้งจะสนับสนุนให้ทุกประเทศนำมาตรฐานการกำกับดูแลตลาดทุนสากลมาประยุกต์ใช้กับตลาดทุนของแต่ละประเทศอย่างเหมาะสม
นายธีระชัย กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าการเข้าร่วมลงนามในข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับพหุภาคี (IOSCO MMoU) ของประเทศไทยนั้น ขณะนี้ ก.ล.ต. ได้รับอนุมัติจาก IOSCO ให้เป็นภาคีใน IOSCO MMoU ประเภท Appendix B ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีข้อจำกัดในด้านกฎหมายบางประการในการที่จะให้ความร่วมมือต่อองค์กรกำกับดูแลของต่างประเทศในการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ได้ผูกพันตนไว้แล้วว่าจะดำเนินการแก้ไขอุปสรรคดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
การที่ประเทศไทยเข้าอยู่ใน Appendix B นี้ จึงนับเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในการยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลตลาดทุนไทยที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นในระดับสากล นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ ก.ล.ต. ได้ทาบทาม ก.ล.ต. จีน (China Securities Regulatory Commission หรือ CSRC) ให้เข้าทำบันทึก MoU ระหว่างจีนและไทย โดยมุ่งหมายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือซึ่งกันและกัน และเพื่อปูทางเพื่อสร้างโอกาสที่จะเสนอขายหลักทรัพย์และบริการด้านการเงินระหว่างกันในอนาคตอีกด้วยIOSCO เป็นองค์กรระหว่างประเทศของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของทั้ประเทศต่าง ๆ จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2526 ปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 171 ประเทศ ทั้งนี้ ก.ล.ต.ไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของ IOSCO ประเภทสามัญที่มีสิทธิออกเสียงในการประชุม ตั้งแต่ปี 2535 IOSCO บริหารงานโดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับภูมิภาคขึ้น 4 คณะ ได้แก่ เอเชีย-แปซิฟิก แอฟริกาตะวันออกกลาง ยุโรป และ อเมริกากลาง เพื่อเป็นกลไกในการผลักดันการพัฒนาการกำกับดูแลตลาดทุนของแต่ละภูมิภาค สมาชิก
ทั้งนี้กลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วย 21 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี คีร์กีซสถาน จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย นิวซีแลนด์ บรูไน บังคลาเทศ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย มาเลเซีย เวียดนาม ศรีลังกา สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย และฮ่องกง
ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ก.ล.ต. โดย นายธีระชัยฯ เลขาธิการ ในฐานะประธาน IOSCO-APRC ได้ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในหลายด้านซึ่งเป็นการยกระดับภาพพจน์ของการกำกับดูแลตลาดทุนของไทยไปด้วยพร้อมกัน อาทิ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม IOSCO-APRC เมื่อเดือนกันยายน 2548 โดยมีผู้แทนจากทุกประเทศสมาชิก ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนไทย รวมกว่า 200 คน ร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางตลาดทุนระดับภูมิภาคในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกระแสการค้าเสรีโลก เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 ณ โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
ผลักดันให้ประเทศสมาชิกเข้าร่วมลงนามใน IOSCO Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMoU) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน รวมทั้งขอให้ประเทศสมาชิกที่มีผู้เชี่ยวชาญจัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ไปให้คำแนะนำเพื่อเตรียมความพร้อมแก่ประเทศสมาชิกที่ต้องการเข้าร่วมลงนามใน MMoU และดำเนินการขอความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้เชี่ยวชาญด้วยรวมถึงการผลักดันให้ประเทศสมาชิกดำเนินตามทิศทางกลยุทธ์ของ IOSCO โดยนำมาตรฐานการกำกับดูแลตลาดทุนสากลมาประยุกต์ใช้กับตลาดทุนของแต่ละประเทศ
|
|
|
|
|