Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มกราคม 2546
ทศท.เร่งปรับยุทธศาสตร์ คิดนอกกรอบหาธุรกิจใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ทศท คอร์ปอเรชั่น
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี




"หมอเลี้ยบ" วางเป้าหมายทศท ต้องเป็น Knowledge Provider ไม่ใช่แค่ Telecom Provider ชี้ 3 ปัจจัยหลักยุทธศาสตร์ชัดเจน การจัดการที่ดีและเทคโนโลยีนำสมัยผลักดันทศท. เป็นผู้นำในภูมิภาค ย้ำโปร่งใสใครอ้างชื่อหาประโยชน์ให้ปฎิเสธทันที พร้อมหยั่งเชิงแก้บทเฉพาะกาลเพิ่มอำนาจออกใบอนุญาต เสริมแก้ปัญหาสุญญากาศโทรคมนาคม และถ่วงดุลอำนาจ กทช. หากเห็นด้วยเตรียมเดินหน้า ด้านประธานสหภาพฯชี้ 2 ประเด็นแปรสัญญาคาใจเรื่องเงินชดเชย ค่าเสียโอกาสกับการโอนทรัพย์สิน

เมื่อวานนี้ (7 ม.ค.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ได้จัดสมัมนาเรื่องยุทธศาสตร์โครงสร้างการบริหารสหภาพแรงงานฯ โดยเชิญน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานเปิดการสัมมนาและเป็นวิทยากรปาฐกถาพิเศษ หัวข้อกรอบและวิธีคิดของกระทรวงไอซีทีกับการแปรสัญญาและแนวทางการพัฒนาบมจ.ทศท

น.พ.สุรพงษ์ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาทศท ว่าหากต้องการให้บรรลุถึงเป้าหมายการเป็นบริษัทชั้นำในภูมิภาคต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน 2.การจัดการที่ดีและ 3. เทคโนโลยีที่ล้ำหน้า โดยในเรื่องยุทธศาสตร์ต้องกำหนดให้ชัดว่าไม่ได้เป็นบริษัทโทรศัพท์อีกต่อไปแล้ว เพราะการที่บอกว่าเป็นโทรศัพท์ เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงจะทำให้วิชั่นล้าหลัง

"ทศท ต้องเป็นบริษัทสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็ว ไม่ใช่ Telecom Provider แต่ต้องเป็น Knowledge Provider เราไม่ได้ทำแค่ขยายโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์มือถือแต่ต้องทำเรื่องอื่นด้วย"

ยุทธศาสตร์ของทศท ต้องคิดนอกกรอบ สร้างธุรกิจใหม่ๆ มาเสริมธุรกิจหลัก เพื่อให้เป็นแคชคาวในอนาคต อย่างเรื่องอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ทศท. สามารถสร้างอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ ที่เป็นต้น แบบที่ดีเพื่อให้ผู้ปกครองสบายใจที่ลูกหลานมาใช้ บริการ ไม่ใช่เป็นแหล่งมั่วสุม เพื่อใช้เป็นแหล่งหา ความรู้และเป็นที่เชื่อมต่อกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าทำได้ดีก็สามารถขายแฟรนไชส์ได้ ผลที่จะสะท้อนกลับมาหาทศท. คือทำให้รายได้ต่อเลขหมายเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอาจใช้เป็นที่กระจายสินค้า 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ของบริษัทไปรษณีย์ ไทยต่อไปด้วย หรือการที่ทศท เข้าร่วมโครงการ ศูนย์ศึกษาอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-เลิร์นนิ่งเซ็นเตอร์ ที่จะมีห้องสมุดแห่งชาติ องค์กรส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ มีบริการอินควิเบเตอร์เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์รายย่อย มีคอนเวนชั่นฮอลล์

ในเรื่องการจัดการซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการ พัฒนาองค์กร ต้องมีความโปร่งใสเพื่อสร้างความ เชื่อมั่นให้นักลงทุน อย่างการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Procurement ถือเป็น จุดเริ่มต้นที่สำคัญในเรื่องการโปร่งใสและการประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะ1 บาทที่ประหยัดย่อมง่ายกว่า 1 บาทที่หามาใหม่ และดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้นโยบายมาว่าต้องบริหารงานทุกอย่างให้โปร่งใสมากที่สุด

"ผมมานั่งตรงนี้ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ ที่ผม คาดหวังเป็นส่วนตัวจากองค์กรนี้ ถ้ามีใครมาอ้าง ว่า ผมให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ แล้วต้องมาให้อย่าง โน้นอย่างนี้ ท่านปฏิเสธไปได้เลย ไม่มีคำขอใดๆ ทั้งสิ้นในแง่การเรียกร้องประโยชน์ส่วนตัวจากผม" รมว.ไอซีทีกล่าวย้ำ

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีถือเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งใน ช่วงที่ผ่านมาทศท มีดร. 20 กว่าคน พนักงานจบ ปริญญาโทเป็นร้อยคน มี TOT Academy เป็น ที่ฝึกอบรม ทศท. ต้องเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีให้พาร์ตเนอร์กับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ

"ผมเชื่อว่าสิงเทลไม่ได้เก่งกว่าทศท ชาวสิงคโปร์ไม่ได้เก่งกว่าคนไทย แต่สิ่งที่ต่างกันคือวัฒนธรรมองค์กรวัฒนาธรรมประเทศ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาทำให้เกิดความแตกต่างกัน หากทศท กำหนดยุทธศาสตร์ชัดเจน มีการจัดการที่ดี มีเทคโนโลยีทันสมัยก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์แน่นอน"

ส่วนเรื่องกรอบการแปรสัญญาสัมปทานนั้นโดยเปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้เป็นภาษีสรรพสามิตนั้นยึดหลัก 1.ผลประโยชน์ที่รัฐได้รับต้องไม่ลดลง 2.ไม่ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค โดยการคิดค่าบริการสูงขึ้นและถ้าลดลงด้วยจะยิ่งดี 3.ต้องทำให้ทศท. ทำสัญญาร่วมการงานกับเอกชนไม่เกิดความเสียหาย ต้องทำธุรกิจต่อไปได้และ 4.ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งอัตราภาษีสรรพสามิตคาดว่าจะได้ข้อสรุปภาย ในเดือนนี้ ส่วนสัปดาห์หน้าจะเรียกกรมไปรษณีย์ โทรเลขเข้าพบในเรื่องการเชื่อมโยงโครงข่ายหรือ อินเตอร์คอนเนกชั่นชาร์จ

น.พ.สุรพงษ์ยังมีแนวคิดที่จะแก้ไขบทเฉพาะกาลในพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ(กทช.) ยังไม่ได้มีการจัดตั้ง ในประเด็นการออกใบอนุญาตเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างกรณีทีโอทีออนไลน์ของทศท แต่หาก กทช.สามารถจัดตั้งได้เร็วภายใน 2-3 เดือนก็ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขบทเฉพาะกาลดังกล่าว รวมทั้งยังแนวคิดแก้ไขพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ที่ให้อำนาจกทช.ที่เป็นองค์กรอิสระชนิดที่เรียกว่ากทช.ไทยมีอำนาจมากที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ รวมทั้งในการถอดถอน ก็ทำได้กรณีที่การทุจริตเท่านั้น ไม่มีการพูดถึงหาก บริหารงานไม่ได้ตามนโยบายที่วางไว้ต่างจากองค์กรอิสระอื่นๆ

"หากสังคมเห็นด้วยต้องการให้ถ่วงดุลอำนาจกทช.ผมก็ยินดีที่จะเดินหน้าต่อ"

นายสิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ทศท กล่าวว่ากรอบแปรสัญญาที่เปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้ให้ส่วนหนึ่งเป็นภาษีสรรพสามิตและส่วหนึ่งเป็นรายได้ของทศท นั้นเป็นสิ่งที่เอกชนเรียกร้องมานาน เพราะกลัวความ เข้มแข็งด้านการเงินของทศท หากต้องมีการแข่งขันเสรี แต่การชดเชยให้ทศทต้องให้อยู่ในระดับที่ทศทอยู่และแข่งขันได้ ไม่ใช่แค่อยากให้ชดเชยแล้วอยู่ในฐานะที่แข่งขันไม่ได้ ทศทไม่ต้องการเป็นเหมือนขสมก.

"แปรหรือไม่ แต่การให้บริการที่ห่างไกลหรือ USO ต้องจ่ายเรามา อย่างโทรศัพท์สาธารณะทาง ไกลชนบท TDMA สคูลเน็ต หรือโทรศัพท์นอกข่ายสาย WLL อย่าง TDMA ต้นทุนเลขหมายละ 1,000 กว่าบาทรายได้เพียง 700 บาทต้องชดเชยให้เรา 300 บาท ซึ่งเป็นสิทธิตามกม.หรือ WLL ที่ค่าเช่า 600 กว่าบาทแต่รายได้แค่ 200-300 บาท ทศทอยู่ระหว่างรวบรวมตัวเลขต้นทุนดังกล่าวให้ชัดเจน"

นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพฯ กล่าวว่าการจัดสัมมนาโดยการเชิญน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.ไอซีทีมานั้นเพื่อต้องการให้พนักงานกว่า 2 หมื่นคนเข้าใจแนวทางแปรสัญญา ซึ่ง สหภาพฯยังติดใจอยู่ 2 ประเด็นคือเรื่องเงินชดเชย กับค่าเสียโอกาส รวมทั้งเรื่องทรัพย์สินทั้งโครงข่าย อาคารสถานที่ต่างๆ และการที่เรียก เก็บเป็นภาษีสรรพสามิตที่เป็นภาษีของสินค้าฟุ่มเฟือยจะทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งจะสะท้อนไปยังอัตราค่าบริการของผู้บริโภค

ในประเด็นโครงข่ายต้องมีการศึกษาด้านกฎหมายให้ชัดเจนว่าการโอนไปให้หน่วยงานกลาง จะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการเลิกสัญญาหรือไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นอาจเกิดความเสียหาย

"ส่วนบอร์ดใหม่ทศท. เข้าใจว่าประธานบอร์ดคนใหม่คงนำพาทศท.เจริญรุ่งเรือง เพราะมีทั้งกรรมการบอร์ดที่มีความเชี่ยวชาญการตลาด ระดับโลก คงไม่ทำให้ทศท อ่อนแอลงจนขนาดโดยเอกชนมาฮุบ ซึ่งพนักงานกว่า 2 หมื่นคนของทศท จะคอยสนับสนุน"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us