ธปท.ออกเกณฑ์คิดค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงหนี้บัตรเครดิต โดยกำหนดให้คิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
เฉพาะลูกค้าแต่ละรายเท่านั้น โดยไม่ให้คิดรวมต้นทุนที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้วเช่น
เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฯ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่า การธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ธปท. ได้ส่งหนังสือเวียนถึง ธนาคารพาณิชย์ในประเทศทุกแห่งและสาขาของธนาคารต่างประเทศ
ทุก ธนาคาร เพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยว กับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ใน การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ให้มีความเข้าใจตรงกันในประเด็นต่างๆ
ดังนี้ คือ
ค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้ สินเชื่อบัตรเครดิตในกรณีที่มีการติด
ตามทวงถามหนี้ตามจำนวนเงิน ที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่กรณี ตามประกาศของ
ธปท. เรื่องดอกเบี้ย และค่าบริการที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บได้ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตลงวันที่
12 พฤศจิกายน 2545 ที่ผ่านมา
โดยธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บ ค่าบริการดังกล่าวจากผู้ถือบัตรได้ก็ต่อ เมื่อ
เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการ ติดตามทวงถามลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระแต่ละรายเฉพาะเจาะจง
และเป็นค่าใช้ จ่ายที่ธนาคารพาณิชย์ได้จ่ายให้กับบุคคลภายนอกไปแล้วจริง โดยมีหลักฐานการชำระเงินที่สามารถตรวจสอบได้
และเป็นจำนวนที่พอสมควรแก่เหตุ
ทั้งนี้ ต้องไม่รวมค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้วของกิจการ
เช่น ค่าใช้จ่ายระบบติดตามหนี้ อัตโนมัติ ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือเงินเดือนพนักงาน
นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ถือบัตรเครดิตชำระหนี้บัตรเครดิตด้วยเช็ค และเงินในบัญชีของเจ้าของเช็คมีไม่พอ
จ่ายตามจำนวนเงินในเช็ค ธนาคารพาณิชย์ที่รับชำระหนี้บัตรเครดิตด้วยเช็คไม่สามารถเรียกค่าปรับกรณีเช็คคืนจากลูกค้าบัตรเครดิตได้อีก
เนื่อง จากธนาคารพาณิชย์ได้เรียกเก็บค่าปรับ เพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าที่มีอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์แล้ว
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ผู้ถือบัตรเครดิตได้ทำ ความ ตกลงไว้กับธนาคารพาณิชย์ให้หักหนี้บัตรเครดิตจากบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรเครดิตที่มีอยู่ที่ธนาคารโดยอัตโนมัติ
เมื่อครบกำหนดชำระ แต่ ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถหักบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรได้
เนื่องจากบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรมีเงินไม่พอจ่ายธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถเรียกเก็บค่าปรับในกรณีดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้อง ตรวจสอบหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของรายได้ของผู้ถือบัตรก่อนต่ออายุบัตร
เฉพาะผู้ที่ยังไม่มีหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของรายได้ สำหรับผู้ถือบัตรประเภทบัตรขององค์กรเอกชน
(corporate card) ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติเป็นรายบุคคล แต่ให้พิจารณาฐานะทางการเงินของบริษัทผู้ยื่นขอมีบัตร
ซึ่งการรายงานข้อมูลให้บริการบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องทำและนำส่ง
ธปท. เป็นรายไตรมาสนั้น ให้รายงานข้อมูลจำนวนบัตรและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรตามจริงสำหรับบัตรประเภทดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในใบแจ้งหนี้หรือ ใบสรุปยอดรายเดือนสำหรับงวดที่มีรายการเรียกเก็บดอกเบี้ย
และค่าใช้จ่าย ธนาคารพาณิชย์ต้องแสดงรายละเอียดวิธีการคำนวณดอกเบี้ยและค่า
ใช้จ่าย พร้อมคำอธิบายและตัวอย่างให้ ชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งระบุด้วย
ว่าหนี้ค้างชำระแยกเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นจำนวนเงินเท่าไร
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถตรวจสอบได้
สำหรับอัตราการเรียกเก็บจากการติดตามทวงถามชำระหนี้ ปรากฏว่า หลังธปท.ได้ประกาศหลักเกณฑ์ควบ
คุมธุรกิจบัตรเครดิตโดยมีการกำหนด อัตราดอกเบี้ยรวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆไม่เกิน
18% ทำให้หลายธนาคาร ต้องหาแนวในการบริหารต้นทุนและเพิ่มค่าธรรมเนียม ซึ่งการเพิ่มค่าใช้จ่าย
ในการติดตามทวงถามชำระหนี้เป็นสิ่ง ที่ธนาคารและบริษัทที่ทำธุรกิจด้านบัตรเครดิตนำมาใช่ไว้ในการให้บริการ
โดยบัตรเซ็นทรัลการ์ดแบ่งการคิดเป็น 2 แบบคือ งวดละ 220 บาทสำหรับยอดค้างชำระ
1-2 งวด และงวดละ 300 บาทสำหรับยอดค้างชำระตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไป
ธนาคารกสิกรไทย(TFB)คิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ 200 บาทต่อ1งวดบัญชี ธนาคารกรุงเทพ(BBL)คิดค่าใช้จ่ายทวงหนี้
100 บาทต่อครั้ง ธนาคารทหาร ไทย(TMB) คิดค่าปรับ 100 บาทต่อการผิดนัดชำระหนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB)ไม่มีนโยบายการคิดค่า ติดตามทวงหนี้
ธนาคารฮ่องกงเซียงไฮ้ คิดค่าธรรมเนียมในการติดตามหนี้ 350 บาท ต่อครั้ง
ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน (SCNB) คิดค่าติดตาม380 บาทต่อครั้ง ธนาคารซิตี้แบงก์คิด
380 บาทต่อครั้ง บริษัทบัตรกรุงศรี จำกัด แบ่งเป็น 2 งวดคือ งวดละ 220 บาทสำหรับยอดค้างชำระ
1-2 งวด และงวดละ 330 บาทสำหรับยอดค้างชำระตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไ