Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538
จีนดูดการลงทุนเข้าชายแดนใช้จุดขายสัมพันธ์ 'สัมพันธ์อันดีกับพม่า'             
โดย สุทธิดา มะลิแก้ว นุศรา สวัสดิ์สว่าง
 

 
Charts & Figures

มูลค่าการค้าชายแดนจีนระหว่างปี 1992-1994
แผนที่

   
related stories

มิติความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่า

   
search resources

จินไต
จ้าว เปา เฉิง
Commercial and business
International




จ้าว เปา เฉิง นักธุรกิจหนุ่มใหญ่วัย 45 จากปักกิ่ง ภายหลังจากที่ได้ เดินทางมาสำรวจธุรกิจตามบริเวณชายแดนแล้วหลาย ๆ เมือง และเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เขาได้เข้ามายัง หวั่นติง เมืองเล็ก ๆ ของจีน ที่ตั้งอยุ่บริเวณชายแดน จีน-พม่า และได้เปิดเผย 'ผู้จัดการ' ว่าเมื่อมาเห็นที่นี่ เขาไม่ลังเลเลยที่จะดำเนินธุรกิจของเขาที่เมืองหวั่นติงแห่งนี้

"เมืองนี้อากาศดี มีคนเผ่าไตอาศัยอยู่มาก จิตใจดี และเป็นเมืองเล็ก ๆ น่าอยู่มาก" จ้าว เกริ่น กับ 'ผู้จัดการ'

อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดของการเข้ามาอยุ่เพื่อทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจระดับชาติอย่างเขา ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัทจินไต ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ และมีชื่อเสียงมากทีเดียวในปักกิ่ง

" ปัจจุบันนี้ประเทศจีน ต้องการให้เมืองชายแดน มีการพัฒนามากขึ้น เราเลือกที่หวั่นติงเพราะเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ชิดพม่า มีผังเมืองที่ชัดเจน ง่ายแก่การที่เราจะแต่งแต้มลงไป ถ้าลองเปรียบเทียบที่อื่นแล้วเมืองรุ่ยลี่ นั้นก็อาจจะเป็นเมืองชายแดนที่ติดพม่าเหมือนกัน แต่รุ่ยลี่นั้นใหญ่เกินไป และมีอะไรต่าง ๆ อยุ่แล้วมากมาย ไม่เหมาะแก่การเริ่มต้นใหม่ ๆ ส่วนทางด้านเหอโขว่ นั้นติดกับชายแดนเวียดนาม เราไม่ค่อยแน่ใจในทัศนคติของคนเวียดนามว่าจะต้อนรับเรามากแค่ไหน แต่หวั่นติง กับพม่านั้นมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน" จ้าวกล่าว

แผนพัฒนาเมืองที่เขากล่าวถึงก็คือ แผนการสร้างเมืองใหม่ของหวั่นติง ซึ่งทางเมืองหวั่นติงได้เตรียมแผนส่งเสริมการลงทุนโดยการจัดพื้นที่จำนวน 23 ตารางกิโลเมตร ไว้สำหรับสร้างเมืองใหม่ โดยมีผังเมืองที่ชัดเจนว่าส่วนไหนจะเป็นอย่างไร และจัดเขตพิเศษสำหรับการลงทุนต่าง ๆ ไว้ 5 ตารางกิโลเมตร เปิดโอกาสให้นักลงทุน จากทั้งใน และต่างประเทศเข้ามาลงทุน โดยที่ทางบริษัทจินไตของจ้าวนั้น เป็นบริษัทที่ได้เข้ามารับสัมปทานในการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในเมืองและร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมืองหวั่นติง จัดการทางด้านส่งเสริมด้านการระดมต่าง ๆ ให้เข้ามาเพื่อที่ว่าแผนการนี้เป็นจริงได้เร็วขึ้น

การเข้ามาของจินไต ที่อาจจะเรียกได้ว่าระดับชาติ นี้ จึงเป็นเสมือนแสงเทียนที่ช่วยจุดประกายความหวังในการพัฒนาเมืองหวั่นติงให้เป็นจริง และหนทางที่จะดึงให้เมืองเล็ก ๆ อย่างหวั่นติงนั้นอยู่ในความสนใจของนักลงทุนในระดับนานาชาติได้มากทีเดียว ทั้งนี้เพราะ บริษัทจินไตนั้นเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจจากปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้และกวางตุ้ง ซึ่งผู้ร่วมทุนนั้นมาจากเมืองสำคัญที่จะสามารถดึงนักลงทุนในแต่ละเมืองเข้ามาและเคยประกอบธุรกิจกับตางชาติมาแล้วมากมาย และนอกจากการทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์แล้ว บริษัทจินไต ยังได้ร่วมทุนกับบริษัทต่าง ๆ จากปลายประเทศในเอเชีย อาทิ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง ในการประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออก ซึ่งบริษัทร่วมทุนเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีธุกริจของตนเองอยู่แล้วยในหลายประเทส เหล่านี้ล้วนเป็นการดึงดูดให้มีนักลงทุนต่าง ๆ ให้หันมาให้ความสนใจหวั่นติง

และเพื่อเป็นการพิสูจน์ศักยภาพของจินไต เองที่ได้ประกาศเรียกร้องความสนใจต่อนักลงทุนทั้งหลายที่ว่าจะทำให้หวั่นติง นั้นเป้นประตูสู่ทะเลใได้ได้ เพื่อว่านักลงทุนทั้งหลายเข้ามาแล้ว จะมองเห็นความก้าวหน้า และ เพื่อที่จะให้เห็นว่า การลงทุนในหวั่นติงนั้นมีอนาคต บริษัทได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 30 ล้านหยวน หรือ90 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาพื้นที่และก่อสร้างเส้นทางสู่พม่า

" ตอนนี้เราตัดถนนจากหวั่นติง ระยะทาง 13 กิดลเมตร เชื่อมเข้ากับเส้นทาง 320 ซึ่งถนนสายนี้จะทำให้เราเข้าไปยังพม่าได้สะดวก" จ้าวกล่าว

นอกจากนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก้ผู้จะเข้ามาลงทุน ประธานบริษัทจินไต ยังพูดถึงความสัมพันธ์ที่มีกับพม่าเป็นอย่างดีว่า " ขิ่น ยุ้นต์ ได้เข้าที่หวั่นติง 2-3 ครั้ง แล้ว และยังเคยมาศึกษาถึงแผนการที่เราทำแล้วด้วย และสถานการณ์ในพม่าปัจจุบันก็เช่นเดียวกันด้วย และสถานการณ์ใหม่ในพม่าปัจจุบันก็คลี่คลายไปเยอะ เชื่อว่าในอนาคตยิ่งจะดีขึ้นไปอีก"

การเข้ามาของจินไต เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการลงทุน ในเมืองชาแดน ของจีน และหวั่นติงก็ไม่ได้เป็นเมืองเดียวที่กำลังปรับปรุง และพยายามระดมเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาให้ได้มากที่สุด เพื่อการพัฒนาประเทศจีน

ในอดีตนั้นเมืองเล็ก ๆ ตามแนวชายแดนนั้นมีความสำคัญเพียงทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน หรือเป็นเพียงทางผ่านสู่ประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น หรือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการเมือง แต่อาจไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสักเท่าไหร่

แนวคิดเรื่องการะดมการลงทุนจากต่างชาติเกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญแก่เมืองชายเแดน เนื่องจากสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศได้มาก ได้แก่ หวั่นติง และรุ่ยลี ( ชายแดนพม่า) และเหอโขว่ ( ชายแดนเวียดนาม) เป็นเขตการค้าชายแดน และในปี 1992 รัฐบาลได้อนุมัติให้เมืองทั้ง 3 เป็นเมืองเปิดทางด้านการค้า และเป็นจุดผ่านแดนระดับชาติ national level port ( ปัจจุบันจุดผ่านแดนระดับชาติในยูนานมี 9 แห่ง)

การประกาศเป็นจุดผ่านแดนระดับชาติแทนที่จะเป็นเพียงเมืองการค้าชายแดนเพียงอย่างเดียวนั้น ทำให้เมืองต่าง ๆ ได้เร่งหาจ้อได้เปรียบของตนออกมาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดการลงทุนเข้ามาให้ได้มากที่สุดเท่ที่จะเป็นไปได้ และได้เกิดความตื่นตัวมากขึ้น มีการแกฉวยเอาการที่เป็นจุดผ่านแดนระดับชาติ รวมทั้งนำเอาการรัฐบาลจันเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในจีน ได้มาเป็นข้อได้เปรียบในการดึงดูดความสนใจนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาในเขตของตนเอง

การเปิดเมืองชายแดนต่าง ๆ ขึ้นมานี้ อาจเรียกได้ว่า เป็นกลยุทธ์ของการระดมการลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในเมืองต่าง ๆ ของจีน และถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาด้านการลงทุน ทั้งนี้ภายหลังจากทีรัฐบาลจีนเริ่มนำระบบเศรษฐกิจการตลาดเข้ามาผสมผสานกับระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ในปี 2522 และได้เปิดประเทศสู่โลกภายนอก ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจขอประเทศกระเตื้องขึ้นมาก การตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตพิเศษตามแนวชายฝั่ง สามารถดำเนินการไปได้ด้วยดีดังนั้น รัฐบาลจึงได้ประกาศเขตส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมตามเมืองตาง ๆ เพิ่มขึ้น

กลยุทธ์การส่งเสริมการลงทุนของจีนนี้ สำหรับเมืองที่อยู่ห่างไกลจากส่วนกลางแล้ว จะให้ทุกส่วนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโดยตรงทั้งหมด นั้นเห็นจะเป็นไปได้ยาก ส่วนกลางนั้น คงได้แต่ให้นโยบาย ส่วนการดำเนินการหรือภาคปฏิบัตินั้นจึงขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละเมือง ดังนั้นเมืองตาง ๆ จึงพยายามหาจุดขายของตน เพื่อเรียกร้องให้มีการลงทุนเข้ามาในเขตของตนให้มากที่สุด ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างความเจริญ และนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นการพิสูจน์ให้รัฐบาลกลางได้เห็นว่า เป็นเมืองที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะมีผลต่อการมีอำนาจต่อรองอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

เมืองหวั่นติง เมืองที่อยู่ภายในเขตการปรกครองเต๋อหง ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองคุนหมิง อันเมืองหลวงของมณฑลยูนาน 868 กิดลเมตร ที่ถึงแม้จะเป็นเมืองเล็ก ๆ มีพื้นที่พียง 103 ตารางกิโลเมตร แต่โดยที่มีชายแดนติดกับพม่า จึงได้ใช้ความแตกต่างจากเมืองอื่นอันนี้ เป็นข้อได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุน

" เมืองหวั่นติงของเรานี้ มีชายแดนทั้งสิ้น 28.6 กิโลเมตร แต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างชายแดนไม่เกิน 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมือง ลาโชของพม่า เพียง 188 กิโลเมตรเท่านั้น และห่างจากเมืองมัณทะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่าเพียง 584 กิโลเมตร นับว่าเป็นจุดทีสะดวกมากสำหรับการใช้ที่นี่เป็นฐานการผลิต เพื่อการส่งออก" นายหม่า อี้จง ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธฺ์ ประจำเมืองหวั่นติง กล่าวกับ " ผู้จัดการ" เป็นการเกริ่นให้ฟังถึงลักษณะทั่วไปของมืองหวั่นเติง

นอกจากนั้น หวั่นติงยังได้อาศัยความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของตนที่เคยเป็นจุดผ่านของเส้นทางสายไหมของตะวันตกเฉียงใต้ และการมีเส้นทางสายพม่า ( Burma Road) ผ่าน แสดงถึงความสามารถในการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่าได้อย่างง่ายดาย มาเป็นจุดที่ทำให้หวั่นติงสามารถดึงดูดการลงทุนในเขตนี้ได้มาก

นายกเทศมนตรีหนุ่มแห่งเมืองหวั่นติง ยังได้กล่าวถึงสิ่งที่ทำให้หวั่นติงน่าสนใจอีกว่า เมืองหวั่นติงนั้นมีชื่อเสียงทางด้านเป็นเมืองที่มีการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านมาช้านาน

"เรื่องความมีชื่อเสียงนี้ หวั่นติงนั้น มีชื่อเสียงมากว่า หมางซื่อ ที่เป็นเมืองหลวงของเต๋อหงเสียอีก ทั้งนี้ เพราะมีถนนสายเตียน-เมี่ยน ( Burma Road)ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตตั้งแต่ปี 1948 ( 2491) มีสินค้าผ่านเข้า-ออกมากมาย นอกจากนั้น ยังมีสะพานที่เชื่อมต่อกันกับประเทศทีโจว เอิน ไหล ( อดีตนายกรัฐมนตรีจีน) และ อู บา ฉ่วย ( อดีตนายกรัฐมนตรีพม่า) เคยมาข้ามแล้ว"

นอกจากนั้น ด้วยขนาดของเมืองที่เล็กนี่เอง ที่จะทำให้การจัดการต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ในขณะที่ความเป็นเมืองชายแดนติดพม่าที่ใกล้ชิดมาก จนชาวหวั่นติง และชาวจิวกู่ ( เกียวกก) ของพม่าสามารถมองเห็นกันได้จากฝั่งของตนเอง และลักษณะของการค้าขายซึ่งเป็นการค้าชายแดนมายาวนาน ซึ่งสามารถนำไปสู่การขยายเส้นทางการค้าได้รวดเร็วขึ้น

จินไตก็เล้งเห็นถึงจุดที่หวั่นติงได้เปรียบเพราะการที่ติดกับพม่า และสามารถหาทางออกสู่ทะเลได้อย่างไม่ไกลและไม่ลำบากนัก จึงได้พยายามนำข้อได้เปรียบดังกล่าวมาเสนอต่อต่างชาติ รวมทั้งอาศัยจุดขายที่จีนมีความสัมพันธ์อันดีต่อพม่า เพื่อให้ต่างชาติมั่นใจได้ว่าการลงทุนจะไม่สูญเปล่า

ขณะที่หวั่นติงมีแผนการสร้างเมืองใหม่ รุ่ยลี ซึ่งเป็นเมืองชายแดนอีกเมืองหนึ่งก็เตรียมการเพื่อจะเป็น 'เวินเจิ้นแห่งจีนใต้' เพร้อมชักชวนพม่าให้ตั้งเขตการค้าปลอดภาษีร่วมกัน และยังมีเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมืองที่อยู่ตามชายแดนของมณฑลยูนนานที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ก็ได้ตั้งเขตเพื่อ ส่งเสริมการลงทุนภายใต้ชื่อ 'เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ' (Econmic cooperation Zone)

รุ่ยลี ได้เตรียมแผนการ เพื่อการดึงดูดการลงทุน โดยการตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจขึ้น 3 เขต ได้แก่เขตพิเศษเจียก้าว เขตร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนรุ่ยลี่ และเขตขนถ่ายสินค้าหนงก้าว และยังได้พัฒนาความได้เปรียบบนพื้นฐาน ที่อาศัยความสัมพันธ์อันดีกับพม่า คือได้ริเริ่มที่จะร่วมกันจัดตั้งเขตปลอดภาษีร่วมกับพม่า เขตการค้าปลอดภาษีดังกล่าวจะตั้งอยู่บนเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเจียก้าว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองรุ่ยลี 4 กิโลเมตร และอยู่ติดกับเมืองมูเซของพม่า โดยพื้นที่ในเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเจียก้าวมีเนื้อที่ 6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการส่งเสริมการลงทุน และในบริเวณเดียวกันนี้บนพื้นที่ 1.9 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ติดกับดินแพนของพม่าจะตั้งเป็นเขตการค้าปลอดภาษี

"ในขณะที่มณฑลของเรามีนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศเรื่องสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ทางเมืองลุ่ยลี่เองเราก็มีนโยบายเช่นกัน เป็นการร่วมมือกับพม่าโดยเราจะตั้งเป็นเขตการค้าเสรีหรือเขตปลอดภาษีขึ้น เราได้คุยกับทางพม่าแล้ว เขาก็เห็นพ้องว่าจะทำเช่นเดียวกับในฝั่งเขาด้วย ดังนั้นในบริเวณนี้ก็กลาย เป็นเขตปลอดภาษีทั้งสองฝั่งซึ่งหากโครงการสำเร็จผมคิดว่า รุ่ยลี่ ก็คลจะกลายเป็นเซินเจิ้นแห่งที่ 2 ของจีนขึ้นมาก็ได้ และเราก็หวังว่าจะให้แล้วเสร็จภายในทศวรรษนี้" เหยียน ปัน ผู้อำนวยการสำนักวานการค้าชายแดน ประจำเมืองรุ่ยลี่ มณฑลยูนนาน เปิดเผย ' ผู้จัดการ'

และเมือเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เอดีบี ได้แสดงความเห็นชอบแล้วที่จะให้เงินช่วยเหลือ 20,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อทำกรศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการเขตการค้าปลอดภาษีดังกล่าว

จนถึงปัจจุบันทางจีนและพม่าได้ร่วมมือกันสร้างถนนในบริเวณพื้นที่ของทั้งสองประเทศชื่อ ถนนจีน-พม่า หรือ จงเหมี่ยน เจี่ย และจะสร้างศูนย์แสดงสินค้า และร้านค้าปลอดภาษีตามแนวถนนสายนี้ทั้งสองฝั่ง

รุ่ยลี่ เป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของเขตการปกครองของตนเอง ชนชนติไตและจิ่งโพเต๋อหง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลยูนาน เป้เมืองที่มีชายแดนติดต่อกับพม่า เช่นเดียวกันกับหวั่นติง แต่รุ่ยลี่ นั้นเป็นเมืองที่ใหญ่กว่ามาก กล่าวคือ มีพื้นที่ถึง 960 ตารางกิโลเมตร โดยมีความยาวของเส้นชายแดนถึง 140 กิโลเมตร และเป็นเมืองทีมีปริมาณการค้าชายแดนมากถึง 2 ใน 3 ของปริมาณการค้าชายแดนของมณฑล

ผู้อำนวยการค้าชายแดนยังกล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าของโครงการว่า สำหรับการลงทุน ในเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้มีพื้นที่ประมาณ80% ได้ถุกจับจองเพื่อการลงทุนประเภทต่าง เรียบร้อยแล้ว

"ตอนนี้เราได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่และได้เริ่มสร้างอาคาร้านค้าตาง ๆ ไปบ้างแล้ว เพื่อรองรับสินค้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ในส่วนของพม่าเองก็ได้เริ่มทำไปบ้างแล้วเช่น เดียวกัน" นายเหยียน ปัน กล่าว

แม้ว่าหวั่นติง และลุ่ยลี่ นั้น ต่างก็เป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของเจตเดียวกัน และยังมีชายแดนที่ติดต่อกับพม่าเหมือนกัน แต่ทั้งสองเมืองก็พยายามแข่งขันกันที่จะหาจุดขายต่าง ๆ ที่เป็นการดึงดุดทุนเข้าสู่เมืองของตนดองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และจุดหนึ่งที่สองเมืองจะต้องนำมานำเสนอและขาดไม่ได้ก็คือ ความสัมพันธ์กับพม่าความใกล้ชิดกับพม่าทีเมืองอื่นไม่มี

ทางชายแดนด้านอื่น คือ ทางเวียดนามเมืองเหอโขว่ นั้น ก็พยายามที่จะหาจุดขายที่เป็นหนทางออกสู่ทะเลที่ใกล้และสะดวกที่สุด กล่าวคือ ที่นั่นมีรถไฟสามารถเดินทางไปถึงท่าเรือไฮฟอง ของเวียดนาม โดยระยะทาางจากเหอโข่วถึงเมือง ไฮฟองเพียง 389 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังไม่เปิดใช้

และที่เหอโข่ว เองก็มีเจตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนเช่นเดียวกันกับที่อื่น ๆ ที่เป็นเมืองชายแดน แต่ก็ไม่อาจสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ ทั้งนั้นเพราะนักลงทุนไม่มั่นใจว่าความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนกับเวียดนาม นั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด แม้ว่ารัฐบาลทั้ง 2 ประเทศพยายามที่จะลืมความขมขื่นในอดีตกันอยู่ และหันมาสานสัมพันธ์กันใหม่แต่อาจจะต้องใช้เวลาอีกนานในการเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนของทั้งสองประเทศ

ส่วนชายแดนด้านลาว อาจจะไม่มีปัญหาความสัมพันธ์มากนัก แต่ลาวนั้นเป็นประเทศเล็ก และไม่มีทางออกสู่ทะเล ถึงแม้ปัจจุบันจะมีโครงการขอความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาค 6 ประเทศ ที่จะให้มีการสร้างเส้นทางรถไฟคุนหมิง-หนองคาย โดยผ่านลาว แต่นั่นก็เพิ่งจะเริ่มมีการสำรวจ และยังต้องใช้เวลาอีกนาน เกี่ยวกับเรื่อง เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ( Economic Cooperatin Zone) นั้น แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจไทยในเมืองคุนหมิงเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่ายังมีความแตกต่างกันอยู่ระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษกับเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าไม่ศึกษาอย่างละเอียดแล้ว ก้อาจจะเกิดปัญหาในภายหลังได้

"คือแต่ละเมืองนั้นพยายามดึงสิทธิพิเศษในเขตเศรษฐกิจพิเศษออกมา ใช้เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ หรือเครื่องจักร ที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกและสิทธิในการใช้ที่ดินที่มีระยะเวลานานที่สุดก็๕ือ 70 ปี แต่คราวนี้พวกระเบียบการลงทุนต่าง ๆ นั้นยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว จริง ๆ แล้วเขตร่วมมือทางเศรษฐกิจนั้นเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนระดับมณฑลไม่ใช่ระดับชาติ ซึ่งการลงทุนในระดับมณฑลนั้นหากการลงทุนไม่เกิน 30 ล้านเหรียญ สหรัฐ ผู้ว่าราชการมณฑลมีสิทธิที่จะอนุมัติได้เลย แต่ถ้ามากว่านี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการลงทุนในเขตส่งเสริมการลงทุน หรือเขตร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ตามยังคงต้องส่งเรื่องให้รัฐบาบกลางพิจารณาอยู่ดี รวมทั้งต้องพิจารณาเรื่องสิทธิพิเศษต่าง ๆ ด้วย ซึ่งทำแบบ case by case อาจเสียเวลาไปได้บ้างเหมือนกัน" แหล่งข่าวกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us