Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์19 มิถุนายน 2549
Customer Firstกลยุทธ์ซื้อใจผู้บริโภค "ฟูจิ ซีร็อกซ์"             
 


   
www resources

โฮมเพจ Fuji Xerox Asia Pacific

   
search resources

Fuji Xerox Asia Pacific Pte Ltd
Printer




ฟูจิ ซีร็อกซ์ เปิดกลยุทธ์ Xpect more & Customer First เน้นความพอใจลูกค้าเป้าหมาย เดินเครื่องสร้างแบรนด์ "ฟูจิ ซีร็อกซ์ พรินเตอร์" เข้าหาผู้บริโภคทั่วภูมิภาค หวังปรับภาพเครื่องถ่ายเอกสารที่เน้นขายตรง โฟกัสช่องทางจัดจำหน่ายเป็นหลัก เดินโปรแกรมซีอาร์เอ็มมั่นใจต่อ คาดเลเซอร์พรินแตอร์ปีนี้ 1.8 หมื่นเครื่อง ขอมาร์เก็ตแชร์ 10% ก่อนก้าวขึ้นอันดับ 2 ตลาดพรินเตอร์ไทย

กว่า 3 ปีที่บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ จำกัดได้แตกแผนกธุรกิจพรินเตอร์ออกมาต่างหากจากธุรกิจหลัก "เครื่องถ่ายเอกสาร" จากข้อมูลยอดขายของกลุ่มธุรกิจพรินเตอร์ที่รายงานออกมาพบว่า ปีที่ผ่านมา ฟูจิ ซีร็อกซ์สามารถทำยอดขายเลเซอร์พรินเตอร์ในประเทศไทยได้ถึง 15,510 เครื่อง คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่า 59.4% เมื่อเทียบกับปี 2547 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดเลเซอร์ขาวดำอยู่ที่ 7% แต่ถ้าเป็นตลาดเลเซอร์พรินเตอร์สีจะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 5.3%

"การที่ฟูจิ ซีร็อกซ์ พรินเตอร์มีเทคโนโลยีการพิมพ์เป็นของตัวเองถึง 4 เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีทางด้านเลเซอร์ที่เป็นแบบการพิมพ์ฟอร์พาส แบบวันพาส แอลอีดีและโซลิด อิงก์เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายพรินเตอร์ของฟูจิ ซีร็อกซืถึงมียอดขายเติบโต แม้ว่า สภาพตลาดจะมีการเปลี่ยนเทคโนโลยีก็ตาม" วินเซนต์ ซิม ผู้จัดการฝ่ายการตลาดฟูจิ ซีร็อกซ์ พรินเตอร์ ภูมิภาคอาเซียนเริ่มต้นเล่าให้ฟังถึงสาเหตุที่ทำให้ฟูจิ ซีร็อกซืประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมา

สวนทางกับสภาพตลาดที่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจะพบว่า ตลาดเลเซอร์พรินเตอร์ขาวดำในประเทศไทยมีการเติบโตที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากตลาดเลเซอร์พรินเตอร์เริ่มอิ่มตัว มีการแข่งขันที่สูง แต่ขีดความสามารถในการทำงานกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความสามารถในการต่อเชื่อมในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฟังก์ชั่นที่เข้ามามีบทบาทมากๆ ไม่ใช่เป็นการใช้งานแบบสแตนอโลนเหมือนเช่นแต่ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะเรื่องของราคาที่มีการปรับตัวลดลงของเลเซอร์พรินเตอร์ขาวดำที่เมื่อหลายปีก่อนมีราคาอยู่ระดับ 2-3 หมื่นบาทเหลือ 3-4 พันบาท

"มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาสู่ตลาด 3-4 รายที่โดดเข้ามาทำตลาดเพิ่ม เฉพาะตลาดเลเซอร์พรินเตอร์มีถึง 10 แบรนด์ในตลาด แต่เชื่อว่า ภายใน 2-3 ปีนี้จะลดเหลือไม่เกิน 5 แบรนด์ซึ่งเป็นผลมาจากการควบรวมกิจการ หรือการซื้อกิจการระหว่างกัน"

วินเซนต์ ซิมได้อธิบายถึงตลาดที่มาแรงในเวลานี้ว่า ตลาดที่น่าจับตาก็คือตลาดเลเซอร์พรินเตอร์สีที่อัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ใช้จากฟอร์พาสมาเป็นวันพาสมากขึ้น รวมถึงราคาที่ลดลงมามาก เมื่อเทียบต้นทุนต่อแผ่นสำหรับการพิมพ์งานขาว-ดำบนเลเซอร์พรินเตอร์สีแทบจะไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดนี้เติบโตอย่างรวดเร็วในตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 เป็นต้นมา ส่วนตลาดพรินเตอร์มัลติฟังก์ชั่นเป็นอีกตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

สำหรับเป้าหมายในปีนี้ของฟูจิ ซีร็อกซ์ ทางวินเซนต์ ซิมบอกว่า คาดว่าจะมียอดขายเลเซอร์ พรินเตอร์ประมาณ 18,000 เครื่อง คิดเป็นการเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 15% ที่มียอดขาย 15,510 เครื่อง ซึ่งจะทำให้ฟูจิ ซีร็อกซ์ก้าวขึ้นเป็นอันดับ 2 ในตลาดเลเซอร์พรินเตอร์ ขณะที่ตลาดโดยรวมของเลเซอร์พรินเตอร์จะมีจำนวนประมาณ 170,000-180,000 เครื่อง

"ปีที่แล้ว ฟูจิ ซีร็อกซ์มีส่วนแบ่งตลาดเลเซอร์พรินเตอร์ขาวดำในประเทศไทยอยู่ที่ 7% เป็นอันดับที่ 3 ขณะที่เลเซอร์พรินเตอร์สีมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 5.3% เป็นอันดับที่ 4 หากรววมทั้ง 2 ตลาดแล้วมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับที่ 3 เมื่อมองถึงส่วนแบ่งตลาดในเอเชีย-แปซิฟิกจะอยู่ในอันดับที่ 2 ปีนี้ หวังว่า จะสามารถเป็นอันดับ 2 ในเมืองไทยด้วยเช่นกัน แต่ในปีนี้ฟูจิ ซีร็อกซ์คาดว่า จะสามารถมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 10%

กลยุทธ์ที่ฟูจิ ซีร็อกซ์จะใช้สร้างตลาดดังกล่าวขึ้นมาตามที่ตั้งไว้ วินเซนต์ ซิมบอกว่า ฟูจิ ซีร็อกซ์จะกลยุทธ์ "Xpect more & Customer First" เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายและตลาดให้มากขึ้นโดยแบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายออกเป็น 5 กลุ่มหลักประกอบไปด้วยกลุ่มโซโหและธุรกิจขนาดเล็ก กลุ่มเอสเอ็มอีซึ่งทั้งสองกลุ่มมีสัดส่วนประมาณ 60-65% กลุ่มกราฟิกอาร์ตเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 5% กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ที่รวมถึงบริษัทข้ามชาติ และกลุ่มราชการและรัฐวิสาหกิจที่รวมกันประมาณ 30%

วินเซนต์ ซิมได้เล่าให้ฟังถึงความแข็งแกร่งของแบรนด์ฟูจิ ซีร็อกซ์ว่า จากผลสำรวจพบว่า ชื่อของฟูจิ ซีร็อกซ์ทางด้านพรินเตอร์นั้น ติดอยู่ในอันดับ 4 ของผู้จัดจำหน่ายพรินเตอร์ ทั้งๆ ที่บริษัทไม่มีอิงก์เจ็ตพรินเตอร์ โดย 3 แบรนด์แรกเป็นแบรด์ที่มีทั้งอิงก์เจ็ตพรินเตอร์และเลเซอร์พรินเตอร์

"แบรนด์ของเรายังมีภาพลักษณ์เก่าอยู่ ภาพของบริษัทเครื่องถ่ายเอกสาร และเป็นบริษัทที่ขายตรงไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ใช้ทั่วไปเท่าไรนัก แต่วันนี้ ธุรกิจพรินเตอร์ของฟูจิ ซีร็อกซ์ขายผ่านช่องทางรีเทลเป็นหลักถึง 60% จึงทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องการสื่อสารแมสเซสใหม่ไปยังผู้ใช้ เพื่อให้แบรนด์ฟูจิ ซีร็อกซ์ พรินเตอร์มีความใกล้ชิดกับผู้ใช้มากขึ้น เพราะวันนี้การซื้อสินค้าของฟูจิ ซีร็อกซ์ พรินเตอร์ของผู้บริโภคเกิดจาการเดินเข้ามาหาซื้อสินค้ามากกว่ารูปแบบการขายเดิมที่ซีร็อกซ์ทำมาที่เป็นการเดินไปหาผู้บริโภค

ฟูจิ ซีร็อกซ์เตรียมใช้งบทำการตลาดและการสร้างแบรนด์ในประเทศไทยไว้ประมาณ 10 ล้านบาท โดยจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับแบรนด์ฟูจิ ซีร็อกซ์ พรินเตอร์ทั้ง Above และ Below the Line ทั่วภูมิภาคนี้

"เราจะมีการเพิ่มช่องทางจำหน่ายขายปลีกให้ถึงลูกค้ามากขึ้น โดยเวลานี้เรามีตัวแทนจำหน่ายหลักอยู่ 3 ราย ประกอบไปด้วยบริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ คอนเน็กชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด"

นอกจากนี้ ทางฟูจิ ซีร็อกซ์ยังมีแนวคิดที่จะเริ่มโปรแกรมลูกค้าสัมพันธ์หรือซีอาร์เอ็มที่อยู่ในรูปของการเปิดศูนย์บริการลูกค้า (Customer Care Center) และสายด่วนให้คำปรึกษาการใช้งานหรือ Help line สำหรับลูกค้าในกลุ่มโซโฮ เอสเอ็มอีที่ไม่มีบุคลากรด้านไอทีโดยเฉพาะ เพื่อคอยให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการและให้บริการได้ภายในเดือนตุลาคมศกนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us