Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538
เมื่อทรัพย์สินฯ ต้องปวดหัว เพราะชาวสลัมค้าที่แข่ง             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

Exchange square ปัญหา 30 ปีที่ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง!

   
search resources

ทรงวุฒิ อุทัยรัตน์




ภาพอาคารที่พักอาศัยสูง 8 ชั้น 2 อาคารสีขาว ที่ตั้งตะหง่านอยู่ท่ามกลางสลัมคลองเตยในเขตชุมชนเทพประมานนั้น ใครเห็นก็ล้วนแต่อยากได้จับจองเป็นเจ้าของเพราะที่ดินบริเวณนั้น ถ้าดูกันตามราคาซื้อขาย แล้วราคาไม่ต่ำกว่าตาราเมตรละ 2 แสนบาท ที่สำคัญมีแต่คนอยากซื้อแต่หาคนขายได้ยาก

ยิ่งได้เดินเข้าไปดูภายในห้องพักโดยฝีมือากรออกแบบของสถาปนิกมือหนึ่งอย่างอาจารย์สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา นั้น ซึ่งกำหนดให้พื้นที่กว้างถึง 56 ตารางเมตร ต่อ 1 ยูนิต โดยแบ่งซอยย่อยเป็น 2 ห้องนอน 1 ห้องรับแขก ห้องน้ำและที่ทำครัวพร้อมระเบียง ประกอบกับฝีมือการก่อสร้างของไทยด้วยแล้ว บริษัทสหกรุงเทพพัฒนา จำกัด ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเรื่องของบความตั้งใจจริงในการทำงาน

" ต้นทุนต่อยูนิต ไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท ถ้าเป้นของเอกชนจะขายกันที่ตารางเมตรละ 3-4 หมื่นบาท ราคาขายต่อยูนิตไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท อยู่แล้ว" แหล่งข่าวรายหนึ่ง ลองวิเคราะห์ให้ผู้จัดการฟัง

ในขณะที่ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สินคิดค่าเช่าในส่วนที่พักอาศัยเพียงเดือนละ 760 บาท คิดค่าดูแลชุมชนส่วนกลางเพียง 240 บาท มันถูกอย่างหาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว

ถ้าเป็นโครงการของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดราคาค่าเช่าไว้ที่ 1 เปอร์เซ็นต์ ของราคาต้นทุน ของแต่ละยูนิต ค่าเช่าจะตกอยู่ประมาณ 5 พันบาทต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม ในวันมอบกุญแจ เมื่อวันที่ 24-25 มกราคม 2538 ที่ผ่านมานั้น ทางสำนักงานทรัพย์สินก็ยังไม่ได้ ระบุให้ชัดเจนว่าอัตราค่าเช่าและค่าดูแลส่วนกลางนี้ จะเก็บไปจนถึงเมื่อไหร่ และทรัพย์สินจะยืนราคานี้หรือไม่หากที่ตรงนั้นประเมินกันที่ตารางวาละ 2.5 แสนบาททั้งหมด 17 ไร่ มูลค่าเฉพาะที่ดินสูงถึง 1,700 ล้านบาท

ทรงวุฒิ อุทัยรัตน์ หัวหน้ากองโครงการพิเศษได้ออกมายืนยันในฐานะตัวแทนของทรัพย์สินว่า

" ขณะนี้กำลังหารือกันอยู่ว่า จะเพิ่มค่าเช่าเป็นเท่าไหร่ซึ่งต้องเพิ่มแน่เพราะราคาได้กำหนดมานานแล้ว แต่แน่นอนว่า ไม่เกินกำลังของชาวบ้านแน่"

ความต้องการที่จะเป็นเจ้าของห้องพักแห่งนี้จึงมีจำนวนมากผู้ไม่มีสิทธิ์แต่ต้องการเข้ามาเซ้งต่อหรือเช่าที่เกิดขึ้น ในวันรอบมอบกุญแจห้องนั้น จะเห็นได้ว่ามีรายคนที่เข้ามาสอบถาม ว่าใครจะปล่อยให้เซ้งหรือเช่าต่อบ้าง ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านเจ้าของกรรมสิทธิ์หลายรายก็ยอมรับว่าใครให้เราดีก็เอา

ว่าการขายสิทธิ์นี้ เกิดขึ้นมานานตั้งแต่เริ่มมีการเข้าสำรวจพื้นที่ใหม่ เมื่อปี 2527 สนนราคาเริ่มกันตั้งแต่ ราคาไม่ร้อยบาท จนกระทั่งขึ้นเป็นเรือนแสนในปัจจุบัน

การขายสิทธิ์ที่ว่านี้ก็คือการทำสัญญาเซ้งต่อกันเอง แต่ไม่มีสิทธิ์ในการเปลี่ยนชื่อ

นางอำคา มณีวรรณ อายุ 40 ปี บ้านเดิมอยู่จังหวัดสุรินทร์ อาศัยอยู่ที่ชุมชนเทพประทานนี้มานานกว่า 20 ปี เปิดเผยกับผู้จัดการ ว่าดีใจมากที่อยู่แห่งใหม่รอมานานแล้ว และจะย้ายขึ้นไปอยู่ตึกพร้อมครอบครัวทั้ง 10 คน แต่เมื่อ " ผู้จัดการ" ถามว่า ถ้ามีคนขอซื้อสิทธิ์จะขายไหม นางอำคา ตอบทันทีโดยไม่ต้องคิดเลยว่าเอา จะได้กลับไปบ้านนอก และบอกว่ามีคนมาขอซื้อเหมือนกัน แต่ราคาเพียงแสนกว่าบาทเท่านั้น และอยากได้ราคาที่ดีกว่านี้

เช่นเดียวกับ นายเซ่งคิม แซ่โง้ว อายุ 67 ปี อาศัยที่ชุมชนนี้มาประมาณ 30 ปี ก็บอกว่า ถ้ามีคนให้ราดีก็เอา

ในขณะเดียวกัน ก็มีชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแห่งใหม่มีใบหน้าที่แสดความดีใจอย่างเห็นได้ชัดในวันนั้น มันเป็นวันแห่งการรอคอยที่ให้ตัวเองหลุดพ้นจากสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความสกปรก และกลิ่นน้ำครำเสียที คนพวกนี้จะไม่ยอมขายสิทธิ์เด็ดขาย

เล่ากันว่า ชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ตั้งใจจะขายสิทธฺ์แล้วจะอพยพไปสร้างสลัมใหม่บริเวณหลังวัดศรีเอี่ยมบางนา ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเท่ากับว่านโยบายแลนด์แชริ่ง ของสำนักทรัพย์สินคงต้องถึงรีเอ็นจิเนียริ่ง เหมือนกันเพราะแทนที่จะได้สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนกลับเป็นการสร้างธุรกิจใหม่ให้เกิดขึ้น และในพิธีสารที่ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นประธานลงนามในปี 25323 เกี่ยวกับความตกลงร่วมกันในโครงการพัฒนาชุมชนพระราม 4 นั้น ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทุกฝ่ายที่ต้องการให้ราษฏรได้มีที่อยู่อาศัยที่ดี ใกล้แหล่งงาน และที่ทำกิน และเป็นไปตามนโยบายแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด จึงห้ามโอนสิทธิ์การเช่า หรือการเช่าซื้อแฟลตให้แก่บุคคลอื่น ยกเว้นกรณีการโอนสิทธิ์ให้แก่บุพการี บุตร และธิดา เท่านั้น

ดังนั้นเงื่อนไขในการป้องกันการขายสิทธิ์ของทรัพย์สิน คงเป็นประเด็นที่ต้องยกมาพูดคุยกันอย่างเร่งด่วน เพราะปัจจุบันทรัพย์สินฯ มีหลักการไม่ให้มีการซื้อขายสิทธิ์ แต่ในความเป็นจริงในทางปฏิบัติแล้วก็มีการทำอยู่โดยป้องกันไม่ได้ อาจมีการปล่อยให้เซ้ง ปล่อยให้เช่า ซึ่งบางครั้งก็ยากที่จะตรวจสอบ

โดยเฉพาะที่ดินของทรัพย์สินฯ แต่ละแปลงอยู่ในทำเลที่ดี ใคร ๆ ล้วนอยากจับจองเป็นเจ้าของทั้งนั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us