Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มิถุนายน 2549
แบงก์ชาติลั่นคุมเงินไหลเข้า-ออกไม่หวั่นเฟดปรับดอกเบี้ยสิ้นเดือน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
อัจนา ไวความดี
Interest Rate




แบงก์ชาติมั่นใจจะดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลเข้า-ออกอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจับตาหากมีเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าหรือออกมากจนเกินไป ส่วนแนวโน้มที่ตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะปรับขึ้นวันที่ 29 มิถุนายนนี้ เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ เพราะธนาคารกลางจะส่งสัญญาณให้ตลาดรับรู้อยู่แล้ว

นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การดูแลนโยบายการเงิน โดยเฉพาะการปรับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน(อัตราดอกเบี้ยนโยบาย)ของแต่ละประเทศแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับการดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ธปท.จะกำหนดกฎเกณฑ์อะไรมากไม่ได้ เพราะเป็นการไหลเข้า-ออกของเงินทุนเป็นเรื่องเสรี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีอะไรที่เป็นสัญญาณ และธปท.จะดูแลไม่ให้เกิดความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายมากจนเกินไป

“แต่ละประเทศจะมีการดูแลนโยบายการเงิน ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนง่าย แต่ก็ต้องดูแลไม่ให้มีปัญหาไหลเข้าเงินทุนมาจำนวนมากเกินไป ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของปีนี้ก็มีเงินไหลเข้ามาอย่างท้วมท้น ทำให้บาทแข็งค่าขึ้น แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็มีนักลงทุนเทขายหุ้น 3-4 หมื่นล้านบาท ก็ทำให้ค่าเงินบาทอ่อน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เป็นไปตามกลไกของตลาด”

นางอัจนา กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ธปท.คิดไว้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ธนาคารกลางทุกประเทศจะบอกตลาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีอะไรที่เหนือความคาดหมาย เพื่อให้ตลาดปรับตัวได้ เช่นเดียวกับการรายงานเศรษฐกิจหากมีอะไรอ่อนไหวก็มีประกาศให้ตลาดทราบด้วย

“เราคิดอยู่แล้วว่าสหรัฐจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเขาก็บอกตลาดอยู่เสมอ จะไม่ทำอะไรที่เหนือความคาดหมาย ทุกๆ เดือนก็มีการรายงานว่าเศรษฐกิจมีการอ่อนไหวยังไง”

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติที่ประเทศสหรัฐยิ่งมีการประกาศว่ามีการขาดดุลการค้าก็ยิ่งมีเงินไหลออกมากขึ้น ซึ่งในแต่ละวันนักลงทุนจะมีการลงทุนในประเภทต่างๆ ประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และถ้าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อน นักลงทุนไปลงทุนในประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่า เป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้การที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง ไม่ได้มีปัญหาอะไรเป็นเพียงกระแสข่าวอย่างเดียวเท่านั้น

“นักลงทุนกลัวค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อน จึงหนีออกมา เป็นปกติที่ไหนมีรีเทิร์นต่ำก็ย่อมไปหาที่มีรีเทิร์นสูงกว่าในประเทศอื่นแทน อย่างไรก็ตามการทำฟีเทรดย่อมดีกว่าการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ซึ่งเป็นปกติเข้ามาง่ายก็ย่อมออกไปง่าย แบงก์ชาติมีหน้าที่จะทำยังไงไม่ให้ช้างทั้งโขลงเข้ามาเท่านั้น””

ด้านนักค้าเงินของธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ค่าเงินบาทเมื่อวานนี้(14 มิ.ย.) ในช่วงเช้าค่าเงินจะอ่อนค่าลง และกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงบ่าย โดยในช่วงเช้าค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 38.52-32-54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และช่วงเย็นกลับมาปิดตลาดอยู่ที่ 38-35-38.39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นกว่า 10 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากปัจจัยที่ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐมีการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินในสกุลต่างๆ รวมทั้งค่าเงินในประเทศยุโรปด้วย

ทั้งนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่กลับมาแข็งค่าขึ้นเป็นผลมาจากตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในการประชุมวันที่ 29 มิถุนายนนี้ ก็ยิ่งทำให้นักลงทุนเทขายค่าเงินสกุลดอลลาร์ออกมามาก ประกอบกับการประกาศตัวเลขดุลการค้าที่ขาดดุลของประเทศสหรัฐก็ยิ่งทำให้นักลงทุนเชื่อว่าเฟดจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us