|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บิ๊กไออีซี แจงเหตุลผล"บี เตซะอุบล"ลาออกจากกรรมการ เหตุไม่ต้องการให้ถูกมองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน หลังจับมือพันธมิตรตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ระบุตลท.อุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองเป็นเรื่องปกติ ย้ำต้องการให้พิสูจน์ข้อเท็จจริง เปรยตลาดเลือกปฎิบัติหุ้นหวือหวาบางรายไม่โดนมาตรการเดียวกัน
นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)หรือ IEC กล่าวถึงการลาออกของนายบี เตชะอุบล จากการเป็นกรรมการบริษัทว่า ก่อนหน้านี้นายบี ได้เข้ามาเพื่อร่วมบริหารงานโดยได้เข้ามาจัดทีมงานทางด้านโทรศัพท์มือถือซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นทีมที่มีความพร้อมและแข็งแกร่งทุกด้าน
ทั้งนี้นอกเหนือจากงานของบริษัทแล้ว นายบี ยังได้มีการจัดตั้งกองทุนประมาณ 10 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐโดยร่วมลงทุนกับกลุ่มพันธมิตรทั้งจากยุโรป ออสเตรเลีย เพื่อลงทุนในธุรกิจทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ จึงทำให้หากยังเป็นกรรมการของบริษัทอาจจะเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนจึงของลาออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท
อย่างไรก็ตาม บุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทแทนนายบี เตซะอุบล จะต้องรอการประชุมคณะกรรมการของบริษัทในเดือนนี้พิจารณาว่าจะให้ใครเข้ามาเป็นกรรมการแทน
"ที่คุณบีลาออกเป็นเพราะไม่อยากให้คนมองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกัน แต่การเข้ามาเป็นกรรมการของคุณบี ก่อนหน้านี้เค้าเข้ามาสร้างทีมงาน ด้านโทศัพท์มือถือซึ่งตอนนี้ถือว่าเราแข็งแกร่งมาก"นายสุมิทกล่าว
สำหรับกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ภายหลังที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองและให้ยกเลิกคำสั่งห้ามซื้อขายในลักษณะหักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (Net Settlement)และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Trading)ในหุ้นของบริษัทไออีซีนั้น นายสุมิทกล่าวว่า เป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องดำเนินการพิสูจน์ตัวเอง ที่ผ่านมาบริษัทได้เคยมีการยื่นขอเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายในช่วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์ระบุว่ามีการซื้อขายผิดปกติจนทำให้ต้องมีการใช้มาตรการดังกล่าว แต่ตลาดหลักทรัพย์กลับไม่เคยส่งข้อมูลดังกล่าวให้และหากพิจารณาหลักทรัพย์อื่นที่มีการซื้อขายในลักษณะเดียวกันบางบริษัทก็ไม่ถูกดำเนินการในมาตรฐานเดียวกัน บริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียกร้องความเป็นธรรมในเรื่องดังกล่าว
"ในส่วนกระบวนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทกับตลาดหลักทรัพย์คงต้องเป็นไปตามกระบวนการของศาล ซึ่งหลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ได้ยื่นอุทธรณ์ศาลจะต้องมีคำสั่งให้บริษัทชี้แจงในเรื่องดังกล่าว ซึ่งบริษัทก็พร้อมจะให้ข้อมูลและชี้แจงทุกเรื่อง"นานสุมิทกล่าว
สำหรับแผนงานของบริษัทภายหลังที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครอง จะทำให้บริษัทสามารถนำเรื่องการขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงเข้าที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทเพื่อพิจารณาขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 625 ล้านหุ้นได้ ซึ่งการขายหุ้นในครั้งนี้จะพิจารณาตามความเหมาะสมของเงินทุนที่บริษัทตั้งการใช้เป็นสำคัญ โดยยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะมีการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวนเท่าใด
นอกจากนี้บริษัทเชื่อว่าผลการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากบริษัทจะได้รับเงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนเข้ามาเพื่อขยายธุรกิจ โดยบริษัทอาจจะมีการปรับเป้ารายได้จากเดิมที่คาดว่าจะมีรายได้ 6,200 ล้านบาทโดยจะต้องรอความชัดเจนเรื่องพันธมิตรทางธุรกิจก่อน อย่างไรก็ตาม บริษัทจะเร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยคาดว่าจะเรียกประชุมคณะกรรมการของบริษัทในภายในเดือนนี้
แหล่งข่าวนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นลงของราคาหุ้นไออีซี น่าจะยังผันผวนต่อไปแม้ศาลจะสั่งคุ้มครองหุ้นดังกล่าว สิ่งที่จะต้องติดตามคือการอุทธรณ์ของตลาดหลักทรัพย์ต่อศาลปกครองสูงสุดว่าจะออกมาอย่างไร
ทั้งนี้ นักลงทุนที่จะเขาลงทุนจะต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังเนื่องจากหากศาลปกครองสูงสุดมีมติยกเลิกคำสั่งของศาลปกครองโอกาสที่หุ้นไออีซีจะร่วงแรงเพราะว่านักลงทุนจะต้องซื้อด้วยเงินสดก็มีความเป็นไปได้อย่างมาก อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรจะเลี่ยงการลงทุนโดยรอความชัดเจนที่จะเกิดขึ้นก่อนตัดสินใจเข้าลงทุนอีกครั้ง
|
|
|
|
|