ธงชัย สันติวงษ์
นักวิชาการที่เขียนเรื่องรีเอ็นจิเนียริ่ง มากที่สุดคนหนึ่ง ในไทย
ในแง่บทบาทของรีเอ็นจิเนียริ่ง โดยชาญชัย จารุวัสต์ นั้น ธงชัย ให้ทัศนะว่า
ชาญชัยได้ทำถูกต้องแล้ว
เขาให้ความเห็นว่า ชาญชัยได้รีเอ็นจิเนียริ่งไอบีเอ็มใน 2 ประการหลักคือ
หนึ่ง-รีเอ็นจิเนียริ่ง โครงสร้าง โดยปรับองค์กรภายในให้เล็กและกระชับลงตามธุรกิจที่เปลี่ยนไป
สอง-รีเอ็นจิเนียริ่งจุดยืน จากธุรกิจขายฮาร์ดแวร์ สู่กิจการให้บริการ
ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของไอบีเอ็มโดยรวม
อย่างไรก็ตาม ดร.ธงชัย กล่าวว่า ชาญชัย อาจจะดำเนินรีเอ็นจิเนียริ่ง ภายใต้ภาวะกดดันจากบริษัทแม่และความจำเป็นทางธุกริจ
ซึ่งแตกต่างจากการรีเอนจิเนียริ่ง ที่ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งแม้ว่าธุรกิจยังดำเนินการต่อไปได้
แต่บัณฑูร ล่ำซำ ก็แล้วเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงในอนาคต
โดยภาพรวมของธุรกิจบริการนั้น ธงชัยกล่าวว่า ไอบีเอ็มทั่วโลกอยู่ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจาก
อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี หรือไอที
" ไอทีทำให้โลกไร้ซึ่งพรมแดน" ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้ธุรกิจต้องแปลงสภาพ
ซึ่งรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ หนึ่ง-ตลาดเป็นตลาดที่ไร้พรมแดน และเป็นตลาดที่ใหญ่มหาศาล
การกระจายสินค้าและบริการ กลายเป็นการสร้างระบบเทคโนโลยีสนองเป้าหมายดังกล่าว
นอกเหนือการใช้การตลาดแบบ 4p ดังแต่ก่อน
" การตลาดลักษณะนี้ต้องสร้างระบบให้เข้มแข็งมากกว่า ที่จะสร้างพนักงานขายจำนวนมาก
เพราะผู้บริโภคอาจซื้อหรือ รับบริการโดยการกดปุ่มหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น
สอง- โครงสร้างขององค์กร แทนที่จะเป็นแนวดิ่งก็กลายเป็นแนวราบเพื่อลดขั้นตอนการสั่งงานและลดการควบคุมลง
เพราะระบบแลเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เข้าไปทำงานแทน
จุดนี้ธงชัยไม่ตอบโดยตรง กรณีที่ไอบีเอ็มได้ลดพนักงานไปเป็นจำนวนมาก แต่เขาว่า
โดยหลักการแล้วการรีเอ็นจิเนียริ่งกับการลดพนักงานไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง
แต่ธงชัยยอมรับว่า ผู้บริหารระดับกลางจะกลายเป็นส่วนที่ได้รับกระทบกระเทือนที่สุด
เช่นเดียวกัน ที่เกิดกับไอบีเอ็ม ประเทศไทย แต่ทางออกที่ควรจะเป็นคือ โยกย้ายไปทำงานในระดับแนวราบที่ขยายออกไปแทน
" คุณชาญชัย อาจจะทำไปตามที่เขาเห็นว่า จำเป็น"
ธงชัย กล่าวว่า บริษัทแม่ไอบีเอ็ม อาจต้องการเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงของบริษัทสาขาทั่วโลกค่อนข้างรวดเร็ว
ส่วนที่ว่าผู้บริหารบริษัทแม่จะต้องการ " รีเอ็นจิเนียริ่ง" หรือ
บอกแค่เป้าหมายว่า ต้องการอะไร ส่วนชาญชัย จะดำเนินการอย่างไร นั้นไม่อาจบอกได้
" ทุกคนมีสิทธิ์ ที่คิดได้ทั้งนั้นว่า การรีเอ็นจิเนียริ่ง ที่ไอบีเอ็ม
เป็นเรื่องที่บริษัทแม่ใช้คำนี้อย่างตั้งใจ หรือชาญชัยถูกหลอกแล้วตกกระไดพลอยโจน
แต่ผมกลับคิดว่าประเด็นที่ทำให้ผู้คนสงสัยยิ่งกว่าและยิ่งทำให้เรื่องทั้งหมดมันสับสนอยู่ตรงที่
ทำไมชาญชัยต้องลาออก?
การลาออกของชาญชัย รศ.ธงชัยมองว่าเป็นจังหวะที่ไม่เหมาะสมนัก เพราะดูจะเป็นการลงจากตำแหน่งที่ไม่สง่างามซึ่งเหตุผลนั้น
อาจจะมีหลายประการ คือ หนึ่ง-ชาญชัยคิดว่าภารกิจของเขาจบลงแล้ว สอง- กลุ่มสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในเมื่อก็เป็นมืออาชีพ
เมื่อได้รับข้อเสนอที่ดีกว่า เขาก็มีสิทธิ์ที่จะไป
ธงชัย กล่าวว่า ผลของการเปลี่ยนแหลงในไอบีเอ็มครั้งนี้ จะต้องสรุปผลว่า
ประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร อยู่ที่ " บริการที่ดีขึ้น และ "
ยอดขาย" ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
" แต่สำหรับตัวคุณชาญชัยเอง ผมเสียดาย ถ้าเขายังอยู่ ต่อที่ไอบีเอ็ม
เขาก็คงเชิญเป็นองค์ปาฐกเรื่องนี้ได้อีกนาน แต่ตอนนี้ผมคิดว่า คุณชาญชัยคงออกมาพูดเรื่องรีเอ็นจิเนียริ่งไม่ได้อีกแล้ว"
ร.ศ.ธงชัย กล่าวในตอนท้าย