|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ซีพีอาร์ฯ เผย MANDO ผู้ผลิตโช้คอัพรายใหญ่ในเกาหลีตอบรับที่จะซื้อสินค้า รอเพียงการเจรจาเรื่องราคาหลังราคายางธรรมชาติที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง พร้อมหาลูกค้าเพิ่มช่องทางการส่งออก มั่นใจผลงานไตรมาส 2 ปีนี้จะยังออกมาดี ผลจากวัตถุดิบพุ่ง บริษัทจึงปรับราคาขายสินค้าเพิ่มเกือบ 15% พร้อมพับแผนการร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตยางธรรมชาติใช้เอง เนื่องจากหาช่างเทคนิคมีปัญหา
นายนพดล วณิชวิศิษฎ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีอาร์ โกมุ อินดัสเตรียล จำกัด(มหาชน) (CPR) เปิดเผยว่าการคาดการณ์รายได้ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ของบริษัทจะสูงกว่าไตรมาสแรกและสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 48 เนื่องจากราคาของยางธรรมชาติที่ต้องใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์และชิ้นส่วนอื่น ๆ สำหรับขายให้อุตสาหกรรมยานยนต์นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลบริษัทสามารถปรับราคาขายสินค้าได้บ้าง
โดยผลจากต้นทุนการดำเนินงานขยับถึง 60- 70% ทำให้บริษัทต้องขอปรับราคาสินค้าจากลูกค้าเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุน โดยก่อนหน้านี้ได้เจรจาขอปรับราคา 12 - 15% ซึ่งจะใช้เหตุผลของราคายางเฉลี่ยที่ 92 - 95 บาทต่อกิโลกรัมแต่ขณะนี้ราคายางขยับเพิ่มเกิน 100 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว CPR จึงเจรจาขอปรับราคาสินค้าเพิ่มอีก 12 - 15% แต่ขณะนี้แม้ยังไม่ได้รับการตอบรับจากลูกค้า
นายนพดล กล่าวถึง ออเดอร์จากลูกค้า MANDO ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตโช้คอัพรายใหญ่ของเกาหลีและเป็นบริษัทในเครือฮุนได ขณะนี้ได้รับการตอบรับมาแล้วหลังจากที่เจรจาติดต่อกันมาตั้งแต่ปลายปี 48 และในแต่ละปี MANDO ต้องผลิตปีละหลายล้านชิ้น หาก CPR ตกลงในข้อสัญญาต่อกันได้ ก็จะต้องส่งออเดอร์ให้กับลูกค้ารายนี้
"เราต้องมาสรุปเรื่องราคากันอีกครั้งหนึ่ง เพราะขณะนี้เขาติดต่อกลับมาแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นที่ดีลกันอยู่ ราคายางไม่ได้สูงถึงขนาดนี้ แต่ปัจจุบันราคายางมันพุ่งแล้ว เราจึงต้องเจรจาในรายละเอียดกันเพิ่มขึ้นอีก และผมเพิ่งได้รับจดหมายตอบรับกลับมาเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายนนี้เอง " นายนพดลกล่าว
อย่างไรก็ตาม เดือนนี้บริษัทที่ร่วมทุนกับเกาหลี คือยูชอนไพพ์ (ประเทศไทย) จำกัด จะเริ่มเดินเครื่องผลิตในเดือนนี้นั้น อันจะเป็นการลดต้นทุนด้านการรีดท่อเหล็กได้เอง ซึ่งบริษัทจะทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทลดลงได้ประมาณ 5-7%
นอกจากนี้ การที่ CPR เพิ่มช่องทางการส่งออก ด้วยการหาลูกค้าต่างประเทศเพิ่ม ทั้งจากประเทศฟินแลนด์และญี่ปุ่น ที่จะเข้ามาเจรจากับ CPR เพื่อให้ผลิตชิ้นส่วนให้ซึ่งเป็นลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะฟินแลนด์ถือเป็นการเปิดตลาดยุโรปแห่งแรก แต่ก็ต้องรอผลการเจรจาก่อนเช่นกัน เพราะลูกค้าต้องเสนอราคามาก่อนว่าต้องการที่ราคาเท่าไหร่ การมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นการได้ผ่านทางพันธมิตรที่รู้จักกับบริษัทและแนะนำให้มาเจรจาเพื่อตกลงในรายละเอียด
อย่างไรก็ตาม จากการที่ราคายางธรรมชาติที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริหารของ CPR หาทางเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน CPR ซึ่งช่วงที่ผ่านมา CPR ได้มีการเจรจาเพื่อร่วมทุนกับพันธมิตรในการสร้างโรงงานผลิตยางธรรมชาติใช้เอง แต่เนื่องจากการเจรจายังไม่มีข้อตกลงร่วมกันได้ ทำให้แผนการดังกล่าวถูกพับไป เนื่องจากการเจรจายังไม่ลงตัว บวกกับราคายางธรรมชาติในตลาดโลกก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การร่วมทุนเพื่อผลิตยางจึงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ขณะเดียวกันการหาช่วงเทคนิคเพื่อให้เข้ามาดำเนินการก็มีปัญหา เรื่องนี้จึงยังชะลอออกไป รอจังหวะลงทุน
"เราคงไม่ต้องเร่งด่วน เพราะราคายางปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมา น้ำมันราคาพุ่ง เหล็กราคาแพง ย่อมส่งผลต่อผู้ผลิตรถยนต์ที่ต้องมีการชะลอตัวส่งผลต่อผู้ประกอบการอย่างเราที่ขายสินค้าเพื่ออุตสาหกรรมนี้ย่อมได้รับผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นทอด ๆ "นายนพดลกล่าว
นายนพดลกล่าวถึงภาวการณ์ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ว่า เป็นเรื่องที่ตอบได้ยาก เนื่องจากโดยรวมตลาดไม่ค่อยเอื้อ และในส่วนของบริษัทแล้วราคาหุ้นไม่ได้สูงอย่างที่ควรจะเป็นบวกกับไม่มีเรื่องราวอะไรให้ตื่นเต้นพอที่นักลงทุนจะเข้ามาเล่นหุ้น ซึ่งในปัจจุบันเหตุการณ์หลายอย่างรุมเร้า ทำให้โดยรวมแล้วราคาหุ้นนิ่ง ๆ และการซื้อขายมีน้อย
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ CPR ถือเป็นหุ้นตัวนำตลาดตัวหนึ่งของการซื้อขายในตลาด mai เพราะมูลค่าซื้อขายติดอันดับแรก ๆ ของตลาดนี้มาตลอด แต่เมื่อปลายปี 48 ที่มีหุ้นน้องใหม่เข้ามาเทรดมากขึ้น หุ้น CPR ก็แผ่วลงไปอย่างเห็นได้ชัด บวกกับความไม่เอื้อหลายอย่าง ทำให้หุ้น CPR ค่อนข้างนิ่งในปัจจุบัน
นายนภดลกล่าวว่าตนไม่มีสิทธิในเรื่องการทำราคาหุ้นให้สูงหรือต่ำ แต่หน้าที่คือบริหารงานให้ดีและทำให้บริษัทอยู่รอดในยามที่เศรษฐกิจฝืดเคืองและต้นทุนการผลิตสินค้าราคาพุ่ง น้ำมันแพง เหล็กแพง และยางก็ยังเพิ่มขึ้น แต่ละบริษัทต้องทำให้ผลงานออกมาดี
|
|
|
|
|