Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538
โศกนาฏกรรมรีเอ็นจิเนียริ่ง ที่ไอบีเอ็ม             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

"คุณชาญชัย คงออกมาพูดเรื่อง รีเอ็นจิเนียริ่งไม่ได้อีกแล้ว"
รีเอ็นจิเนียริ่ง กสิกรไทย งานชิ้นเอกของบัณฑูร ล่ำซำ
สูตรผสมที่ลงตัว และวันชื่นคืนสุขของชาญชัย

   
www resources

สยามสปอร์ต ตักศิลานักข่าวกีฬาไทย
โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
ชาญชัย จารุวัสตร์
Computer




ตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ศัพท์ที่ฮิตมาก ๆ ในสังคมธุรกิจของไทย คือคำว่า " รีเอ็นจิเนียริ่ง" และมีเพียง 2 องค์กรใหญ่ เท่านั้น ที่ผู้นำกล้าประกาศต่อสาธารณชนว่ากำลังรีเอ็นจิเนียริ่ง บริษัทที่ตนเองบริหารอยู่ แห่งแรกคือ ธนาคารกสิกรไทย โดยบัณฑูร ลำซำ และสองคือ บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด โดยชายชัย จารุวัสต์

แม่มาวันนี้ เส้นทางของทั้งสอง ดูจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะที่ไอบีเอ็ม ชาญชัยลาออกไปรับตำแหน่งใหม่ พร้อม ๆ คำกล่าวทำนองที่ว่า ไอบีเอ็ม และธุรกิจคอมพิวเตอร์มีอนาคตที่ไม่สดใสนัก หากทำรีเอ็นจิเนียริ่ง เร็วกว่านี้จะดีกว่า

2 ปีผ่านมา แท้จริงชาญชัย ทำอะไรกับไอบีเอ็ม และเขารีเอ็นจิเนียริ่ง ไอบีอ็ม จริงหรือ!

ในค่ำคืนของงานเปิดตัวของผู้บริหารใหม่ของบริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น ซึ่งชาญชัย จารุวัสต์ มีท่าทีที่ชื่นมื่นกว่าทุกยุคสมัยที่ไอบีเอ็มเป็นอันมาก เขากล่าวเปิดใจถึงสาเหตุของการตัดสินอำลาจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อมารับตำแหน่ง ที่บริษัทสามารถว่า อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตที่ต่ำมาก สวนทางกับต้นทุนที่เพิ่มสงขึ้นตลอดเวลา ทำให้รายได้อยุ่ในเกณฑ์ลดต่ำลง แตกต่างไปจากธุรกิจโทรคมนาคม ที่มีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา

การเลือกบริหารให้กับบริษัทสามารถ ซึ่งกำลังเติบโตไปได้ด้วยดี จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของเขาได้ดีกว่านั่งบริหารงานในไอบีเอ็ม ที่อยู่ในสภาพของการอิ่มตัวแล้ว

ความอิสระในการบริหารงานนั้น ไม่ว่าอยู่ที่ องค์กรใดก็ตาม ก็ไม่มีอิสระ 100 % แต่การบริหารงานในบริษัทคนไทยจะคล่องตัวกว่าบริษัทข้ามชาติจากจากต่างประเทศแน่นอน

เขาปฏิเสธที่จะกล่าวถึงไอบีเอ็มโดยตรง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมารยาททางธุรกิจ แต่ที่นาสนใจคือ เขาไม่ค่อยอยากจะกล่าวถึงบทบาทของความเป็นผู้นำในเชิงรีเอ็นจิเนียริ่งนัก

ชาญชัย ได้ให้สัมภาษณ์ " ผู้จัดการ" อีกครั้ง ถึงแนวทางในการบริหารงานในบริษัท สามารถที่เขาจะนำเอาระบบบริกหารแบบมืออาชีพมาผสมผสานในการบริหารงานแบบครอบครัว เพื่อผลักดันให้บริษัทสามารถบริหารงานแบบมีระบบมากขึ้น

ในเรื่องของการรีอ็นจิเนียริ่ง เขากล่าวว่า การรีเอ็นจิเนียริ่ง กับการลดพนักงาน เป็นคนละเรื่องกัน เพราะการรีเอ็นจิเนียริ่ง คือการทำให้บริษัทเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่จะมีโอกาสที่จะขยายธุรกิจได้อีก

แต่การลดพนักงาน คือการปรับองค์กร ( re-structure) เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ขององค์กรที่เริ่มมีปัญหาในเรื่องของรายได้

ในกรณีของธนาคารกสิกรไทยคือตัวอย่างที่แท้ ของการรีเอ็นจิเนียริ่ง ที่มีเป้าหมายชัดเจน ดังนั้น จึงไม่ต้องเจอกับสภาวะการลดพนักงาน แต่การรีเอ็นจิเนียริ่ง ของไอบีเอ็มที่ผ่านมา เป็นเรื่องของกลดค่าใช้จ่าย ก่อนที่จะลงไปถึงการรีเอ็นจิเนียงอย่างแท้จริง

สาเหตุสำคัญ เนื่องมาจาก สภาพตลาดคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลาดเครื่องเทนเฟรม ซึ่งเคยทำรายได้ให้กับไอบีเอ็มถึง 60% ของรายได้รวมกลับมีอัตรา การเติบโตลดต่ำลง ถึงปีละ 30-40% เพราะความนิยมใช้เครื่องซีพีมาแทนที่ ดังนั้นไอบีเอ็ม จึงไม่มีทางเลือก ที่จะต้องลดขนาดองค์กรลง เพื่อตัดค่าใช้จ่ายลดลง

" หากไอบีเอ็ม เลือกที่จะรีเอ็นจิเนียริ่ง มาตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว คงจะมีสถานภาพที่ดีกว่านี้แน่นอน" ชาญชัย ตอกย้ำ

คำกล่าวในลักษณะนี้ นับว่าสวนทางกับคำสัมภาษณ์ในอดีตของชาญชัยอย่างสิ้นเชิง โดยเขาได้ย้ำถึงการรีเอ็นจิเนียริ่ง บ่อยครั้ง โดยอาจจะใช้คำศัพท์แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย

เขาเริ่มการรีเอ็นจิเนียริ่ง ไอบีเอ็ม ด้วยการลดพนักงานลง ภายใต้โปรแกรมเกษียณก่อนครบอายุทำงาน ( early retirement) มาใช้ เพื่อให้พนักงานที่ทำงนมาเกือบครบอายุเกษียณสามารถลาออกได้โดยจะได้รับเงินตอบแทน

" ไอบีเอ็มไม่ได้ทำ เพราะถึงวิกฤติการณ์ และไม่ได้โดนบังคับจากบริษัทแม่ แต่ทำไปเพื่อต้องการปรับปรุงองค์กรให้มีทักษะ และการดำเนินงานคล่องตัวมากขึ้น" ชาญชัย เคยกล่าวเช่นนี้

แม้กระทั่งการนำประกาศให้พนักงานลาออกได้โดยสมัครใจ ( voluntary transition) และจะได้รับเงินชดเชย 8-24 เดือน ซึ่งมีพนักงานที่ยื่นใบลาออกประมาณ 120 คน และไอบีเอ็ม ต้องเสียค่าใช้จ่ายในครั้งนั้น ประมาณ 120 ล้านบาท

ชาญชัย ได้กล่าวถึงเหตุผลว่า ไม่ได้เป็นการโละพนักงานแต่เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการ re-enginerring ของไอบีเอ็ม ซึ่งจะมีทิศทางการดเนินธุรกิจในแนวใหม่ ที่เป็นการทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ได้ขายเครื่องฮาร์ดแวร์อีกต่อไป จึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานให้สอดคล้อง ดังนั้น ใครไม่พร้อมที่จะอยู่ร่วมต่อสู้ จะสามารถเลือกออกไห้

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคำอธิบายในเชิงบวก กับสิ่งที่เกิดขึ้น ในไอบีเอ็มในช่วง 2 ปี และมองไปในทิศทางที่ดีมีอนาคตสดใส แต่สำหรับพันธมิตรของไอบีเอ็ม ประเทศไทย หลายรายกลับมองในทางตรงกันข้าม

อดีตผู้บริหารสูงของไอบีเอ็ม ประเทศไทยรายหนึ่ง ที่เลือกการลาออก โดยได้รับเงินชดเชยในครั้งนั้นกล่าวว่า ต่อจากนี้ไอบีเอ็มไม่เหมือนองค์กรอันยิ่งยงเช่นในอดีตอีกต่อไป เพราะหลังจากลดคนงานเพื่อให้องค์กรมีขนาดเล็กลงแล้ว สายการตลาดและการขาย ถูกทยอยโอนย้ายไปขึ้นตรงกับไอบีเอ็ม ภูมภาค ประเทศสิงคโปร์ ไอบีเอ็มประเทศไทย จะกลายเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ต้องดำเนินตามนโยบายของบริษัทแม่ในภูมิภาค

ไอบีเอ็ม ในวันนี้ จึงไม่ใช่องค์กรที่จะท้าทายความสามารถของผู้บริหารได้อีกต่อไป

เช่นเดียวกับ ธีรศักดิ์ ตั้งพูนผลวิวัฒน์ อดีตผู้จัดการฝ่ายการตลาดธุรกิจทั่วไป ที่เลือกการออกตามโปรแกรมในค่ำคืนวันรวมรุ่นศิษย์เก่ายักษ์สีฟ้าในช่วงกลางปี 2537 ว่า ไม่มีความสุขที่จะทำงานที่ไอบีเอ็มอีกต่อไปแล้ว

วิชัย รัตน์ประสาทพร ผู้จัดการฝ่ายบริการ ด้านซอฟท์แวร์งานระบบ ซึ่งดูแลเครื่องเมนเฟรม ทำงานในไอบีเอ็ม 26 ปี กล่าวในครั้งนั้นว่า สาเหตุการเปิดนโยบายดังกล่าว ไม่ใช่เหตุผลของการเปิดนโยบายดังกล่าว ไม่ใช่เหตุผลของการรีเอ็นจิเนียริ่ง แต่อาจเป็นเพราะไอบีเอ็ม เสียรายได้มหาศาล จึงเป็นสิ่งที่ผลักดันให้ไอบีเอ็มต้องกระทำซึ่งยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าไอบีเอ็มเดินทางมาถูกหรือไม่

ตัวแทนจำหน่ายของไอบีอ็ม ให้ความเห็นว่า การรี-เอ็นจิเนียริ่ง ที่ชาญชัยนำมาเรียกใช้ในการปรับปรุงองค์กรไอบีเอ็ม ประเทศไทยในเวลานั้น แท้จริงเป็นแผนการโละพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัทแม่ ที่ต้องการตัดค่าใช้จ่าย และลดขนาดขององค์กรเพื่อให้เป็นเพียงสำนักงานตัวแทนทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างไอบีเอ็มภูมิภาค และตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น เพราะสภาพของธุรกิจคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยให้มีการขยายองค์กรอีกต่อไป

คู่ค้าอีกรายของไอบีเอ็ม กล่าวถึงการรีเอ็นจิเนียริ่ง ของไอบีเอ็มว่า เป็นความจำเป็นที่ไอบีเอ็มต้องเลือกมาใช้ ในการลดต้นทุนในระยะยาว เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายบริษัทแม่ เพราะไม่ใช่เข่นนั้นแล้วไอบีเอ็มจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการขาดทุนที่จะเลวร้ายขึ้น อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ความสับสนที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี เพิ่งจบลงไปพร้อม ๆ กับการสิ้นสุดคำสัมภาษณ์และการอธิบายเรื่องรีเอ็นจิเนียรริ่งจากชาญชัย เช่นเดียวกับความยิ่งใหญ่ของยักษ์สีฟ้าในประเทศไทย ทีทรงอิทธิพลมาช้านานให้เหลือเพียงสำนักงานตัวแทน

แท้จริงเกิดอะไรขึ้นกับไอบีเอ็ม ประเทศไทย?

สัญญานการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นกับไอบีเอ็มมานานแล้ว และเมื่อไอบีเอ็มประเทศไทย ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์บริหาร ASEAN Region เป็น Single Operating Unit ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ เป็นการรวมอำนาจไว้ในจุดเดียวกัน และการกำหนดนโยบายหลักจะขึ้นตรงต่อสายงานในต่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์บริหารในลักษณะดังกล่าว แน่นอนว่า เท่ากับเป็นการลดอำนาจผู้บริหารภายในประเทศลงโดยปริยาย เพราะนโยบายต่าง ๆ จะถูกกำหนดมาจากสำนักงานที่ดูแลภาคพื้นโดยตรง

ต่อจากนี้ผู้บริหารของไอบีเอ็ม จะต้องรายงานโดยตรงไปยังสำนักงานของมาสิงคโปร์ กรรมการผู้บริหาร จะเป็นเพียงคนที่คอยให้คำปรึกษาเท่านั้น

ทิศทางในลักษณะดังกล่าว นับว่าเป็นไปตามนโยบายของหลุยส์ เกิรส์เนอร์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทไอบีเอ็ม ที่ต้องการให้การดำเนินงานไอบีเอ็มทุกสาขาทั่วโลก เป็นหนึ่งเดียว ในลักษณะของ " องค์กรธุรกิจโลก" หรือ ( Global organization) ที่จไม่มีคำว่าสาขาอีกต่อไป เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดร่วมกัน และที่สำคัญยังเป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนการทำงานรวมทั้งลดขนดขององค์กรลงได้

เพื่อให้เดินไปตามเป้าหมายที่วางไว้ หลุยส์ เกิรส์เนอร์ ได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางด้านการตลาดและฝ่ายขายขึ้นใหม่ ซึ่งจะแบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรมออกเป็น 14 กลุ่มธุรกิจ อาทิ กลุ่มธนาคาร กลุ่มค้าปลีก กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มประกันภัย สาธารณูปโภค โรงพยาบาล การศึกษา เป็นต้น

ไอบีเอ็มในแต่ละประเทศ จะทำการแบ่งสายธุรกิจตามประเภทดังกล่าว ซึ่งจะมีการแต่งตั้งหัวหน้าทีมงานเพื่อหน้าที่รายงานตรงไปยังผุ้บริหารระดับสูง ณ สำนักงานใหญ่ที่สุด

สำหรับประเทศไทย หลังจากเดินทางกลับมารับตำแหน่งใหญ่ในไอบีเอ็ม ประเทศไทย ไม่นาน ชาญชัย ได้ทำการปรับปรุงสายการตลาด เพื่อเดินตามแนวทางของบริษัทแม่ เริ่มด้วยแบ่งตลาดออกเป็น 22 กลุ่มประเภทธุรกิจ จะได้มีการปรับลดเรื่อยมา จนกระทั่งเหลือเป็น 14 ธุรกิจดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งเหลือเป็น 14 ธุรกิจดังกล่าว และได้เริ่มโอนสายธุรกิจต่าง ๆ ขึ้นตรงไอบีเอ็ม ประเทสสิงคโปร์ ตั้งแต่มกราคม ที่ผ่านมาเป็นต้นไป

รวมทั้งผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ทุกระดับ ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( พีซี) สเตชั่น มินิ ตลอดจนเครื่องเมนเฟรม จะถูกโอนงานขึ้นตรงกับสำนักงานในสิงคโปร์ทั้งหมดนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

ไอบีเอ็ม ประเทศสิงคโปร์ จะเป็นสำนักงานภูมิภาคที่ทำหน้าที่ดูแล และวางแผน รวมทั้งกำหนดนโยบายให้กับไอบีเอ็มในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด จึงประกอบไปด้วย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

ผลสะท้อนที่เกิดขึ้นจากนโยบายดังกล่าว นอกากจะทำให้ไอบีเอ็มทุกสาขา สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งในด้านของความชำนาญงานที่จะดึงมาจากแต่ละสาขาของแต่ละประเทศ เพื่อให้การสนับสนุนแก่ลุกค้าได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การให้ตำปรึกษาการบริหารโครงการ การผสมผสานของระบบ และการพัฒนาวางโครงสร้างของแอพพริเคชั่น ยังว่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินงาน และการลดขั้นตอนการดำเนินงาน ลดกำลังคน และยังรวมถึงการลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมากแล้วนั้น

ที่สำคัญ การรวมศูนย์อำนาจอยู่สำนักงานประจำภูมิภาค แทนที่จะเป็นการกระจายอำนาจไปตามแต่ละสาขาเช่นในอดีต แน่นอนว่า บทบาทของบริษัทสาขาในแต่ละประเทสละลดลงไปโดยปริยาย

เมื่อการโอนย้ายเทอำนาจในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ได้ถูกรวมศูนย์ไปไว้ที่ไอบีเอ็มภูมิภาค เพื่อให้เป็นไปตามแผนการบริหารธุรกิจตามนโยบายทั่วโลกแล้วนั้น บทบาทของตัวแทนจำหน่ายหรือคู่ค้า ย่อมมีมากขึ้น

ในวันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ไอบีเอ็ม ได้ประกาศนโยบายการทำการตลาดที่สำคัญในส่วนของตัวแทนจำหน่าย ด้วยการเปิดกว้างให้ตัวแทนจำหน่ายแต่ละรายสามารถทำตลาดได้อย่างเต็มที่ ไม่จำกัด ตลาดเช่นในอดีตอีกต่อไป ขึ้นอยู่กับศักยภาพของคู่ค้าแต่ละรายว่าจะมีมากน้อยเพียงใด

และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ตัวแทนจำหน่ายได้มีโอกาสในการเสนอขายสินค้าพร้อมทั้งโซลูชั่นได้ในทุกกลุ่มตลาด ไอบีเอ็ม จึงได้จัดตั้งทีมงานขายตรงขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างลูกค้า และดีลเลอร์ ในการจัดหาระบบงาน ( โซลูชั่น) ที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน

ในส่วนของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไอบีเอ็มยังคงเป็นผู้ทำการตลาดอยู่เช่นเดิม ซึ่งอาจจะมีการร่วมมือกับตัวแทนจำหน่ายประเภทซิสเต็มส์ อินทรีเกเตอร์ เช่นชินวัตร ในการประมูลงานราชการบางโครงการ

สาเหตุที่ไอบีเอ็ม ต้องเก็บเครื่องเมนเฟรมไว้ทำเองนั้น เนื่องจากตลาดใหญ่ยังคงเป็นลูกค้าทางด้านธนาคาร ซึ่งไอบีเอ็มยังต้องการเป็นผู้ทำตลาดเอง

การเปลี่ยนแปลงนโยบายในลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ไอบีเอ็ม สามารถขยายตลาดและสร้างรายได้มากขึ้น เพราะตัวแทนจำหน่ายรายเล็กต้องขยายธุรกิจมากขึ้น ในขณะที่รายใหญ่จะไม่สามารถอยู่เฉยได้อีก ต้องปรับตัวให้ขยายธุรกิจออกไปอีก

ที่สำคัญ ยังเป็นการลดบทบาทของไอบีเอ็มประเทศไทยลงทางอ้อม เพราะการสร้างให้ตัวแทนจำหน่ายแข็งแกร่งขึ้น จะทำให้ไอบีเอ็มสามารถลดค่าใช้จ่ายในเรื่องกำลังคน ซึ่งเป็นต้นทุนในระยะยาวลงได้

เป็นไปตามลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทค้าคอมพิวเตอร์ข้ามชาติทั้งหลายในปัจจุบัน ที่จะปล่อยหน้าที่การตลาดให้กับตัวแทนจำหน่ายเป็นผู้ทำตลาดให้ แทนที่จะต้องทุ่มเทเงินทุนในการสร้างบุคลากร เพื่อใช้ในการขยายตลาดเอง ซึ่งจะสวนทางกับสภาวะของตลาดคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายลงตลอดเวลา

แน่นอนว่า การเปลี่ยนรูปขององค์กรของไอบีเอ็ม ประเทศไทย จากบบริษัทสาขา ไปเป็นเพียงแค่สำนักงานตัวแทน ที่จะต้องรับคำสั่งโดยตรงจากไอบีเอ็ม สิงคโปร์ ทำให้ไอบีเอ็ม ไม่ต้องลงทุนขยายการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังคนอีกต่อไป แต่ยังสามารถลดขนาดขององค์กรลง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายตามนโยบายขององค์กรบริษัทแม่ได้

หลุยส์ เกริส์เนอร์ ประธานไอบีเอ็ม กล่าวไว้ ตั้งแต่แรกแล้วว่า การแก้วิกฤติการณ์ของไอบีเอ็ม ที่จะสัมฤทธิผลได้มากที่สุด คือ การลดจำนวนพนักงานลง เพื่อลดต้นทุนของไอบีเอ็มในระยะยาว ซึ่งจากจุดนี้เอง จะทำให้ไอบีเอ็ม มีกำไรเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ต้องประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา

เมื่อเดือนกรกฏาคม 2536 หลุยส์ เกอร์สเนอร์ ได้ประกาศปลดคนงานไอบีเอ็ม ในแถบพื้นที่เอเชียแปวิฟิก 34,000 คน เพื่อลดปัญหาการขาดทุนสะสม หลังจากที่ปลดคนงานไปแล้วกว่า 85,000 คนทั่วโลก

ชาญชัย คือผู้ที่ต้องสานต่อของนโยบายดังกล่าว

ในราวปี 2536 ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ได้ นำนโยบายในการโละพนักงานมาใช้ 2 ครั้ง เริ่มด้วยข้อเสนอให้กับพนักงานที่ต้องการเกษียณอายุก่อนกำหนด ( Early retrimemt) จะได้รับเงินชดเชยให้ซึ่งมีพนักงานประมาณ 40 คน ที่รับข้อเสนอดังกล่าว

การโละพนักงานครั้งที่สอง ในช่วงต้นปี 2537 คือโครงการลาอออกอย่างสมัครใจ ( Voluntary Transition) ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ให้กับพนักงานสามารถลาออกได้โดยสมัครใจ จะได้รับเงินชดเชย 8-24 เดือน ซึ่งมีพนักงานยื่นใบลาออก 120 คน และไอบีเอ็ม ต้องเสียค่าใช่จ่ายในครั้งนั้นประมาณ 150-200 ล้านบาท

ไอบีเอ็ม ได้เปิดเผยถึงตัวเลขของการลดจำนวนพนักงานลงใน 2 ครั้งนั้น ทำให้ไอบีเอ็มสามารถลดพนักงานลงได้กว่า 100 คน เสีย ค่าใช้จ่ายประมาณ 100 ล้านบาท แต่ทำให้ค่าใช้จ่ายทีเกี่ยวกับพนักงานลดลงอย่างมาก ประมาณ 1 ใน 3 ของที่มีอยู่

ทั้งหมดคือการ " รีเอ็นจิเนียริ่ง" ที่ชาญชัย ใช้เรียกขานในเบื้องต้น หรือจะเป็นเพียงแค่การปลดพนักงาน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และขนาดองค์กร เพื่อรองรับทิศทางใหม่ตามที่บริษัทแม่ได้วางไว้นั่นเอง ดังที่ชาญชัยกล่าวว่าเป็นการรีสตรัคเชอ ในตอนหลัง

ความยิ่งใหญ่ ของยักษ์สีฟ้าในไทย คงต้องถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง โดยคาดหวังว่า รูปแบบที่เกิดขึ้นใหม่จะเป็นอนาคตที่ดีกว่าสำหรับไอบีเอ็มและพันธมิตรในประเทศไทย

สำหรับตัวชาญชัย ในช่วงเวลาหนึ่งเขาอาจเจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับไอบีเอ็ม และอาจขัดแย้งกับบริษัทแม่ แต่วันนี้ เขามีความสุขกับตำแหน่งใหม่ที่บริษัทสามารถ

บริษัทแห่งใหม่ ที่เขาคงไม่นำคำว่า "รีเอ็นจิเนียริ่ง" มาใช้อีก!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us