|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จากปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศ ประกอบด้วยการเมือง ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ความมั่นใจของนักลงทุน การแข่งขันของสินค้าส่งออก ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
แฟรนไชส์ เป็นกลยุทธ์ธุรกิจและฟันเฟืองหนึ่งในระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้น ภาพที่ปรากฏทั้งชะลอการลงทุน เลือกลงทุนธุรกิจขนาดเล็กเพื่อลดความเสี่ยง และการเล็งหาโอกาสธุรกิจใหม่ๆ
เหล่านี้ล้วนเป็นภาพที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี ซึ่งพบว่าบางรายสามารถอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ แต่บางรายไม่สามารถประคับประคองได้ และบางรายตื่นตระหนกกับสิ่งที่เกิดขึ้น คว้าธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยขาดการไตร่ตรองที่ดี
"ผู้จัดการรายสัปดาห์" ได้สัมภาษณ์ อาจารย์สิทธิชัย ทรงอธิกมาศ อาจารย์ประจำภาควิชา Entrepreneurship ผู้สอนวิชา Franchise Management มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงปรากฏการณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ และการตั้งรับของแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี และโอกาสธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจที่คาดเดาได้ยาก ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
รู้สภาพเศรษฐกิจ ลดความเสี่ยง
อาจารย์สิทธิชัย เกริ่นนำก่อนว่า ผู้ประกอบทั้งผู้เป็นแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี ต้องรู้และเข้าใจในสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัย 2 ส่วนคือ อันดับแรกปัญหาภายในประเทศ ความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้ไม่มีนโยบายหรือทิศทางที่ชัดเจน ทำให้เงินที่จะไหลสู่ภาคการลงทุนชะงัก หรือเปรียบเป็นปริมาณน้ำที่ลดน้อยลงต้องแบ่งปันกันเกี่ยวเนื่องมาถึงการแข่งขัน ซึ่งการที่นโยบายไม่มีความชัดเจนกรณีขัดแย้งกัน การที่ภาครัฐจะช่วยผลักดันจึงเป็นไปได้ยาก
และอีกส่วนหนึ่งผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในเชิงการแข่งขันระดับโลก เพราะไทยยังต้องพึ่งพิงการส่งออกอาศัยเงินตราต่างประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน อัตราการเติบโตของประเทศจึงค่อยๆ ลดลง ในสภาพเศรษฐกิจขยายตัวต่ำ ฉะนั้นการลงทุนในช่วงนี้ต้องมีความระมัดระวัง ซึ่งหมายถึงลงทุนได้แต่ต้องระวังมากขึ้นจากสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้น
กับการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์นั้น อาจารย์สิทธิชัย ให้ข้อมูลในการพิจารณาว่า ดูถึงการลงทุนว่ามีอัตราเสี่ยง ควรหลีกเลี่ยงในช่วงนี้ โดยแบ่งอัตราเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับได้แก่
1.อัตราที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์เกิดใหม่ แม้ว่าในสถานการณ์ปกติก็ตาม และแฟรนไชส์ที่มีการลงทุนสูงมาก ความเสี่ยงคือระยะเวลาการคืนทุน ทั้งนี้ยกเว้นสำหรับแบรนด์ที่เข้มแข็ง มีความมั่นคงสูงและเป็นธุรกิจที่มีโอกาส
2.อัตราเสี่ยงระดับปานกลาง แม้ว่าผู้ลงทุนจะมีเงินเย็นหรือทุนสำรองไว้แล้วก็ตาม แต่สถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต้องพิจารณาและระมัดระวัง เพราะยังมีความเสี่ยงระดับปานกลาง โดยพิจารณาถึงโอกาสและศักยภาพของตนเองควบคู่ไปพร้อมๆ กัน
สุดท้าย 3.ไม่มีความเสี่ยงคือธุรกิจที่มีความมั่นคงอยู่มานาน และเงินลงทุนอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ความมีชื่อเสียงของแฟรนไชซอร์
อาจารย์สิทธิชัย ให้ความเห็นว่า แต่กับสภาพการณ์เช่นนี้ แนวโน้มการลงทุนของแฟรนไชซีกับพบว่า มีปริมาณเม็ดเงินในการลงทุนลดลง เพื่อควบคุมความเสี่ยงได้ง่าย เช่น หันไปลงทุนกับธุรกิจที่มีเม็ดเงินลงทุนน้อยไว้ก่อน ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ป้องกันตนเองแต่ไม่ได้โอกาส เช่น เลือกลงทุน 30,000-40,000 บาท แต่ผู้ลงทุนมีเงินทุนมากกว่านี้แต่เลือกลงทุนขนาดเล็ก ซึ่งแสดงถึงความไม่เข้าใจในการเลือกลงทุน
ซึ่งระดับการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 1.การลงทุนระดับจิ๋ว (micro business) เป็นการลงทุนด้วยเม็ดเงินที่ต่ำกว่าแสนบาทลงมา 2.การลงทุนระดับเล็ก (small business) ที่ใช้เงินลงทุนระดับแสนแต่ไม่เกินล้านบาท 3.การลงทุนระดับกลาง (mediem business) การลงทุนระดับล้านต้นๆ หรือ 1-3 ล้านบาท และ 4.การลงทุนขนาดใหญ่ (big business) ระดับ 5 ล้านจนถึง 10 ล้านบาท
เจาะลึกหลักการลงทุนอาหาร-บริการ ยังเป็นดาวรุ่ง
อาจารย์สิทธิชัย ได้ระบุถึงโอกาสธุรกิจไว้ว่า เมื่อผู้ลงทุนเลือกลงทุนโดยพิจารณาระดับอัตราเสี่ยงและระดับการลงทุนได้แล้ว ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้นั้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ยังเป็นธุรกิจที่ควรเลือกพิจารณาในอันดับต้นๆ เช่น ธุรกิจอาหาร ซึ่งขณะนี้ไม่เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้น แม้เป็นการลงทุนระดับใหญ่ของผู้ที่มีเงินลงทุนมากก็ตาม และสำหรับผู้ที่มีเงินลงระดับปานกลางลงมาอาจพิจารณาธุรกิจอาหาร ที่ควบคู่กับเครื่องดื่ม เบเกอรี่
"ธุรกิจอาหาร ตัวสินค้าคืออาหารที่คนยังต้องกิน ไม่ว่าเศรษฐกิจแบบไหนก็ยังไปได้ แต่กับการลงทุนภายใต้สถานการณ์นี้ต้องเลือกธุรกิจที่มีจุดเด่น ความอร่อยมาเป็นอันดับแรก รูปแบบต้องดี"
และธุรกิจบริการ ต้องเป็นบริการเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น งานซ่อม เปลี่ยน ทำความสะอาด ดูแล ในไทยธุรกิจบริการยังไม่พัฒนาซึ่งสามารถทำได้อีกมาก ซึ่งงานบริการเหล่านี้ยังอยู่ในระดับรากหญ้า ถ้ามีการพัฒนาทำเป็นระบบให้เกิดความน่าเชื่อถือคาดจะเติบโตได้ดีในอนาคต เช่น บริการเกี่ยวข้องกับรถยนต์ ทั้งล้างรถ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ยังอยู่ในมือของเข้าของแบรนด์ และการให้บริการอยู่ตามศูนย์บริการรถยนต์ต้องรอคิว ถ้าเสนอบริการที่ดี ระยะเวลารอคิวน้อยกว่าโอกาสเป็นไปได้
"ทั้งนี้บริการรถยนต์ เป็นธุรกิจที่มีโอกาสเพราะตลาดรถยนต์ในไทยโตมากและแนวโน้มโตขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์คนเข้าใช้บริการจำนวนมาก ประหยัดแรงและเวลา แม้พิจารณาเงินลงทุนอยู่ระหว่าง 2 แบรนด์ ลงทุน 10 ล้าน กับ 4-5 ล้าน ถ้ามีเงินเย็นลงทุน 10 ล้านก็น่าสนใจเพราะเป็นธุรกิจที่ไปได้แต่เมื่อเทียบกับงานบริการอื่น เช่น สปา ที่เปิดกันจำนวนมากต้องเข้าใจว่าโตตามสภาพจังหวะและเวลา ร่วมถึงต้องมีความสามารถเฉพาะคือการนวด"
อาจารย์สิทธิชัย ขยายความน่าสนใจในธุรกิจบริการว่า เป็นธุรกิจที่เข้ากับยุคสมัยเป็นธุรกิจยุคใหม่ที่เติบโต โดยเฉพาะในต่างประเทศเติบโตมาก ซึ่งเทรนด์ในประเทศไทยก็เป็นเช่นนั้น ซึ่งธุรกิจบริการจะเป็นตัวฉายภาพเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งเศรษฐกิจจะดีขึ้นธุรกิจบริการก็โตตาม เพราะคนต้องการประหยัดเวลาเพื่อว่าจ้างบริการต่างๆ เพื่อมีเวลาทำงานสร้างเศรษฐกิจให้ดีขึ้นซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ล็อคกันอยู่ ฉะนั้นเศรษฐกิจจะโตได้มีตัวสัญญาณคือธุรกิจบริการเป็นตัวบอก
ขณะเดียวกันธุรกิจบริการ ยังเป็นตัวบ่งบอกว่านักธุรกิจ ประชาชน มีองค์ความรู้หรือไม่ เพราะการขายบริการต้องมีองค์ความรู้ที่มากกว่าการขายสินค้า
แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเลือกธุรกิจนั้น ต้องศึกษาให้ละเอียดถึงการดำเนินธุรกิจด้วยว่าเป็นธุรกิจที่อาศัยความสามารถพิเศษหรือไม่ เช่น ธุรกิจ คอมพิวเตอร์ สถาบันสอนภาษา แม้ว่าผู้ลงทุนจะเลือกธุรกิจที่มีโอกาสเงินทุนเหมาะสม อัตราเสี่ยงน้อยก็ตาม เพราะความยั่งยืนของธุรกิจอันดับแรกๆ คือความรู้ กับไม่รู้ของแฟรนไชซีเข้ามาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญด้วย เพราะถ้าเศรษฐกิจดีก็เป็นโอกาส เช่น ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านภาษาหรือคอมพิวเตอร์ อยู่ระหว่างการพิจารณาเลือกลงทุนให้บริการล้างรถ อย่างหลังน่าจะเหมาะสมกว่าเพราะไม่ต้องอาศัยความสามารถพิเศษแต่อย่างใด แต่ถ้าเลือกสองอย่างแรกต้องอาศัยแฟรนไชซอร์ตลอด ถ้าบกพร่องเรื่องบุคลากรทำให้การบริหารธุรกิจชะงักไปด้วย
"ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ถึงกับไม่ดีมากๆ แฟรนไชส์มีหลากหลาย ธุรกิจบางประเภทต้องการการดูแล อาศัยความสามารถเฉพาะ โดยสถานการณ์ที่ต้องระมัดระวัง จำเป็นต้องเลือกด้วยความสามารถของเราเป็นหลัก เพราะอาศัยความสามารถเฉพาะ ถ้าเราไม่เหมาะแล้วเข้าไปทำ ต่อให้สถานการณ์ไหนก็ไม่ดีทั้งนั้น"
"ธุรกิจแฟรนไชส์ตัวเรามีส่วนมาก เพราะกรอบธุรกิจขนาดนี้อาศัยเงินตัวเองเป็นหลัก ไม่เหมือนธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาศัยเงินกู้เป็นหลัก ซึ่งเขาต้องดู อาศัยสภาพแวดล้อมเยอะมาก"
เปิดหลุมพรางแฟรนไชส์ พร้อมทางรอดแฟรนไชซอร์
อ.สิทธิมาศ ได้กล่าวถึง 'หลุมพรางแฟรนไชส์' โดยอิงกับสภาพแวดล้อม ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ว่า อันดับแรกคือหลุมพรางตัวเอง ที่ผู้ประกอบการหรือแฟรนไชซีส่วนใหญ่ตื่นตระหนกกับภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เกิดความกลัวและกังวลกลัวที่ไม่มีงานทำ ต้องรีบคว้าหาธุรกิจอะไรก็ได้
ขณะที่ในภาวะปกตินั้น ต่อให้เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี หลุมพรางของความหลงตัวเองมักเกิดขึ้นตลอดเวลา หมายถึงการมีเงินลงทุนสามารถทำอะไรก็ได้ และมีความอยาก มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป ทำให้ตัดสินใจเร็ว ขาดการพิจารณาให้รอบครอบและถี่ถ้วน
"ถ้าเราหยุดตัวเอง ไม่อยากมาก เราก็พิจารณาอะไรอย่างรอบครอบ ไม่อีโก้มาก เราก็ได้ความรู้ใหม่ เราไม่กลัว เราก็ไม่เสียเงินโดยไม่จำเป็น เพราะสถานการณ์แบบนี้เป็นธรรมชาติเราตกงานบ้างเราก็อยู่ต่อได้ไม่แย่ขนาดนั้น"
อันดับที่ 2 หลุมพรางแฟรนไชซอร์ กรณีที่แฟรนไชซอร์ไม่ดีหรือความต้องการไม่ต้องกัน ต่างคนต่างหลง แฟรนไชซอร์ต้องการขายแฟรนไชส์ ส่วนแฟรนไชซีเลือกธุรกิจที่ไม่เหมาะกับตนเอง ทำให้เกิดการซื้อง่าย ขายง่าย ทำให้เกิดความยุ่งยากตามมากในอนาคตอีกฝ่ายต้องการขยาย อีกฝ่ายต้องการธุรกิจ
และอันดับสุดท้าย หลุมพรางของการลด แลก แจก แถม โดยเฉพาะสถานการณ์เช่นนี้ คาดจะมีแฟรนไชซอร์กระตุ้นการขายแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นทั้งการลดค่าฟี หรือส่วนต่างๆ ลงเพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อธุรกิจ
ขณะที่การปรับตัวของ แฟรนไชซอร์นั้น อาจารย์สิทธิชัย แนะว่า ต้องปรับเงื่อนไข 1.ระบบการลงทุนอุปกรณ์วิธีการทำงาน ให้มีการลงทุนน้อยลง 2. พิจารณาขนาดหรือไซส์การลงทุนเหมาะกับเม็ดเงินลงทุน ทำเลพื้นที่ และ 3. หาเงื่อนไข ทางการเงินมาส่งเสริม เช่น เอสเอ็มอี แบงก์ และ 4.หาตลาดใหม่ๆ หรือรายที่มีศักยภาพเล็งขยายตลาดต่างประเทศ แต่อย่าลืมพิจารณาธุรกิจว่าเหมาะสมหรือไม่กับตลาดที่ไป
"สภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ คนระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น การปรับขนาดการลงทุนลงเป็นสิ่งที่ดี และชูเป็นตัวหลักที่จะขายในช่วงนี้ให้เหมาะกับเงินลงทุน แฟรนไชซอร์ต้องรู้สภาพเศรษฐกิจรอบด้านทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและดูตัวเองว่าจะอยู่ได้อย่างไร"
|
|
|
|
|