Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์12 มิถุนายน 2549
ผ่าแนวคิดธุรกิจกระแสโลกสิ่งแวดล้อม-สุขภาพ...วิ่งฉิว             
 


   
search resources

Packaging




- เปิดแนวคิดการทำธุรกิจที่มองไปในอนาคต ‘เอ็มอีเอสกรุ๊ป’ขึ้นแถวหน้า
- ‘สิ่งแวดล้อม-สุขภาพ’ หัวข้อใหญ่ให้ขบคิด ค้นโอกาส-จับจังหวะมาบอกกล่าว
- ฟันธงประเทศไทย ‘ไซเคิล’ไม่เวิร์ค ‘น้ำมันแพง’ปัจจัยหนุน แจ้งเกิด‘ทางเลือกใหม่’เบียดพลาสติกกับโฟม
- ชี้ช่อง‘บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ด้วยธรรมชาติ’ตลาดต่างประเทศอ้าแขนรับ ตลาดในประเทศกำลังเริ่มสดใส
- ชี้ทิศทางการเปลี่ยนแปลง สบช่องรีไซเคิลไม่ได้ผล

แนวคิดในการสร้างธุรกิจของผู้ประกอบการไม่น้อยต้องการจะทำธุรกิจที่เรียกว่า ธุรกิจอนาคต “เอ็มดีเอสกรุ๊ป” ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ประกอบการที่คิดอย่างนั้น ด้วยการเน้น 4 กลุ่มธุรกิจ คือ 1.ธุรกิจสิ่งแวดล้อม 2.ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ 3.ธุรกิจสุขภาพ และ4.ธุรกิจพลังงาน

อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพรวมและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีแนวคิดในการทำมาตั้งแต่ราคาน้ำมันยังไม่ปรับตัวขึ้น แนวคิดแรกๆ เกิดจากการที่พบว่ามีขยะจำนวนมาก ประเภทโฟมและพลาสติกซึ่งเข้ามามีบทบาทประมาณ 30-40 ปีมาแล้ว ขณะที่ผลที่เกิดขึ้นคือปัญหาการกำจัดขยะเพิ่มขึ้นตลอด แม้ว่าจะมีการพูดถึงปัญหานี้มาก แต่ที่ผ่านมายังไม่มีวัสดุที่นำมาใช้ทดแทนได้

จากข้อมูลปี 2546 จากกรมควบคุมมลพิษพบว่า ขยะชุมชน ที่เกิดจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ จนถึงตำบลทั่วประเทศ ซึ่งรวมกันแล้วมีการผลิตขยะ 40 ตันต่อวัน หรือคิดเป็น 14 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็น เศษผักอาหารผลไม้หรือขยะเปียก คิดเป็น 50% ส่วนที่เหลือเป็นขยะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น พลาสติก โฟม มี 22% กระดาษ 13% และแก้ว 3% เมื่อพิจารณาแล้ว ประเภทแก้วสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้และคุ้มที่จะทำ ในขณะที่พลาสติกและโฟมแม้จะบอกว่ารีไซเคิลได้แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครทำเพราะไม่คุ้ม

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากศูนย์วิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพบว่า ตัวเลขใกล้เคียงกันคือ 13-14 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็น พลาสติก 25% กระดาษเกือบ 10% ซึ่งในนี้มีแค่ 34% ที่รีไซเคิลได้ เมื่อดูในรายละเอียดจะเห็นว่ากล่องยูเอชทีเป็นกระดาษเคลือบพลาสติกซึ่งการกำจัดไม่ใช่เรื่องทำได้สะดวก เพราะระบบแยกขยะของไทยไม่ได้ผล

ยกตัวอย่าง เช่น โครงการตาวิเศษซึ่งมีมาแล้วประมาณ 20 ปี รณรงค์แค่เรื่องให้คนทิ้งขยะให้ลงถัง หรือแม้แต่กทม.ที่พยายามแยกถังขยะออกเป็นประเภทต่างๆ ก็ไม่สำเร็จ เมื่อระบบการแยกขยะตั้งแต่ครัวเรือนซึ่งเป็นต้นทางไม่ได้ผล การรีไซเคิลก็ไม่มีประสิทธิภาพ

สำหรับแนวทางของธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากหลายประเทศออกกฎหมายกำจัดขยะ เช่น อียู ญี่ปุ่น เกาหลี ทำให้เห็นโอกาสของธุรกิจว่าน่าจะเป็นไปได้ จุดใหญ่ที่ทำเรื่องบรรจุภัณฑ์มาจากพลาสติกและโฟมที่ทิ้งแล้วเกิดผลกระทบเยอะมาก ทำให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ที่รุนแรง และยังทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง รวมทั้ง ผลเสียต่างๆ ต่อสุขภาพซึ่งค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพของคนสูงมาก เพราะฉะนั้น ต้องหันมาใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ

ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากธุรกิจนี้มีมากมาย เช่น 1.ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม 2.ลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลหรือแก้ปัญหาสุขภาพ 3.พลาสติกและโฟมเป็นส่วนหนึ่งของปิโตรเลี่ยมเมื่อน้ำมันราคาสูงขึ้นย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย 4.เกษตรกรจะได้มูลค่าเพิ่มจากการปลูกพืชพันธุ์ที่ปลูก 5.ลดงบประมาณต่างๆ ของภาครัฐที่ต้องนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

ทั้งนี้ ความพิเศษของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของเอ็มดีเอสกรุ๊ป อยู่ที่วัตถุดิบ ด้วยการนำพืชล้มลุกต่างๆ มาใช้ เช่น ผักตบชวา ชานอ้อย ข้าวโพด ต้นข้าว ไมยราบยักษ์ และเทคโนโลยีในการผลิต ทำให้บรรจุภัณฑ์นี้สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติภายใน 45 วัน เมื่อถูกฝังลงในดิน สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาเป็นสินค้าใหม่ออกมา เป็นรูปแบบต่างๆ เพื่อบรรจุอาหาร เช่น จาน ชาม ถ้วย กล่อง และถาด

ปัจจุบัน โรงงานผลิตที่จังหวัดชัยนาถ ใช้งบลงทุนทั้งหมดประมาณ 400 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการสำหรับเฟสแรกได้ประมาณปลายปีนี้ และจะเสร็จสมบูรณ์ 3 เฟสใน 3 ปีข้างหน้า โดยจุดสำคัญอีกส่วนคือการได้พันธมิตรด้านเทคโนโลยีจากจีน

โชว์กึ๋นเถ้าแก่ “Think Global , Act Local”

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีการพูดถึงกันมานานแล้ว แต่ในส่วนของรูปธรรมสำหรับประเทศไทย เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นานมานี้ โดยเอ็มดีเอสกรุ๊ป เป็นเสือปืนไว สามารถหาเทคโนโลยีและผลิตออกสู่ตลาดได้ก่อนใครๆ

วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ และสุรศักดิ์ เหลืองอร่ามศรี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอม.ดี.เอส.ซินเนอร์ยี จำกัด สองหุ้นส่วน กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์”อย่างมั่นใจถึงทิศทางในธุรกิจนี้ และผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในมือว่ามีจุดเด่นชัดเจน เป็นผลิตภัณฑ์จากชีวภาพที่มีคุณสมบัติที่ดีสามารถใช้เป็นจุดขายและแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างสบายๆ

สำหรับการนำสินค้าออกสู่ตลาด ก่อนการผลิตจริงมีการสำรวจความต้องการพบว่าตลาดมีความต้องการสูงมาก เช่น โรงงานอาหารแช่แข็งในย่านพระราม 2 ซึ่งนอกจากจะต้องการมากแล้ว ในจังหวะที่ราคาน้ำมันเพิ่ม ทำให้ราคาพลาสติกสูงกว่าราคาของผลิตภัณฑ์จากชีวภาพ หรือราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหวขึ้น-ลงมากจนทำให้คำนวณต้นทุนยาก เป็นตัวเร่งให้ตลาดหันมาต้องการเร็วขึ้น เพราะนอกจากแนวโน้มของราคาจะลดลงได้เรื่อยๆ ยังสามารถคำนวณต้นทุนได้ง่ายเพราะราคาไม่อ่อนไหวเปลี่ยนไปมา

ทั้งนี้ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์จากชีวภาพ ยังมีอุปสรรคจากความวิตกกังวลของลูกค้าปลายทางเกี่ยวกับการใช้ และเกรงว่าจะเกิดปัญหา เช่น มีข้อสงสัยลังเลในแง่ของการใช้งานว่าจะทนความร้อน หรือจะแช่แข็งได้จริงหรือไม่ ในขณะที่ของเดิมใช้ได้เหมาะสมตามต้องการอยู่แล้ว ในช่วงที่ราคาสูสีใกล้เคียงกันลูกค้าจึงไม่คิดจะเสี่ยงเพราะความไม่แน่ใจ ต่อเมื่อราคาต่ำกว่าจึงจะสามารถจูงใจได้

แต่สำหรับบางตลาดมีความจำเป็นเป็นตัวบังคับ เช่น การส่งสินค้าเข้าไปในประเทศญี่ปุ่น เมื่อมีการใช้โฟมส่งเข้าไป ทำให้เกิดความยุ่งยากเพราะต้องเปลี่ยนการบรรจุใหม่ ในขณะที่ต้องเสียภาษีค่ากำจัดขยะที่เป็นโฟมอีกด้วย เพราะฉะนั้น ตลาดญี่ปุ่นจึงยินดีที่จะซื้อในราคาสูงกว่าถึง 2 เท่า เพราะทั้งการถูกกฎหมายบังคับและการเรียกร้องของผู้บริโภค

นอกจากนี้ ยังมีการกระตุ้นให้เกิดความต้องการมากขึ้น เมื่อสหภาพยุโรปออกประกาศใหม่มากำหนดเช่น มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ที่จะนำเข้าไป , ต้องลดขนาดหีบห่อให้ใช้เท่าที่จำเป็น , ต้องนำกลับไปใช้ใหม่ได้ และลูกค้าที่อยู่ในประเทศนั้นๆ ต้องแจ้งความประสงค์ว่าจะนำกลับไปใช้ใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับผู้ค้า อย่างไรก็ตาม มีข้อได้เปรียบสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ว่าจะได้รับการยอมรับทันที

“คนต่างประเทศอยากจะได้แบบนี้อยู่แล้ว และเมื่อเห็นแพ๊กเกจจิ้งแบบนี้ยิ่งอยากจะได้มากขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถทำได้ตามรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งผู้ส่งออกของไทยหันมาสนใจมากขึ้นด้วย เราจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำออกมาตอบสนองความต้องการของตลาด วิธีของเราจะผลิตเมื่อมีความต้องการชัดเจน ซึ่งตอนนี้เรามีลูกค้ารออยู่แล้ว โดยเฉพาะตลาดส่งออก”

“ก่อนหน้านี้เราขายคอนเซ็ปต์ว่าเราทำอะไร แต่บ้านเรากับต่างประเทศต่างกัน ตรงที่ต่างประเทศจะมองเรื่องสิ่งแวดล้อมก่อน ขณะที่บ้านเราให้สิ่งแวดล้อมอยู่ท้ายสุด เพราะมองเรื่องต้นทุนก่อน แล้วจึงตามด้วยสุขภาพและความปลอดภัย แล้วค่อยมามองเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น เมื่อต้นทุนใกล้เคียงกัน ผู้ประกอบการจะไม่สนใจเปลี่ยน เพราะการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นเรื่องใหญ่ ต้องออกแบบสายการผลิตใหม่ทั้งหมด มีเรื่องต้นทุน แหล่งซัพพลายเออร์” สุรศักดิ์ อธิบายสภาพตลาด

อย่างไรก็ตาม ข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับพลาสติกหรือโฟม มีมาก เช่นที่สำคัญ 1.สามารถนำเข้าสหภาพยุโรปโดยไม่ต้องเสียภาษีซึ่งมีอัตราแตกต่างกันไปแต่ละประเทศ เช่น เยอรมนีเรียกเก็บ 2-6 เท่าของราคาบรรจุภัณฑ์ตามที่เขาตีราคาเอาไว้ไม่ใช่ราคาของเรา 2.เป็นของใหม่ เมื่อลูกค้ามากขึ้นต้นทุนเราต่ำลงแน่ 3.การนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น ใช้ไมโครเวฟได้ ทนความร้อน 4.ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ 4.ในกระบวนการผลิตประหยัดพลังงานกว่าเพราะใช้ไอน้ำไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่มีของเสียในระบบการผลิต และ5.ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและองค์กรที่นำไปใช้ รวมทั้ง สามารถขึ้นแบบได้ตามต้องการเหมือนพลาสติกและโฟม

นำร่องบรรจุภัณฑ์ชีวภาพเปิดแนวรุกโมเดิร์นเทรด

สำหรับในช่วงเริ่มต้นนี้ บริษัทฯ มองตลาดหลักเป็น 4 ส่วน 1.โรงงานอาหารแช่แข็ง 2.ผู้ผลิตอาหารประเภทพร้อมทาน (ready to eat) ซึ่งรวมถึงบริษัทต่างๆ เช่น เอสแอนด์พี, สุรพลฟูดส์, พรายทะเล 3.ผู้ผลิตอาหารประเภทสำเร็จรูป เช่น คัพนูดเดิล คัพโจ๊ก และ4.กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ศูนย์อาหาร ซึ่งมีการสำรวจตลาดมาแล้วพบว่ามีศักยภาพสูงมาก

สำหรับเป้าหมายหลักต้องการทำตลาดส่งออก 80% ส่วนที่เหลือ 20%จึงเป็นตลาดในประเทศ เพราะตลาดต่างประเทศมีความพร้อมที่จะรองรับมากกว่า

ดังนั้น จุดเริ่มในการทำตลาดอยู่ที่กลุ่มค้าปลีกก่อน เนื่องจากคิดว่าในส่วนของผู้ผลิตต้องใช้เวลาในการทำงานมากในรายละเอียดเพื่อให้เหมาะกับไลน์การผลิตของแต่ละราย ในขณะที่กลุ่มค้าปลีกทำง่ายกว่า โดยการเริ่มเจาะประเภทที่เป็นธุรกิจระดับนานาชาติ อย่าง คาร์ฟูร์ เทสโก้ และท๊อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต

“การที่เรามุ่งตลาดต่างประเทศ แต่เริ่มที่รีเทลซึ่งเป็นอินเตอร์ฯ เพราะเมื่อการจัดหาสินค้าของกลุ่มรีเทลพวกนี้ซึ่งมีธุรกิจระดับโกลบอลจะทำให้สินค้าของเราใช้ช่องทางนี้ออกไปได้ง่าย”

“สำหรับการเข้าไปในรีเทลเข้าไปที่ชั้นวางสินค้าจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งทางรีเทลก็ต้องการอยู่แล้วเพราะสินค้าแบบนี้หายาก และเขาต้องการสร้างแคทิกอรี่ใหม่ ในขณะที่สินค้าของเรามีหลากหลายให้เลือกมาก ตัวที่แตกต่างจากของคนอื่นที่มีอยู่แล้วอย่างชัดเจนคือชาม ซึ่งไม่มีใครทำ”

แต่เลือกเป็นสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ โดยมีแบรนด์ของตัวเองติดอยู่ด้วย เพราะเป็นเรื่องยากสำหรับแบรนด์ใหม่ที่ไม่มีใครรู้จัก เช่น ถ้าใช้แบรนด์เองต้องต่อรองจ่ายค่าลิสติ้งฟี และอื่นๆ อีก ในที่สุดก็ไม่สามารถทำให้ลูกค้าจดจำได้มากพอ ดังนั้น การใช้เป็นเฮ้าส์แบรนด์ก็เพื่อต้องการสร้างแคทิกอรี่นี้ให้เกิดในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยขณะเดียวกันมีโลโก้ของเจ้าของสินค้าอยู่ด้วย เมื่อผู้บริโภครับรู้ค่อยแยกเป็นแบรนด์ออกมา เพราะการสร้างแคทิกอรี่ใหม่ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคไม่รู้มาก่อนว่ามีสินค้าแบบนี้ขายอยู่ เป็นเรื่องที่ยากกว่าการสร้างแบรนด์ แต่เมื่อเกิดแคทิกอรี่แล้วการสร้างแบรนด์จะใช้เงินน้อยกว่า

“เราไปสร้างอีกทางเลือกหนึ่งให้ผู้บริโภค เป็นกลุ่มบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางห้างก็หวังว่าเมื่อเราเป็นผู้นำในกลุ่มนี้แล้ว ก็จะมีผู้ผลิตรายอื่นๆ ตามมา ทำให้เกิดแคทิกอรี่ใหม่ในห้างเป็นหนทางให้ผู้บริโภคจับจ่ายมากขึ้น สร้างรายได้ใหม่เพิ่มให้รีเทลเลอร์ เช่น อาจจะมีถุงพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย ไม่ใช่แค่ภาชนะบรรจุอาหารอย่างที่เราทำเท่านั้น”

สำหรับตลาดในประเทศในช่วง 4-5 เดือนที่เริ่มต้นมา ได้รับผลตอบรับดีมากเกินกว่าที่คาดไว้ อาจจะเป็นเพราะการรู้จักสินค้านี้มากขึ้น และราคาจูงใจเพราะถูกกว่าภาชนะใส่อาหารพลาสติกประมาณ 10% ส่วนภาชนะโฟมมีเพียงประเภทกล่องที่ได้รับความนิยมมากแต่ราคาของโฟมยังต่ำ 1 เท่าตัว

“ถ้าภาครัฐเข้ามารณรงค์เรื่องความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อทุกคนก็จะช่วยให้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมก้าวไปได้ไกลกว่านี้อีกมาก” ผู้บริหาร เอ็มดีเอสกรุ๊ป กล่าวทิ้งท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us