Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ความแข็งกร้าว ที่เปลี่ยนไป             
 


   
search resources

เครือเบทาโกร
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
Commercial and business




ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ทายาทรุ่นที่สามของตระกูลผู้สืบสานธุรกิจอาณาจักรในยุคของเขา กว้างใหญ่ชนิดคนรุ่นก่อนคาดไม่ถึง

ด้วยแนวคิดที่มองไปข้างหน้า ด้วยสายตาที่มักคาดการณ์แบบกล้าได้กล้าเสีย ด้วยบุคลิกที่มักจะตรงไปตรงมา จึงทำให้คนทั่งไปในแวดวงธุรกิจรวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในวงราชการมองดูว่า หนุ่มใหญ่วัย 50 ปี ผู้นี้ เต็มเปี่ยมไปด้วยความอหังการ ในเชิงธุรกิจ

แต่ว่าไปแล้ว เพราะความเป็น " ประชัย" อาณาจักรของเขาจึงมีวันนี้

และถ้ากล่าวถึงประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ก็มักจะควบคู่ไปกับชื่อ" ทีพีไอ" อาณาจักรแสนล้าน ที่มีเครือข่ายธุรกิจเกือบ 30 แห่ง มูลค่าการค้าปีละนับหมื่นล้านบาท

ความกล้าได้กล้าเสีย และแนวคิดใหม่ ๆ ของประชัย โดดเด่นเมื่อเริ่มจับงานของครอบครัว หลังจกาเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากประเทศนิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา

ความสำเร็จที่ขัดเจนเมื่อประชัยสามารถนำยุทธวิธีใหม่ ๆ ความตัดสินใจที่เร็ว กล้าได้กล้าเสีย ตามนิสัยตน มาปรับใช้ จนธุรกิจค้าและส่งออกข้าวในนามบริษัท ธนาพรชัย กลับมาผงาดในวงการอีกครั้ง จนปัจจุบัน

ธุรกิจครอบครัว เลี่ยวไพรัตน์ ในสองยุคแรกนั้น นอกจากการค้าข้าวแล้ว ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารสัตว์ ในนาม บริษัท เบทาโกร และบริษัท เซนทาโก ที่ร่วมกับครอบครัวแต้ไพสิฐพงษ์ และครอบครัวเหล่าวรวิทย์

กิจการด้านอาหารมีแนวโน้มเติบโต และสดใสมากในยุคนั้น จนกระทั่งปี 2521 ผู้ใหญ่ของครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ ได้ร้องขอให้ลูกหลานเลิกธุรกิจที่เกี่ยวพนกับการฆ่าสัตว์

ตั้งแต่นั้นมา ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ จึงถอนตัว จนปัจจุบันจึงไม่มีธุรกิจที่เกี่ยวพันกับด้านนั้นอยูในเครือข่ายธุรกิจแม้แต่แห่งเดียว

เมื่อเลิกกิจการอาหารสัตว์แล้ว ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ จึงเริ่มมองธุรกิจใหม่ ๆ ให้ครอบครัว ประกอบกับ ขณะนั้น พร. ประมวล ผู้น้องชาย ได้เรียนจบจากสถาบันเอ็มไอที จากสหรัฐอเมิรกา ด้านวิศวเคมี ทำให้แนวคิดที่จะรุกเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นรูปร่างชัดเจนขึ้น

แต่การสร้างโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกในขณะนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ทั้งยังต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่สำคัญยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และไม่มีใครคิดว่าประเทศไทยจะพร้อม แต่สำหรับประชัยแล้ว เขากลับมองไกล และตัดสินใจอย่างเด็ดเดียว ตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด ( มหาชน) หรือทีพีไอ ในเดือนสิงหาคม ปี 2521 นั่นเอง

โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก แอลพีดี ที่ระยอง โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ สร้างเสร็จในเดือนกันยายน ปี 2525 ซึ่งนับเป็นโรงงานที่สร้างด้วยความอาจหาญยิ่ง ด้วยขณะนั้น ผู้คนมากมายเชื่อว่างโครงการนี้ จะไปไม่ตลอดรอดฝั่ง

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงข้าม ธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ กลายเป็นการรุกครั้งใหญ่ของสังคมอุตสาหกรรมไทย และเป็นร่มเงาให้เครือข่ายขยายตัวครอบคลุมไปยัง ธุรกิจต่าง ๆ

ประชัย ยังกล้าได้กล้าเสีย เช่นเดิม แม้ธุกริจของตระกูลจะสร้างฐานที่มั่นคง ตามยุคสมัยแล้ว

ปี 2532 ประชัย รุกเข้าไปสู่อุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์ในนาม ทีพีไอ โพลีน จำกัด( มหาชน) ด้วยเป้าหมายสำคัญ คือผงาดเหนืออันดับหนึ่งของวงการ คือ ปูนซิเมนต์ไทย หรือ ปูนใหญ่ ผู้ซึงมีเครือข่ายธุรกิจไม่ด้อยกว่ากัน

การรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์อของประชัย นั้น ผ(ู้คนมากมายมองว่า เป็นการขับเคี่ยวเชิงธุรกิจที่ไม่อาจยอมกันได้ หลังจากที่ปูนใหญ่ได้รุกเข้าสู่ปิโตรเคมี ชนิดที่เรียกว่า ตั้งใจโค่นทีพีไอ โดยเฉพาะ

ประชัย เคนยเผยแนวคิดอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยนั้นก่อนที่จะไปถึงยุคของสังคม ข่าวสาร ที่มีนักธุกริจรุ่นใหม่มากมายฝันกันไว้นั้น จะต้องผ่านยุคของสังคมอุตสาหกรรม ไปเสียกอ่น ซึ่งใครก็ตามที่จับอุตสาหกรรมหลักของประเทศไว้ได้ ก็จะสามารถผ่านไปสู่ยุคของสังคมข่าวสารได้ ถ้าเกิดขึ้นจริง

ดังนั้น ประชัย จึงรุกทุกด้านที่มองว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ด้วยเชื่อมั่นแนวคิดที่เป็นแกนหลักนั้น

ความอหังการที่ชัดเจนครั้งล่าสุด ของประชัย ก็คือการรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร ด้วยเงินลงทุน 40,000 ล้านบาท รวมถึง โครงการสร้างโรงไฟฟ้า โครงการผลิตคาโปรแลกตัม ที่จะต้องใช้เงินลงทุนนับหมื่นล้านบาท ซึ่งครั้งนี้ นับเป็นความน่ากลัวสำหรับคู่แข่งในวงการ และที่สำคัญดูเหมือนว่า ความคิดที่ว่าโครงการเหล่านี้จะไปไม่รอด ในสายตาของผู้คนทั่วไป ไม่ได้ปรากฏขึ้นเช่นเมื่อราว 15 ปีก่อน

ในเชิงธุรกิจ ดูเป้นเรื่องปกติ ซึ่งประชัย มีตรงนี้ อย่างเต็มร้อย และดูจะพิเศษกว่ารายนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จรายอื่น ๆ ตรงที่ประชัย ไม่ห้ำหั่นเพียงแค่คู่แข่งในเชิงธุรกิจเพียงเท่านั้น

บุคลิกของประชัย ที่มักวิพากษ์นโยบายของรัฐ ในเกือบทุกด้าน ที่ส่งผลกระทบในทางลบ เกี่ยวข้อธุรกิจตน กลายเป็นภาพปกติ

บุคลิกนี้ อาจเป็นภาพลบสำหรับเขา

เป็นภาพลบที่ว่า ครั้งใดที่ประชัย พูด คนภาครัฐ อาจไม่ให้ความสำคัญเลยแม้แต่ครั้งเดียวก็เป็นได้ เนื่องจากมองว่า ประชัย ต้องค้านทุกครั้ง ขณะที่ความจริง หลายครั้งประชัยค้านด้วยเหตุผล ซึ่งถ้านำกลับมาวิเคราะห์จะเห็นว่า แนวคิดก้าวหน้าที่ส่งผลดีโดยรวม ซ้อนอยุ่ในคำกล่าววิพากษ์เหล่านั้น

ที่ผ่านมาคนภาครัฐมองประชัย ด้วยภาพลบเช่นนั้น ยังไม่นับว่าผิด และมีเหตุผลที่ฟังได้ ด้วยการวิพากษ์แต่ละครั้ง จะเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา และทุกครั้งจะต้องแถมด้วยการประกาศเลิกล้มหรือชะลอโครงการลงทุนของบริษัทออกไปประหนึ่งคำขู่

แต่นับจากนี้ไป คนภาครัฐต้องปรับมุมมองสำหรับประชัยเสียใหม่ ด้วยการวิพากษ์นโยบายรัฐครั้งหลัง ๆ ประชัยมักเน้นเนื้อหา

เช่นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประชัย ได้เสนอแนะแนวทางให้มีการปรับภาษีนำเข้าของสินค้า หรือวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ว่า ถ้าจะมีการลดควรจะลดเป็น 2 ระดับ คือลดภาษีลงมาจะเป็นเท่าไร ก็แล้วแต่จะกำหนด แต่จะต้องวมีโควตา ว่าแต่ละปีจะนำเข้าได้ไม่เกินเท่าไร ตามพิกัดภาษีที่ลดลง แต่ถ้านำเข้ามาเกินในส่วนที่เกินนั้นจะต้องคิดอีกอัตราหนึ่ง ซึ่งจะสูงกว่าเท่าไรนั้น เป้นเรื่องทีรัฐบาลจะต้องพิจารณา ถ้าทำลักษณะเช่นนี้ผู้ประกอบการในประเทศจะได้รับผลการะทบกระเทือนไม่มาก ซึ่งรูปแบบเช่นนี้ คล้ายกับที่หลายประเทศดำเนินการอยู่ ประการสำคัญถ้ามีการลดควรที่จะลดในทุกประเภทสินค้า ไม่ใช่ปกป้องสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง

และเมื่อถามถึง ทีพีไอ ว่าจะกระทบกระเทือนมากหรือไม่นั้น คำตอบแทนที่จะได้รับผลกระทบเช่นอดีต กลับเป็นว่า " เมื่อทีพีไอ ทำการผลิตครบวงจรแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐอีกต่อไป เพราะทีพีไอ สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่น ไม่ว่าจะประเทศใดได้หมด ทั้งต้นทุนการผลิตตลาด หรือแม้แต่ความมั่นคง ทางฐานะการเงิน"

นอกจากนี้ ประชัยยังได้มองแนวโน้มชี้นำธุรกิจ ด้วยว่า อนาคต อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในประเทศไทย จะต้องปรับตัวอย่างมาก เพื่อรับสถานการณ์ ถ้าไม่ปรับตัวโอกาสที่จะอยู่รอดในอุตสาหกรรมนี้ เป็นไปได้ยากมาก ทางออกที่น่าจะเป็นก็คือการดำเนินการในลักษณะของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ครบวงจร เช่นที่บริษัทกำลังดำเนินการและวางโครงการอยู่ รายเล็กหรือกลาง ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ก็อาจจะรวมกลุ่มกันเพื่อหาเครือข่ายที่จะป้อนหรือสนับสนุนให้เกิดความเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร

จนทุกวันนี้ ถ้ามองในเชิงธุรกิจ ประชัย ยังคงมุ่นมั่นรุกก้าวไปข้างหน้า ด้วยบุคลิกที่ไม่แปรเปลี่ยน ทุกครั้งที่อาณาจักรทีพีไอ ขยับ ย่อมตกเป็นเป้าสายตาของผู้คน และน่าเกรงขามของคู่แข่ง

แต่ถ้าจะมองในด้านนักต่อสู้ เพื่อธุรกิจตนและวงการแล้ว ดูเหมือนว่า บุคลิกได้เปลี่ยนไปแม้จะไม่ จากดำเป็นขาว แต่ก็สังเกตได้ชัด ซึ่งไม่รู้ว่า เพราะทีพีไอ เริ่มเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรืออาณาจักรพีทีไอ สู่ยุคแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us