Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538
ลิขสิทธิ์ ดนตรี หมดยุค นักแต่งเพลง ไส้แห้ง             
 


   
search resources

ลิขสิทธิ์ดนตรี
วิรัช อยู่ถาวร
Law




ในยุคที่ลิขสิทธิ์ทางด้านปัญญาแบ่งบานเช่น ปัจจุบัน การเรียกร้องสิทธิ์ที่พึงมีพึงได้ ของผู้ผลิตผลงานทุกรูปแบบออกมาจึงมีระลอก แล้วระลอกเล่า ลิขสิทธ์ ทางด้านงานเพลง ก็เป็นอีกหนึ่งในเส้นทางการเรียกร้อง ซึ่งในอดีตนั้นจะเห้นได้ชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างผู้ได้และผู้เสียผลประโยชน์ อย่างชัดเจน เช่นที่เรารู้กันมาว่า ผลงานแต่งเพลงของนักประพันธ์ในยุคก่อน 20 ปีขึ้นไป ท่จะมีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์เกิดขึ้นนี้ จะได้รับค่าแต่งเพลงต่ำมาก โดยอาจจะได้รับเพียง 500-1,000 บาท ต่อเพลงเท่านั้น และเมื่อผู้ผลิตหรือค่ายเทปต่าง ๆ เอาผลงานเพลงไปผลิตออกมาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้กับผู้แต่ง รวมถึงว่าจะนำไปผลิตเพิ่มอีกสักกี่ครั้งก็ตาม นักประพันธ์ก้จะไม่ได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

แต่ปัจจุบันสถานการณ์หาเป็นเช่นนั้นอีกต่อไป เพราะนอกจากจะมี พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังเกิดมีหน่วยงานเฉพาะที่จะมาดูแลผลประโยชน์ให้กับผู้ประพันธ์งานเพลงอย่างเป็นกิจจะลักษณะขึ้นด้วย

" บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี จำกัด" คือหน่วยงานดังว่าที่ จัดตั้งมาได้ประมาณ 1 ปี โดยเกิดจากการรวมตัวของนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในวงการกลุ่มหนึ่ง ที่มองเห็นแล้วว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ์ ให้กับผู้ประพันธ์เพลงทั้งอดีตและปัจจุบัน อย่างเป็นรูปธรรมเสียที หลังจากที่มีแนวความคิดที่จะทำเรื่องนี้จากสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย มากว่า 10 ปีแล้ว แต่ไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด ดังนั้นักแต่งเพลงชื่อดัง อย่างเช่น ปราจีน ทรงเผ่า, แมนรัตน์ ศรีกรานนท์, วราห์ วรเวช, จงรัก จันทร์คณา, จิรพรรณ อังศวานนท์, ธนิศร์ ศรีกลิ่นดี, วิรัช อยู่ถาวร, ก็ได้ร่วมมือกันผลักดันให้บริษัทแห่งนี้เกิดข้น โดยการสนับสนุนจากกรทมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และพรบ ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ซึ่งเพิ่งมีกำหนดใช้เมือปี 2537 เมื่อผ่านมา ซึ่งได้มีการปรับปรุงใหม่ให้มีความละเอียดและครอบคลุมงานประพันธ์ให้กงว้างขวางยิ่งขึ้น ข้อสำคัญได้มีกาเรพิ่มบทลงโทษให้สูงขึ้นด้วย

วิรัช อยู่ถาวร ผู้จัดการทั่วไปบริษัทลิขสิทธิ์ดนตรี หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกล่าวว่า ผลจากการเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์นักประพันธ์โดยระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000-200,000บาท และหากการละเมิดนั้นเป็นไปเพื่อการค้าแล้ว โทษก็จะสูงขึ้นอีก โดยระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 4 ปี หรือปรบตั้งแต่ 100,000-8000,000 บาท และผลจาการที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้คัดเลือกบริษัทลิขสิทธิ์ดนตรีให้องค์กรหนึ่งเดียวที่จะคอยปกป้องลิขสิทธิ์ของเพลงทั้งใหม่ และเก่าให้กับนักประพันธ์ทั้งหลาย ทำให้ทางกลุ่มที่มีความมั่นใจว่าในครั้งนี้จะเกิดองค์กรเพื่อนักแต่งเพลงได้อย่างจริงจังเสียที

โดยบริษัทลิขสิทธิ์สนตรีนี้ จะมีหน้าที่คอยจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์แทนนักประพันธ์ที่มาเข้าชื่อเป็นสมาชิกของบริษัทกับสื่อรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้นำเอาบทประพันธ์เพลงของสมาชิกไปใช้งานกับสื่อต่าง ๆ เหล่านั้น อาทิเช่น วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี สถานบริการเริงรมย์ ต่าง ๆ โดยขั้นต้นซึ่งเป็นการริเริ่มจัดเป็นครั้งแรกในไทยทางลิขสิทธิ์ดนตรีจึงมุ่งเน้นไปจัดเก็บที่สถานีวิทยุเป็นสื่อแรก เนื่องจากมีการนำเพลงของนักประพันธ์ทั้งหลายไปเปิดอย่างเป็นล่ำเป็นสันมากที่สุด

ในขั้นต้นของการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นการเอื้อให้ผู้จ่ายยินดีที่จะจ่ายมากที่สุด จึงได้มีการกำหนดอัตราการจัดเก็บที่ค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐานทั่วโลก ที่มีการจัดเก็บกันโดยีอัตราส่วนดังนี้คือ

หากเปิดเพลงไม่เกิน 25% ของเวลาออกอากาศทั้งหมด จะเก็บในอัตรา 0.5% หากใช้เพลงไม่เกิน 50% ของเวลาออกอากาศทั้งหมด จะเก็บในอัตรา 0.8 % แต่ไม่เกิน75% ของเวลาออกอากาศ จะเก็บ 1.0% และหากเกิน 75% ของเวลาออกอากาศ ก็จะเก็บในอัตรา 1.2% ทั้งนี้เป็นการจัดเก็บเป็น % ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย โดยคิดเป็นอัตราเหมาจัดเก็บเป็นรายปีหรือรายเดือนแล้วแต่ จะมีการตกลงกัน ซึ่งทางบริษัทลิขสิทธิ์ดนตรีจะเรียกเก็บสถานีวิทยุแต่ละแห่ง และทางสถานีวิทยุก็จะไปเรียกเก็บจากผู้จัดการอีกทีหนึ่ง

ซึ่งก่อนมาถึงขั้นตอนการจัดเก็บนี้ บรรดาผู้จัดการรายการทุกคนจะต้องบันทึกรายชื่อเพลงที่เปิดในรายการของทุกวันเอาไว้ เพื่อการคำนวณตอนปลายเดือนหรือปลายปี ซึ่งในขั้นต้นนี้ทางลิขสิทธิ์ดนตรีจะไม่ค่อยเข้มงวดกับการจดรายชื่อเพลงของนักจัดรายการมากนัก เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องให้ผู้จัดการมีความคุ้นเคยกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์นี้

จนถึงขณะนี้ แม้จะมีการจัดตั้งบริษัทมาได้กว่าปีแล้ว แต่เนื่องด้วยเวลาเตรียมการทำให้ทางลิขสิทธิ์ดนตรีเพิ่งติดต่อผ่านไปยังนายสถานีวิทยุประมาณ 5-6 แห่งแล้ว สถานีหลักใหญ่ที่ติดต่อได้และมีความร่วมมือเต็มที่ขณะนี้คือ วิทยุ อสมท ขององค์การสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย โดยจะได้มีการจัดประชุมเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในหมู่สถานีเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงต่อไป

" เราเคยจัดประชุมมาแล้ว ครั้งหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ครั้งนั้นมีเข้าร่วมน้อยมาก เนื่องจากยังไม่เป็นที่ทรายอย่างทั่วถึงกัน ดังนั้นในช่วงแรกของการเปิดตัวของบริษัทเรา คงต้องมุ่งสร้างความเข้าใจในหมู่ผู้อยู่ในแวดวงเสียก่อน หลักการของการจัดค่าลิขสิทธิ์นี้มีออย่างไร"

ในส่วนการเตรียมการของบริษัทนั้น ในขณะนี้มีนักแต่งเพลงมาเข้าชื่อขอเป้นสมาชิกเพื่อให้บริษัทปกป้องผลประโยชน์ให้แล้ว 50 คน และมีเพลงอยู่ในมือทั้งหมด 1,000 เพลง ที่บริษัททต้องปกป้องลิขสิทธิ์ให้ซึ่งถือว่า ยังน้อยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ขณะนี้ ทางกรรมการของบริษัททุกคนต่างก็มีหน้าที่จะไปชักชวนให้นักประพันธ์เพลงทั้งเก่าและใหม่ให้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิก โดยเฉพาะนัแกต่งเพลงรุ่นใหม่ ซึ่งยังมีข้อจำกัดที่ยังมีสัญญาผูกมัดอยู่กับค่ายเพลงทั้งหลายนั้น ทางบริษัทก็ได้พิจารณาหาทางออก ให้มีการแบ่งผลปรพโยชน์ที่จัดเก็บได้ ให้กับค่ายเทปและนักแต่งเพลง คนละครึ่งไป ซึ่งก็ช่วยกันแก้ปัญหา ทำให้นักแต่งเพลงรุ่นใหม่เริ่มจะให้ความสนใจเข้ารวมกลุ่มเป็นสมาชิกของบริษัทมากขึ้น

ส่วนการดำเนินการของบริษัทนั้น แม้ว่าโดยรวมลิขสิทธิ์ดนตรีอาจจะเป็นบริษัทเล็กที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 500,000 บาท และมีพนักงานในขั้นต้นที่จะดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพียง 7-8 คน เท่านั้น แต่วิรัช ก็ยินยันว่าศักยภาพของลิขสิทธิ์ดนตรีไม่ได้เล็กไปตามบริษัทแม่แต่อย่างใด เพราะคาดว่า ด้วยพนักงานเพียงเท่านี้ก็เพียงพอที่จะเก็บค่าลิขสิทธิ์ของสถานีวิทยุได้ทั่วทั้งกรุงเทพฯ ยกเว้นแต่ว่า เมื่อต้องขยายบทออกไปจัดเก็บตารมสถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี หรือสถานีบริการต่าง ๆ รวมถึงสถานีวิทยุ และโทรทัศน์ ต่างจังหวัดอีกมาก

โดยในส่วนของการจัดเก็บค่าสถานีโทรทัศน์นั้น อัตราค่าตอบแทนเป็นอัตราเดียวกับสสถานีวิทยุกระจายเสียงขั้นต่ำสุดคือ 0.5ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ส่วนเคเบิ้ลทีวี นั้น จะคิดอัตราค่าตอบแทน 1% ของค่าสมาชิก อย่างเช่นกร๊ไอบีซี เคเบิ้ลทีวี นั้น จะคิดค่าตอบแทน 8 บาท/สมาชิก/เดือน

" จะพบว่าเรายังมีงานอีกมากที่จะต้องทำ ในส่วนของต่างจังหวัดนั้น เราคงจะอาศัยการแต่งตั้งตัวแทนของเราไปตามจังหวัดใหญ่ที่มีสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก ซึ่งตัวแทนของแต่ละจังหวัดเรา ก็คงไม่ต้องใช้คนมากแต่ประการใด เพียงแค่ 2-3 คนต่อแห่งก็น่าจะเพียงพอแล้ว" วิรัชเปิดเผยด้วยว่า ผลประโยชน์ที่จะจัดเก็บได้นั้น จะหักจ่ายให้กับผู้แต่งรวมถึงค่ายเทปแล้วแต่กรณีในอัตราประมาณ 80 % ส่วนอีก 10% จะมีการกันไว้เพื่อตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการสำหรับนักประพันธ์เพียงสูงอายุ ที่เหลือนั้นจะเหลือไว้เป็นค่าดำเนินการของบริษัทลิขสิทธิ์ดนตรี

งานอีกประการหนึ่งที่บริษัทลิขสิทธิ์ดนตรีจะต้องทำเสริมไปด้วยคือ การเป็นตัวแทนจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ดนตรีของเพลงต่างชาติที่ขึ้นตรงต่อองค์กร CISAC ( international Confederation of Societies of Authors & Composers) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ดูแลการจัดเก็บลิขสิทธิ์ของนักประพันธ์ทั่วโลกถึง 126 ประเทศ ซึ่งไทยฟถือว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์กรนี้

การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงต่างชาติให้องค์กรนี้ จะถือตามอัตราการจัดเก็บของไทยเป็นสำคัญ ซึ่งถือเป็นกฏเกณฑ์ที่มีการกำหนดไวทั่วโลก ซึ่งในทำนองเดียวกัน ประเทศอื่นก็จะช่วยจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้นักประพันธ์ไทยด้วย เมื่อมีการนำเพลงไทยไปเปิดที่ประเทศนั้น

ในช่วงแรกนี้ วิรัชไม่ค่อยได้ตั้งความหวังไว้มากต่อยอดเงินที่จะจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้แต่ประการใด เพียงแต่หวังว่าจะขยายความรู้พื้นฐานให้คนทั่วไปได้รู้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้มากที่สุด รวมถึงเพิ่มยอดสามาชิกและเพิ่มจำนวนสถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่จะให้ความร่วมมือกลับลิขสิทธิ์ดนตรี

ทังนี้บริษัทลิขสิทธิ์ดนตรีจะต้องพิสูจน์ฝีมือ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เห็นว่า ศักยภาพในการรับภาระครั้งสำคัญนี้แต่เพียงผู้เดียว ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงแต่อย่างใด เพราะหากไม่ดีจริง ทางกรมทรัพย์สินฯ ก็คงพร้อมจะมอบความไว้วางใจให้กับรายอื่นเข้ามาดำเนินการอย่างแน่นอน

ผลงานและเวลาเท่านั้น จะเป็นเครื่องพิสูจน์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us