Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532
"ไดนามิค และ ฉวยโอกาสได้เก่งที่สุด"             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 


   
search resources

นครไทยกรุ๊ป
สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
Metal and Steel




สวัสดิ์เป็นคนไดนามิคตลอด 24 ชั่วโมง ลูกน้องคนสนิทของสวัสดิ์ หอรุ่งเรืองในกลุ่มนครไทยคนหนึ่งพูดถึงตัวตนที่แท้จริงของนายคนนี้ของเขาให้ "ผู้จัดการ" รับรู้

สวัสดิ์อายุ 48 ปีปีนี้ เป็นคนเรียนน้อย แค่ ม. 6 พูดภาษาอังกฤษได้คล่องราวกับคนจบมาจากต่างประเทศ ผมหงอกขาวเกินวัย คล่องแคล่ว เป็นกันเองกับทุกคน ประสบการณ์ชีวิตที่ทำงานในโรงงานมาตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น สอนให้เขาเป็นนักอุตสาหกรรมทั้งชีวิตจิตใจ และรู้จักเป็นนักฉวยโอกาสที่ดี เขาเคยพูดกับ "ผู้จัดการ" ในเชิงให้ทัศนะว่า "การเป็นนักอุตสาหกรรมต้องเป็นคนที่เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกให้ทัน และสามารถปรับตัวเองได้ตลอดเวลา ตัวอย่างในทัศนะนี้เขายกกรณีชนรุ่นบรรพบุรุษที่มักจะติดยึดวัฒนธรรมเก่า ๆ แบบ OVERSEA CHINESE ในการทำธุรกิจ แม้ประสบความสำเร็จมาจนทุกวันนี้ โดยอ้างว่า มาจากเสื่อผืนหมอนใบนั้นเป็นสิ่งที่ควรต่อต้านทัศนะเหล่านี้ เพราะเขาเชื่อว่า ยุคสมัยปัจจุบัน ความอดทนอย่างเดียวไม่พอแล้วต่อความสำเร็จ มันต้องมีองค์ประกอบของความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจและวัฒนธรรมการจัดการสมัยใหม่ด้วย

ทัศนะของเขาเช่นนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วจากความสำเร็จในการบริหารกิจการนครไทยสตีลจากจุดเริ่มต้นที่มีหนี้สินรุงรังแทบล้มละลาย มาจนกระทั่งฟื้นตัวได้ภายในเวลาเพียง 6 ปี และเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งในต้นทศวรรษที่ 1990 นี้

คนที่ไดนามิคอยู่ตลอดเวลา เป็นบุคลิกที่สะท้อนแง่หนึ่งของคนในการเตรียมพร้อมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก สวัสดิ์เป็นคนที่มีบุคลิกสังกัดอยู่คนประเภทนี้

ปี 2524 แม้จะอยู่ในภาวะที่ธุรกิจของเขาร่วมกับพี่ชายและพ่อในนามนครไทย สตีลเวอร์ค ยังไม่มีสุขภาพแข็งแรงนัก แต่เขามองเห็นอนาคตและวิวัฒนาการของสินค้าเหล็กเส้นที่จะต้องก้าวต่อไปทั้งในด้านเทคโนโลยีการผลิตและความต้องการของตลาด "เราจะอยู่ในระบบการผลิตแบบรีดซ้ำอย่างเดียวไม่ได้ อนาคตมันมืด ต้องก้าวออกไปให้ได้ ต้นทุนการผลิตนับวันจะแพง โดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้เพราะวัตถุดิบเศษเหล็ก COBBLE PLATE ต้องสั่งจากต่างประเทศ SHIP PLATE นับวันก็น้อยลง น้ำมันซึ่งเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตก็แพง 2523-2524 ที่ผู้ผลิตเหล็กรีดซ้ำประสบ

สินค้าเหล็กเส้นจากการผลิตแบบ RE-ROLL หรือรีดซ้ำคุณภาพไม่ค่อยได้มาตรฐานขนาดอย่างดีที่สุดก็เพียงแค่ 25 มม. X 10 มม. เท่านั้น ขณะที่แนวโน้มตลาดนับวันงานก่อสร้างขนาดใหญ่ ๆ ที่ต้องการเหล็กเส้นคุณภาพสูงที่เหล็ก RE-ROLL ทำไม่ได้จะต้องเกิดขึ้นอย่างมากแน่นอน "ผมเชื่อในทิศทางตลาดนี้ แต่ผมบอกไม่ได้ว่ามันจะบูมขึ้นมาเมื่อไร" สวัสดิ์พูดถึงความเชื่อของเขาในระหว่างปี 2524

จุดนี้เองที่ทำให้เขากับนักอุตสาหกรรมผลิตเหล็กรีดซ้ำบางราย รวมกลุ่มกันจัดทำโครงการเหล็กสมบูรณ์แบบ (INTEGRATED STEEL COMPLEX) ขึ้นที่ภาคตะวันออก ด้วยงบลงทุน 1,200 ล้านบาท เมื่อปี 2524 ในนามบริษัทเหล็กทิปโก้

วัตถุดิบที่จะป้อนอุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นระบบเตาหลอม ที่มาจากการสกัดเศษเหล็กมาจากเรือเรียกว่า SHIP PLATE โดยจะทำกันกลางทะเลเลย เมื่อได้วัตถุดิบ SHIP PLATE แล้ว ก็จะเข้าเตาหลอม ผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กชนิดต่าง ๆ ป้อนงานก่อสร้างและอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ "ถ้าโครงการนี้เกิดได้ การขาดแคลนเหล็กเส้นเพื่องานก่อสร้างที่เกิดขึ้นทุกวันนี้จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย"

เหตุที่โครงการเหล็กของบริษัททิปโก้ไม่เกิด เพราะสถาบันการเงินไม่สนับสนุนว่ากันว่าเหตุมาจากความไม่น่าเชื่อถือในเครดิตของกลุ่มผู้ลงทุน และความไม่มีอนาคตของธุรกิจเหล็กเส้นรีดซ้ำในเวลานั้น

ความล้มเหลวในโครงการเหล็กทิปโก้ ไม่ทำให้สวัสดิ์ท้อแท้ใจ หรือหยุดคิด

เขาเก็บความทะเยอทะยานไว้ในใจว่า สักวันหนึ่งเขาจะต้องมีโรงเหล็กที่ทันสมัยกว่า RE-ROLL ให้ได้!

ความทะเยอทะยานของเขาในสิ่งนี้ เป็นความจริงแล้วในปี 2532 หลังจากฝ่าฟันมรสุมหนี้สินแทบกระอักเลือด หลังจากแยกทางทำมาหากินจากพี่ชายคนโตที่ชื่อวสันต์ ซึ่งมีอายุแก่กว่าเขาถึง 20 ปี เพื่อมาสร้างกลุ่มนครไทย ตามลำพังร่วมกับน้องชายที่ชื่อไสว หอรุ่งเรือง
โรงเหล็กเตาหลอมมูลค่าเกือบ 5,000 ล้านบาท ที่เขาดึงกลุ่มซิ-โนไทย ของชวรัตน์ ชาญวีรางกูล และสุมิโตโมแห่งญี่ปุ่นมาร่วมหุ้น โดยเอา ดร. สุธี สิงห์เสน่ห์ประธานกรรมการไอเอฟซีที มานั่งเป็นที่ปรึกษาด้วย คือประจักษ์พยานที่ทำให้ความทะเยอทะยานของเขาเป็นจริง "ผมจะอยู่ในธุรกิจเหล็กตลอดชีวิตของผม" เป็นคำพูดที่บ่งบอกถึง ทิศทางหลักของกลุ่มนครไทยที่เขาควบคุมดูแลอยู่ชัดเจน แม้ว่าจะมีบริษัทในเครือข่ายอย่างน้อย 4 บริษัท ที่ก่อตั้งขึ้นมาในช่วงปี 2531 เป็นต้นมา หันไปทำธุรกิจที่ไม่ใช่เหล็กคือ พวกพัฒนาที่ดินก็ตาม

จริง ๆ แล้ว "ผู้จัดการ" ได้ทราบทัศนะทางนโยบายของกลุ่มนี้ที่ทำธุรกิจพัฒนาที่ดินนั้นก็เพราะเหตุผล หนึ่ง-มาจากความต้องการหาสถานที่ก่อสร้างโรงงานเหล็กเส้น เตาหลอม 5,000 ล้านบาท เพื่อขายภายในและส่งออก และสอง-เป็นการฉวยโอกาสทางธุรกิจในยามที่กระแสความต้องการที่ดินเพื่อสร้างโรงงานมีอยู่สูงมาก

ธุรกิจพัฒนาที่ดินทั้ง 2 โครงการของสวัสดิ์คือมาบตาพุดและบ่อวิน ศรีราชา เนื้อที่รวมกัน 5,000 ไร่ จึงมีเป้าหมายเพื่อทำเป็นนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรือน้ำลึกขนาด 50,000 ตัน (ในนามบริษัทศรีราชาฮาเบอร์)

แน่นอน การพัฒนาที่ดิน 5,000 ไร่ ตามโครงการในแผนงานนี้ เขาต้องหาเงินมาลงทุนเกือบ 10,000 ล้านบาท

แทบไม่น่าเชื่อ เพียง 3 ปี นับจากวันที่เขาฟื้นตัวจากธุรกิจโรงเหล็กนครไทยสตีล เขาสามารถขยายธุรกิจออกไปได้รวดเร็วถึงหมื่นล้านบาท …มันเป็นการฉวยโอกาสทองที่ภาวการณ์ลงทุนในประเทศไทยกำลังดีวันดีคืนได้ฉลาด และกล้าได้กล้าเสียอย่างที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us