|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ประชัย" ทวงถามหนี้ค้างจ่ายไทยเอบีเอส จากทีพีไอ 3.8 พันล้านบาท เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าน้ำมันของบริษัท น้ำมันทีพีไอ จำกัด มูลหนี้ 2 พันล้านบาท ระบุ "น้ำมันทีพีไอ" ไม่กระทบ แม้ถูกระงับป้อนน้ำมัน แต่สามารถซื้อจากผู้ค้าน้ำมันรายอื่นได้ ลั่นพร้อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้น 6 บริษัทย่อยในเครือทีพีไอภายใน 30 วัน โดยยอมถูกปลดออกจากกรรมการหากปตท.ทำถูกต้องตามกฎหมาย
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มบริษัทในเครือทีพีไอ เปิดเผยว่า ตามที่ได้รับจดหมายแจ้งจากบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา ให้เรียกประชุมกรรมการบริษัทเพื่อจัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทย่อยของทีพีไอ 6 บริษัทที่ตนดูแลอยู่ภายใน 30 วันนั้น ตนพร้อมที่จะดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าวาระการประชุมนั้น ทางทีพีไอได้เสนอให้ปลดกรรมการชุดเดิมที่มีตระกูลเลี่ยวไพรัตน์เป็นกรรมการอยู่ก็ตาม
"การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นแม้ว่าจะมีวาระปลดกรรมการชุดเดิมที่มีตระกูลเลี่ยวไพรัตน์เป็นกรรมการนั้น ต้องพิสูจน์ได้ว่าเขามีอำนาจถูกต้อง หากเขาทำตามกฎหมายแล้วผมยอมรับได้ ส่วนการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทีพีไอในวันที่ 20 ก.ค.นี้ มีวาระจะปลดผมออกจากการเป็นกรรมการบริษัทนั้น หากเขามีอำนาจปลดก็ปลดไป แต่ไม่มีอำนาจก็ไม่ต้องปลด ซึ่งล่าสุดประเด็นการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทีพีไอเมื่อวันที่ 27 เม.ย.แล้วแต่งตั้งปตท.เข้ามาเป็นกรรมการและบริหารทีพีไอนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างการฟ้องร้องที่ศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดระยอง"
สำหรับบริษัทย่อยทั้ง 6 บริษัทของทีพีไอ ประกอบด้วย บริษัท ไทย เอบีเอส จำกัด บริษัท ไทยโพลีออล จำกัด บริษัท ทีพีไอ อะโรเมติกส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมโพลียูริเทนไทย จำกัด บริษัท น้ำมันทีพีไอ จำกัด และบริษัท ผลิตไฟฟ้าทีพีไอ จำกัด
ส่วนกรณีที่ทีพีไอระงับการขายน้ำมันให้กับบริษัท น้ำมันทีพีไอ จำกัด ซึ่งตนดูแลอยู่นั้น โดยอ้างว่าบ.น้ำมันทีพีไอค้างจ่ายค่าน้ำมัน 1.9-2 พันล้านบาทนั้น ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ทีพีไอเป็นหนี้บริษัท ไทยเอบีเอส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ตนดูแลบริหารงานอยู่ จำนวน 3.8 พันล้านบาท เนื่องจากทีพีไอได้นำเม็ดพลาสติกของไทยเอบีเอสไปจำหน่ายล่วงหน้า โดยยังไม่มีการจ่ายหนี้คืน ทำให้กลุ่มบริษัทลูกทีพีไอที่ตนดูแลอยู่ขาดสภาพคล่องไป
"เขาหาว่าผมตีรวน ติดหนี้ค่าน้ำมัน 1.9 พันล้านบาทแล้วไม่จ่ายนั้น ยอมรับจริง แต่ไทยเอบีเอสเป็นเจ้าหนี้การค้าทีพีไอ 3.8 พันล้านบาท โดยเขาของทวงหนี้ 1.9 พันล้านบาท แต่ไม่ยอมจ่ายหนี้ 3.8 พันล้านบาทเลย แล้วเราจะเอาเงินที่ไหนมาใช้ ดังนั้นถ้าเขาไม่จ่าย เราก็ไม่จ่าย"
อย่างไรก็ตาม หากทีพีไอจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่ 3.8 พันล้านบาทมา ทางบ.น้ำมันทีพีไอก็พร้อมที่จะจ่ายเงิน 1.9 พันล้านบาทที่ค้างค่าน้ำมันไว้อยู่ ขณะนี้แม้ทีพีไอหยุดป้อนน้ำน้ำมัน ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อบ.น้ำมันทีพีไอ เพียงแต่มีรายได้ลดลง แต่ก็ไม่กระทบมากนัก เนื่องจากเรายังมีน้ำมันในถังอยู่ และสามารถซื้อน้ำมันจากผู้ค้าน้ำมันรายอื่นๆในประเทศได้ โดยแต่ละเดือนบ.น้ำมันทีพีไอซื้อน้ำมันไม่เกิน 500 ล้านบาท
ส่วนที่ทีพีไอจะนำน้ำมันเขียวที่เดิมเคยขายให้บ.น้ำมันทีพีไอไปให้ปตท.จำหน่ายแทนนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะถือเป็นการผ่องถ่ายเงินทีพีไอออกนอกระบบ เหมือนกับระยองแท้งก์เทอร์มินอล รวมทั้งผู้บริหารทีพีไอได้สั่งการไม่ให้พนักงานทีพีไอที่เคยช่วยเหลือทำงานในบริษัทในเครือ อาทิ ฝ่ายบัญชี ห้ามไม่ให้ทำงานให้ ทำให้ต้องมีการจ้างพนักงานใหม่เข้ามาดูแล เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและก่อให้เกิดความแตกแยกของพนักงาน
อย่างไรก็ตาม หลังจากออกจากแผนฟื้นฟูของ 6 บริษัทย่อยในเครือทีพีไอ โดยตนเป็นผู้บริหารนั้น ได้มีการปรับขึ้นเงินเดือนและให้โบนัสสูงกว่าที่ทีพีไอเคยให้กับพนักงานเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็นธรรม
ส่วนคดีความทั้งแพ่งและอาญาที่มีจำนวนมากหลังจากปตท.กบข. ออมสิน และวายุภักดิ์เข้ามาถือหุ้นใหญ่ทีพีไอนั้น ถือว่าเป็นสิทธิที่ตนจะต่อสู้เพื่อความชอบธรรมในการปกป้องผลประโยชน์ของตระกูลเลี่ยวไพรัตน์และผู้ถือหุ้นอื่น โดยเฉพาะกรณีที่คลังไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาบริหารงานบริษัทเอกชนแล้วเรียกเก็บเงินค่าเป็นผู้บริหารแผนฯนั้นทำไม่ได้ เพราะประชาชนเสียภาษีให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่แล้ว แถมยังนำหุ้นทีพีไอไปขายให้ปตท. กบข. วายุภักดิ์ และออมสินในราคาที่ถูกเพียง 3.30 บาท/หุ้น ขณะที่ราคาหุ้นทีพีไอปัจจุบันอยู่ที่ 7-8 บาท ทำให้ปตท.มีกำไรจากการเข้ามาถือหุ้นทีพีไอถึง 30,000 ล้านบาท กบข. ออมสินและวายุภักดิ์กำไรรายละ 8,000- 10,000 ล้านบาท
ส่วนการค้ำประกันส่วนตัวหนี้ 5 หมื่นล้านของตนที่นายปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ ทีพีไอ กล่าวว่า จะถอนหนี้ค้ำประกันให้นั้น ขณะนี้ก็ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างไร ทำให้ตนต้องนำเงินบ.น้ำมันทีพีไอไปให้ทีพีไอ อะโรเมติกส์ เพื่อไปชำระที่ค้ำประกันอยู่ 600 ล้านบาท โดยขอคืนใบหุ้นทีพีไอ อะโรเมติกส์ แต่แบงก์กรุงเทพไม่ยอมรับเงินชำระหนี้คืน สุดท้ายต้องนำเงินไปวางที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อคืนหนี้ให้ แต่แบงก์กรุงเทพก็ยังไม่ยอมเพื่อต้องการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากการถือค้ำประกันใบหุ้นดังกล่าว
|
|
|
|
|