|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมินใบสั่งการเมือง แบงก์ชาติเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอาร์พี อีก 0.25% ส่งผลอาร์พีล่าสุดอยู่ที่ 5.00% แย้มจะไม่ปรับขึ้นอีกนาน ยกเว้นราคาน้ำมันดันเงินเฟ้อพุ่งไม่หยุด พร้อมดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ ยอมเลื่อนเป้าหมายทำดอกเบี้ยแท้จริงเป็นบวกออกไปก่อน
นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีขึ้นเมื่อวานนี้ (7 มิ.ย.) ได้มีมติให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน (อาร์/พี) เพิ่มอีก 0.25% ทำให้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยจากเดิมที่อยู่ในระดับ 4.75%ต่อปี ปรับมาอยู่ที่ระดับ 5.00%ต่อปี ซึ่งสาเหตุหลักจากราคาน้ำมันที่เร่งตัวสูงกว่าที่ กนง.คาดไว้และเป็นผลกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตาม โดยเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00% เหมาะสมต่อการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจดีที่สุดแล้ว และจะเอื้อต่อการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
“เราไม่ได้ให้น้ำหนักเงินทุนเคลื่อนย้ายมาก สิ่งที่เราดูคือวัดจากความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อจะสูงมากกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่จะชะลอลง หากอย่างไหนมากกว่าจะดำเนินนโยบายการเงินไปในทิศทางนั้น อย่างไรก็ตามเราไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งให้น้ำหนักในสัดส่วน 40% ขณะที่เหลืออีก 60% จะเป็นอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหน้าที่หลักของธนาคารกลาง คือ รักษาเสถียรภาพไม่ใช่การเจริญเติบโต"
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยเฉพาะการส่งออกที่มีการขยายตัวได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ภาวะอุปสงค์ภาคเอกชนล่าสุดมีสัญญาณของการอ่อนตัว ประกอบกับการลงทุนของภาครัฐอาจล่าช้าไปบางส่วน ทำให้ กนง.มองว่ามีโอกาสที่เศรษฐกิจอาจจะชะลอลงในระยะต่อไปได้
ขณะเดียวกันราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้มาก จากเดิมที่คาดว่าราคาน้ำมันจะสูงสุดในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน แต่อัตราเงินเฟ้อขณะนี้สูงกว่าในระดับที่เราคาดไว้แล้ว ซึ่งในระยะต่อไปจะมีผลกระทบต่ออัตราค่าจ้าง และต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายการเงินในแนวทางเดิม คือปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยครั้งนี้กนง.วิเคราะห์ราคาน้ำมันอยู่ที่ระดับ 64 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งคาดว่าไตรมาส2น้ำมันจะอยู่ที่ระดับ 65เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และไตรมาสที่เหลือราคาน้ำมันน่าจะแตะอยู่ที่ระดับ 66 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
“ราคาน้ำมันในโลกสูงขณะนี้ เพราะมีดีมานด์มากเมื่อเทียบกับซัพพลายที่มีอยู่ ซึ่งมาจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้ดี ทั้งจีน อินเดีย และสหรัฐที่แข่งแกร่ง จะดึงราคาน้ำมันสูงขึ้น เราดูผลกระทบโครงสร้างของต้นทุนภาคการผลิต ผลกระทบของดอกเบี้ยต่ำมากเมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน หากดู Real MLR ในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5.25% ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว 4-5% เป็นไปตามวัฎจักรของเศรษฐกิจอยู่แล้วที่อัตราดอกเบี้ยจะสูงบ้างต่ำบ้าง”นางอัจนากล่าวและว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่ง ธปท.ตั้งเป้าจะเป็นบวกในช่วงกลางปี อาจจะล่าช้าออกไป โดยปัจจุบันติดลบ 0.6%
สำหรับปัจจุบันภาคธุรกิจยังมีรายได้ต่อดอกเบี้ยจ่ายประมาณ 9 เท่า จากก่อนหน้านี้ที่มีอยู่ 2-3 เท่า และการลงทุนจะชะลอลงบ้างในขณะนี้ ในขณะที่สิ่งแวดล้อมต่างๆ เอื้ออำนวย เพราะผลจากความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งการปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นในเรื่องการลงทุน ยังมีปัจจัยหลักในส่วนอื่นๆ ที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ รวมไปถึงความมีเสถียรภาพในระยะยาวมากกว่า
**ลุ้นระทึกก่อน"อุ๋ย"เมินใบสั่งการเมือง
รายงานข่าวระบุว่า ก่อนหน้าที่ กนง.จะมีการประชุมพิจารณาอัตราดอกเบี้ยวานนี้ (7 มิ.ย.) เอกชนและนักวิชาการต่างจับตามองว่า ธปท. โดยม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าฯ ธปท. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้หรือไม่ เนื่องจากมีกดดันจากฝ่ายการเมืองที่ต้องการเอาใจประชาชน เหตุผลที่รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงการคลังไม่ต้องการให้มีการปรับดอกเบี้ยขึ้น เพราะเกรงว่าจะเพิ่มภาระผู้ประกอบการและลูกค้าเงินกู้ ทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน การแทรกแซงครั้งนี้ ไม่เพียงแต่การให้สัมภาษณ์ของนายทนง พิทยะ รักษาการ รมว.คลัง เท่านั้น ยังมีนายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ที่ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา รมว.คลัง ที่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า กนง.ไม่ควรปรับขึ้นดอกเบี้ย หรือแม้แต่นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สภาพัฒน์ ซึ่งเป็นกรรมการ กนง. ก็ยังออกมาตีกัน ทว่าในที่สุด ธปท.ภายใต้การนำของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรก็ทำให้ กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยจนได้
|
|
|
|
|