Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มิถุนายน 2549
“จีเอ็มเอ็ม”เดี้ยงวิทยุทยอยคืนคลื่นกู้วิกฤติ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, บมจ.
สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา
Radio




“จีเอ็มเอ็มแกรมมี่” ปรับตัวรับเศรษฐกิจพ่นพิษอุตสาหกรรมมีเดีย ลดคลื่นวิทยุครึ่งปีแรกไปแล้ว 2 คลื่นรวด เพื่อรักษากำไรเท่าปีที่แล้ว ระบุคืน 2 คลื่นช่วยลดต้นทุนแพงหูฉี่ 120 ล้านบาทต่อปี ล่าสุดคืนคลื่น 93.5 ให้ทางกรมประชาสัมพันธ์ แจงเพราะค่าเช่าแพงขึ้นปีละ 10-15% - สถานีปิดเร็ว พร้อมเตรียมโยกคอนเซปต์ อีเอฟเอ็ม มาสู่คลื่น 94 ที่เดิมเป็นโอเพ่น เรดิโอ แทนสถานีข่าวไทยไทม์ปิดตัว

นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ในเครือจีเอ็มเอ็มแกรมมี่กรุ๊ป เปิดเผยถึงสาเหตุการคืนคลื่น 93.5 EFM ให้กับทางกรมประชาสัมพันธ์ว่า การทำเช่นนี้ถือเป็นการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งขณะนี้ภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคลื่นวิทยุในรูปแบบเอนเตอร์เทนเมนต์ หรือสถานีข่าวโดยรายได้จากพื้นที่โฆษณาลดลง ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะจีเอ็มเอ็มมีเดียหรือเอไทม์มีเดียหรือบริษัทบริหารคลื่นวิทยุในเครือแกรมมี่เท่านั้น โดยขณะนี้ดูสภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังยังไม่มีปัจจัยบวกที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมโดยรวมเติบโต

ดังนั้นการลดคลื่นของแกรมมี่ในครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งที่สองในรอบปี หลังจากก่อนหน้านี้แกรมมี่ได้คืนคลื่น 88 ให้กับทางกรมประชาสัมพันธ์ ก็เพื่อรักษากำไรปีนี้เท่ากับปีที่ผ่านคือราว 23% โดยการคืนทั้งสองคลื่น ส่งผลให้บริษัทฯลดต้นทุนได้ประมาณ 10 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนผลประกอบการปีนี้คาดว่าจะลดลงอย่างแน่นอน จากในปีที่ผ่านมาในรายได้จากการบริหารคลื่นวิทยุ 900 ล้านบาท จากการมีคลื่นทั้งหมด 5 คลื่น

ปัจจุบันแกรมมี่มีคลื่นวิทยุเหลือ 4 คลื่น จากเดิมที่มี 6 คลื่นในช่วงต้นปีเป็นต้นมา ประกอบด้วย คลื่น 106.5 กรีนเวฟ สร้างรายได้สูงสุด 350 ล้านบาท, คลื่น 89 บานาน่า กว่า 100 ล้านบาท, คลื่น 91.5 ฮอตเวฟ รายได้กว่า 100 ล้านบาท และคลื่น 94 โอเพ่น เรดิโอ ซึ่งการลดจาก 6 คลื่นเหลือ 4 คลื่น ถือว่าเพียงพอกับในยุคเศรษฐกิจอย่างนี้แล้ว อีกทั้งแต่ละคลื่นก็พอดีกับการวางเซกเมนต์ เช่น กรีนเวฟเจาะกลุ่มผู้ใหญ่ บานาน่าเจาะเริ่มทำงาน ฮอตเวฟเจาะกลุ่มเด็กวัยรุ่น และอีเอฟเอ็มเจาะกลุ่มแมสที่สนใจบันเทิง

ล่าสุดบริษัทฯได้เตรียมโยกคอนเซปต์คลื่น 93.5 EFM มาสู่คลื่น 94 โอเพ่น เรดิโอ แทน โดยจะเริ่มรายการอย่างเต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคมปีนี้ โดยสาเหตุที่บริษัทฯเลือกลดคลื่น 93.5 EFM ทั้งนี้เป็นเพราะราคาค่าเช่าที่สูง เนื่องจากเป็นคลื่นที่ประมูลจากกรมประชาสัมพันธ์ หากหมดสัญญาก็จะมีการเจรจาเพื่อขอขึ้นค่าเช่าอย่างน้อย 10-15% ต่อปี ซึ่งบริษัทฯเช่าสัญญาคลื่นกรมประชาสัมพันธ์มานาน 14-15 ปี ในขณะที่ค่าโฆษณาบริษัทฯไม่ได้ขึ้นคือ 2,900 บาทต่อสปอต ส่งผลให้ต้นทุนการบริหารคลื่นนี้สูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันการโยกคลื่น 93.5 EFM มาเป็นคลื่น 94 โอเพ่น เรดิโอ แทน เนื่องจากต้นทุนค่าเช่าถูกกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน โดยคลื่น 94 โอเพ่นเรดิโอเดิม ซึ่งเป็นคลื่นของกองทัพบกต้นทุนราว 4 ล้านบาทต่อเดือน ขณะที่คลื่น 93.5 EFM ภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ 5 ล้านบาทต่อเดือน ค่าเช่าที่เพิ่มสูงขึ้นของกรมประชาสัมพันธ์นี้เอง ส่งผลให้ในขณะนี้แกรมมี่ไม่มีคลื่นวิทยุภายใต้กรมประชาสัมพันธ์เลย นอกจากนี้การลดคลื่น 93.5 EFM มาเป็น คลื่น 94 โอเพ่นเรดิโอแทน เป็นเพราะคลื่น 94 โอเพ่น เรดิโอ สถานีเปิดตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับคลื่น 93 EFM ปิดสถานีในช่วง 02.00 น. ทำให้มีความคุ้มค่าด้านการบริหารเวลาที่มากกว่า อย่างไรก็ตามบริษัทฯมั่นใจว่าการโยกคลื่นจะไม่ส่งผลกระทบด้านรายได้จากพื้นที่โฆษณา

สำหรับการขอคืนคลื่น 93 .5 EFM ทางบริษัทฯได้แจ้งหนังสือกับกรมประชาสัมพันธ์ไปแล้วตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งกรณีการขอคืนคลื่นถือว่าไม่ผิดสัญญากับทางกรมประชาสัมพันธ์ เพราะตามเงื่อนไขระบุไว้ชัดเจนว่า สามารถคืนคลื่นได้แต่ต้องแจ้งก่อน 1 เดือน อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างการรอให้ทางกรมประชาสัมพันธ์พิจารณาก่อน ทั้งนี้การโยกคลื่นในครั้งนี้ บริษัทฯคงจะต้องเตรียมแผนในการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งผังรายการดีเจใหม่อีกครั้ง ส่วนเรื่องการแจ้งรูปแบบรายการใหม่ทางคลื่น 94 โอเพ่น เรดิโอ กับทางกองทัพบกได้รับการตอบรับแล้ว โดยทางผู้ใหญ่ไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับรูปแบบรายการ

นายสายทิพย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้การบริหารจัดการของแกรมมี่ทำทั้งเครือ ไม่ได้เป็นเฉพาะของวิทยุเท่านั้น แกรมมี่เป็นบริษัทใหญ่การปรับตัวที่เร็วก็เพื่อรักษาตัวเอง ก่อนที่จะเกิดอะไร ส่วนเรื่องงบการตลาดบริหารคลื่นวิทยุบริษัทฯคงจะไม่ปรับลดลง โดยในแต่ละปีวางไว้ที่ 100 -120 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะมองว่าการจัดกิจกรรมยังเป็นส่วนที่ต้องทำ เพราะทำให้ขายพื้นที่โฆษณาได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ทั้ง 3 คลื่น ไม่ว่าจะเป็น กรีนเวฟ, ฮอตเวฟ และบานาน่าก็มีการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันไป โดยปัจจุบันคลื่นวิทยุของแกรมมี่เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง16% จากมูลค่าตลาด 6,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us