Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มิถุนายน 2549
หนุนเชือดนอมินีฮุบที่ดิน             
 


   
search resources

Real Estate




ผู้ประกอบการอสังหาฯ หนุนให้เร่งตรวจสอบต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์ของประเทศ เผยการซื้อ-ขายที่ดินของต่างชาติในภูเก็ตเลี่ยงกฎหมายเพียบ แอบซื้อในนามของนิติบุคคลแทนการเช่า 30 ปี ขณะที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจเผย ไทยร่วมทุนต่างชาติลงทุนอสังหาฯมีเพียบในภูเก็ต ทุนจดทะเบียน 1-2 ล้านบาทเท่านั้น ด้านตระกูล"เนื่องจำนงค์ "เตือนอาจะเป็นเกมของรัฐสร้างภาพ หวังลบกระแสนอมินี ส่วนผู้ประกอบการอสังหาฯร้องเมืองพัทยา ร่วมไกล่เกลี่ยปัญหาการซื้อขายที่ดิน

จากคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ให้สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตตรวจสอบ ที่ดินของนิติบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติ โดยการร่วมมือกันระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เพื่อประกอบธุรกิจซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อป้องกันไม่ให้คนต่างชาติหลีกเลี่ยงกฎหมายนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในจังหวัดภูเก็ต เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าว น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในธุรกิจอสังหาฯของจังหวัดภูเก็ต เพราะขณะนี้มีนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาฯเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโครงการที่เป็นบ้านราคาสูง จะเป็นการลงทุนโดยคนต่างชาติเกือบทั้งสิ้น

นายสุพจน์ สุวรรณโชติ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้ส่งหนังสือเวียนถึงสำนักงานที่ดินจังหวัดต่างๆ รวมทั้งสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต เพื่อตรวจสอบการได้มาซึ่งที่ดินของนิติบุคคลสัญชาติไทยที่มีคนต่างด้าวร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย ว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการหลีกเลี่ยงกฎหมาย และป้องกันไม่ให้คนไทยเข้าไปถือครองที่ดินแทนชาวต่างชาติ

เพราะเกรงกันว่าบริษัทสัญชาติไทยที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ ต้องถือไม่เกิน 49% และคนไทยถือ 51% และมีการซื้อที่ดินที่เป็นของนิติบุคคล โดยให้คนไทยถือครองที่ดินแทนถือว่าผิดกฎหมาย และให้ตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นภายหลังการจัดตั้งบริษัทหรือไม่ โดยจะต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย.นี้

" ได้ประสานงานไปยังสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดภูเก็ต เพื่อตรวจสอบว่ามีบริษัทใดบ้างที่คนต่างชาติถือหุ้นร่วมกับคนไทย และประกอบธุรกิจซื้อ-ขายที่ดิน และบริษัทใดถือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพื่อเสนอให้รัฐมนตรีสั่งจำหน่ายบริษัทดังกล่าว " นายสุพจน์กล่าวและย้ำว่า

การตรวจสอบดังกล่าว อาจจะกระทบกับบรรยากาศการลงทุนด้านอสังหาฯในภูเก็ต แต่ไม่มาก เพราะบริษัทที่ทำถูกต้องตามกฎหมายจะไม่ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว และนิติบุคคลที่ทำถูกต้องตามกฎหมายสามารถที่จะถือครองที่ดินได้ แต่ที่เราจะตรวจสอบจะเป็นในส่วนของบริษัท ที่เลี่ยงกฎหมายและให้คนต่างชาติถือหุ้นแต่เป็นเพียงการพังหน้าเท่านั้น แต่เงินลงทุนจริงๆเป็นของต่างชาติทั้งหมด และรายได้ที่เกิดขึ้นก็นำออกนอกประเทศทั้งหมดโดยไม่ตกอยู่ในภูเก็ตเลย

**นักลงทุนต่างชาติฉกฉวยเดือดร้อนแน่

ด้านร้อยโทภูมิศักดิ์ หงษ์หยก ประธานชมรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จังหวัดภูเก็ตกล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ไม่น่าที่จะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนชาวต่างชาติที่ดี ที่เข้ามาลงทุนแบบตรงไปตรงมา ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะการตรวจสอบดังกล่าว เป็นการตรวจสอบถามกฎหมายเดิมที่อยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบให้มากยิ่งขึ้น เพราะหากเป็นนิติบุคคลที่เป็นการร่วมทุน ระหว่างคนต่างชาติและคนไทยกับชาวต่างชาติในสัดส่วน 51:49% ตามที่กฎหมายกำหนดก็สามารถที่จะครอบครองที่ดินได้ ตามพ.ร.บ.ที่ดินปี 2542 ที่ออกในสมัยที่นายชวน หลีภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อนุญาตให้ถือครองที่ดินได้เป็นระยะเวลา 50ปี ต่อได้อีก 50 ปี

อย่างไรก็ตาม ประธานชมรมฯกล่าวว่า ในภูเก็ตไม่ได้มีเฉพาะนักลงทุนชาวต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนแบบตรงไปตรงมา แต่ก็ยังมีนักลงทุนบางพวกที่เข้ามาลงทุนแบบฉาบฉวย เข้ามาลงทุนแบบผิด และขนเงินที่ได้จากการลงทุนออกนอกประเทศ ซึ่งก็มีอยู่จำนวนมากในภูเก็ต น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแน่นอน หลังมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด และคิดว่าทางหน่วยงานราชการจะต้องเข้าไปตรวจสอบกลุ่มนี้อย่างเข้มงวด

**หนุนตรวจสอบต่างชาติเลี่ยงกฎหมาย

แหล่งข่าวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นโบรกเกอร์ขายโครงการบ้านจัดสรร ให้แก่ชาวต่างชาติรายหนึ่งกล่าวกับ"ผู้จัดการรายวัน"ว่า เห็นด้วยกับกระทรวงมหาดไทย เพราะโครงการที่อยู่อาศัยที่ขายจะมีระดับราคาที่แพง เป็นการประกอบการโดยคนต่างชาติเกือบทั้งสิ้น และที่ผ่านมาคนต่างชาติ ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายในการทำธุรกิจ เพราะตามกฎหมายไทยไม่อนุญาตให้คนต่างชาติถือครองที่ดินได้ แต่การซื้อขายที่ดินให้คนต่างชาติ จะใช้ในลักษณะของการให้จดทะเบียนนิติบุคคลเป็นบริษัทบ้าง เป็นห้างหุ้นส่วนบาง เพื่อให้มีสิทธิ์ในการถือครองที่ดินในภูเก็ต แทนการเช่าที่มีระยะเวลา 30 ปี

พฤติกรรมการจดทะเบียนซื้อที่ดินของคนต่างชาตินั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีคนต่างชาติเป็นกรรมการบริษัทเพียงคนเดียวเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นคนไทยถือหุ้นทั้งสิ้น 51% ตามกฎหมาย ซึ่งคนไทยที่ถือหุ้นจะเป็นภรรยาหรือไม่ก็คนที่ทางสำนักงานกฎหมายหามาให้ทั้งสิ้น โดยที่เงินลงทุนซื้อที่ดินเป็นของคนต่างชาติทั้งสิ้น คนไทยถือเพียงหุ้นลมเท่านั้น

**กว่าพันบริษัทที่เลี่ยงกฎหมาย

แหล่งข่าวกล่าวอย่างชัดเจนว่า การจัดตั้งบริษัทที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในภูเก็ตมีกว่า 1,000 บริษัท มีจดทะเบียนกันทุกวันที่สำนักงานทะเบียนจังหวัดภูเก็ต เพราะหากไม่ทำในลักษณะของการจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลจะสามารถครอบครองที่ดินได้สูงสุด 90 ปี หรือครอบครองได้เฉพาะรุ่นลูก แต่หากจัดตั้งเป็นนิติบุคคล จะสามารถครอบครองได้ตลอด และบริษัทดังกล่าวจะไม่ได้ประกอบการอะไรเลยจัดตั้งขึ้นมาเฉยๆ

"คงกระทบช่วงสั้น แต่ในระยะยาวถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่มีการตรวจสอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเลี่ยงกฎหมายเกิดขึ้นอีก "แหล่งข่าวกล่าว

**บริษัทต่างชาติ-ไทยจดทะเบียนแค่1-2ล.

นายวีระชัย ตันติวัฒนวัลลภ หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้มีชาวต่างชาติที่ร่วมลุงทุนกับไทยเข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยบางบริษัทคนต่างชาติถือหุ้น 30% ไปจนถึง 49% บางบริษัทมีต่างชาติถือหุ้นคนเดียว บางบริษัทก็มีต่างชาติถือหุ้นหลายคน ซึ่งทุนจดทะเบียนจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ล้านบาท ซึ่งในแต่ละปีมีการจดทะเบียนนิติบุคคลในภูเก็ตประมาณ 1,000 ราย และเท่าที่ตรวจสอบมีการประกอบการเพราะจะต้องส่งงบดุลทุกปี และที่มีการจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจอสังฯในภูเก็ตก็มีจำนวนมาก

" ทางกรมพัฒนาธุรกิจได้มีการป้องกันในเรื่องของคนไทยที่จะเข้าไปถือหุ้นเปล่าและไม่ได้มีการลงทุน โดยการออกระเบียบให้มีหนังสือรับรองว่า กรรมการทุกคนของบริษัทได้จ่ายเงินค่าหุ้นทุกคนแล้วถึงจะจดทะเบียนให้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการถือหุ้นลม แต่ไม่ได้มีการนำเงินมาลงทุนจริงๆ"นายวีระชัย กล่าว

**เชื่อรัฐฯสร้างภาพหวังลบกระแสหนุนต่างชาติ

นางสุนัทที เนื่องจำนงค์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มบริษัท ไพร์ม เนเจอร์ กรุ๊ป เจ้าของโครงการ ไพร์ม เนเจอร์ วิลล่า หัวหิน รวมถึงมีที่ดินของครอบครัวในจ.ชลบุรีถึง 20,000 ไร่ เชื่อว่าการออกกฎดังกล่าว อาจเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของรัฐบาล เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีปัญหาการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติในนามของคนไทย หรือ นอร์มินี จนเกิดเรื่องราวใหญ่โต ดังนั้นจึงเชื่อว่าการออกกฎดังกล่าวน่าจะส่งผลดีต่อชื่อเสียงของไทยต่อชาวต่างชาติ

อย่างไรก็ตามการออกกฎดังกล่าวน่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจมากกว่า และเชื่อว่าการเข้ามาในลักษณะนอร์มินียังคงมีอยู่ เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิคธุรกิจ บางรายใช้พนักงานบริษัทหรือระดับผู้บริหารทำให้ตรวจสอบได้ยาก

สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ เชื่อว่าไม่มีผลกระทบอะไร เพราะหากต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจริง แค่ตั้งบริษัทจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท ก็สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้แล้ว ซึ่งในส่วนของบริษัทเองมีโครงการไพร์มเมเจอร์วิลล่า ที่หัวหินซื้อเป็นที่อยู่อาศัยระดับบน นับจากที่กระทรวงออกมาตรการดังกล่าวมาก็ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด และที่ผ่านมามีการโอนบ้านในกับชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันยังมีลูกค้าชาวต่างชาติที่รอโอนบ้านอยู่อีกจำนวนหนึ่งซึ่งกลุ่มนี้ยังผ่อนชำระปกติไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

**เจ้าหน้าที่ไม่กล้าโอนที่ดิน

นายวสันต์ อุบลชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุบลชาติ กรุ๊ป กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการซื้อ-ขาย อสังหาฯในช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่งแทบจะไม่มีการโอนของที่ดินหรืออสังหาฯของชาวต่างชาติเลย เพราะทุกคนกลัวว่าจะมีปัญหาตามมาในภายหลัง

"นับตั้งแต่มีการออกกฎมาเจ้าพนักงานที่ดิน แทบจะไม่ยอมรับโอนให้เลย บอกแค่ว่าผู้ว่าจังหวัดสั่งมา ต้องรอตรวจสอบทุกราย ทำให้การซื้อขายไม่เกิดขึ้น อีกทั้งเอเยนต์ หรือนายหน้าชาวต่างชาติก็มีการสอบถามเข้ามาเยอะมาก และบอกว่าเรื่องนี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก มันเสียภาพลักษณ์ของเมือไทย ปัญหานี้น่าจะมีการแก้ไขโดยเร่งด่วน เพราะกระทบโดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว" นายวสันต์กล่าว

อย่างไรก็ตาม การออกมาตรการดังกล่าว น่าจะมีการอนุโลมสำหรับโครงการที่มีใบอนุญาตจัดสรร เพราะหากต้องการป้องกันการทำผิดกฎหมาย ดังนั้นผู้ที่ทำถูกกฎหมายน่าจะมีการยกเว้น นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการที่อยู่อาศัยประเภทลองสเตย์ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ซึ่งล่าสุดบริษัทไทยลองสเตย์เตรียมเรียกผู้ประกอบการในหัวหินที่เกี่ยวข้องเข้าหารือร่วมกันในสัปดาห์หน้า เพื่อหาทางออกร่วมกัน

**โครงการจัดสรรพัทยาชะงัก

วานนี้ (6 มิ.ย.) นายสง่า กิจสำเร็จ ประธานชมรมผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เมืองพัทยา พร้อมด้วยกลุ่มผู้ประกอบการ เดินทางเข้าพบ นายนิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร นายกเมืองพัทยา เพื่อร้องขอความช่วยเหลือต่อคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย โดยกรณีดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการหมู่บ้านจัดสรร หรือโครงการต่างๆได้รับความเดือดร้อนโดยเฉพาะกรณีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยไม่ใช่การจัดสรรหรือเอื้อประโยชน์ให้กับคนต่างด้าว ได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะหลังจากที่มีหนังสือคำสั่งใหม่ออกมาทำให้การซื้อขายที่พักอาศัยได้ผลกระทบเพราะไม่สามารถโอนกรรมสิทธ์ได้

" เราก็เห็นด้วยตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย มีเจตนาดีที่ไม่ต้องการให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะการกว้านซื้อที่ดินแล้วนำมาจัดสรรขาย โดยใช้คนไทยหรือว่าจ้างคนไทยมาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจ ซึ่งเรื่องนี้ที่ผ่านมามีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด แต่กรณีดังกล่าวหลังมีหนังสือสั่งการมายังกรมที่ดินก็ทำให้การซื้อขายอสังหาฯหรือโครงการจัดสรรทั่วไป เกิดผลกระทบไปด้วย แม้ว่าจะเป็นการมาเช่าซื้อในลักษณะอยู่อาศัยก็ตาม ทำให้ขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์เป็นไปได้ยากจนทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อน"

อย่างไรก็ตาม ทางนายกเมืองพัทยาได้รับเรื่องตามที่ประธานชมรมผู้ประกอบการอสังหาฯร้องเรียนมาและจะมีการประชุมหารือเร็วๆนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us