Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มิถุนายน 2549
บอลโลกฟีเวอร์จ่อทำลายสถิติเรตติ้ง             
 


   
search resources

Sports




การแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ซึ่งแฟนฟุตบอลทั่วโลกกำลังอดใจรอคอยเสียงนกหวีด นัดเปิดสนามในวันศุกร์ที่ 9 มิ.ย.นี้ กำลังจะกลายเป็นเวิลด์คัพครั้งประวัติศาสตร์ที่ทำลายสถิติหลายต่อหลายอย่าง นับตั้งแต่มหกรรมลูกหนังซึ่งถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 1930 ที่อุรุกวัย

ดอยช์ลันด์ 2006 นอกจากจะทำรายได้ให้กับประเทศเจ้าภาพหลายพันล้านยูโรแล้ว ฟีฟ่าซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการแข่งขันกำลังดีดลูกคิดรางแก้ว นับเม็ดเงินที่เกิดจากการขายสิทธิ์ถ่ายทอดสดให้กับสถานีโทรทัศน์ทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท จากสถิติผู้ชมทางจอแก้วที่คาดว่าน่าจะทำสถิติสูงสุดในเที่ยวนี้

ตัวเลขรายรับจำนวนมหาศาลคงไม่เกิดขึ้น หากขาดความสนใจจากแฟนลูกหนังทั่วโลกแม้ว่าฟุตบอลโลกจะมีอายุการแข่งขันถึง 76 ปีแล้ว แต่ฟุตบอลโลกที่เริ่มประสบความสำเร็จใน ระดับเวิลด์ไวด์ จากตัวเลขการสำรวจยอดผู้ชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกผ่านทางโทรทัศน์ของฟีฟ่านั้น เห็นจะหนีไม่พ้นฟุตบอลโลกครั้งที่ 13 ในปี 1986 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก ซึ่งในรายงานระบุว่าจำนวนของแฟนลูกหนังที่ชมการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมกันทุกนัดสูงถึง 1.35 หมื่นล้านคน

เมื่อถึงการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 1994 ซึ่งเจ้าภาพได้แก่สหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดชาติหนึ่งในโลกและเรียกฟุตบอลว่า "ซอคเกอร์" ไม่น่าแปลกใจที่ฟุตบอลโลกปี 1994 จะมีผู้ชมในสนามไม่หนาตาเหมือนกับการแข่งขันฟุตบอลโลกทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนเจ้าภาพสหรัฐฯ จะรู้จุดอ่อนของตนเองก่อนหน้าแล้วและได้ใช้กลยุทธ์การตลาดโปรโมตมาสคอตและสินค้าที่ระลึกทำเงินได้อย่างน่าชื่นใจ

นอกจากนั้น แล้วการเลือกช่วงเวลาการแข่งขันที่จะสามารถถ่ายทอดสดกลับไปทางฝั่งยุโรปได้ในช่วงไพรม์ไทม์ สร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ให้กับทั้งฟีฟ่าและตนเองชนิดเป็นกอบเป็นกำ ทำให้ตัวเลขของผู้ชมการถ่ายทอดสดหน้าจอโทรทัศน์ในฟุตบอลโลกครั้งนั้นตลอดทัวร์นาเมนต์พุ่งสูงขึ้นแตะที่ 3.21 หมื่นล้านคน

เมื่อถึงการแข่งขันในปี 2002 ฟุตบอลโลกครั้งแรกที่จัดขึ้นในสองประเทศบนทวีปเอเชีย นับเป็นการเปิดตลาดลูกหนังแห่งใหม่ของฟีฟ่า และดูเหมือนจะประสบความสำเร็จเกินคาดเพราะยอดผู้ชมของการแข่งขันในครั้งนี้เมื่อรวมการแข่งขันตลอดทุกนัดมีผู้เฝ้ามหากาพย์ลูกหนังจากทั่วโลกรวมแล้วสูงถึง 4.92 หมื่นล้านคน นับเป็นสถิติสูงสุดตั้งแต่ฟีฟ่าจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้นมา

คำกล่าวที่ว่า "ถิติมีไว้เพื่อทำลาย" ยังคงใช้ได้อยู่เสมอเพราะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 โดยเควิน อลาวีย์ นักวิเคราะห์อาวุโสแห่งบริษัท "อินิชิเอทีฟ ฟิวเจอร์" ได้ทำการวิจัยถึงทิศทางการรับชมของผู้คนผ่านสื่อโทรทัศน์มีการคาดหมายกันว่าจะมีแฟนลูกหนังทั่วโลกชมการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอีก 5 พันล้านคน

หากเป็นเช่นนั้นจะทำให้ "ดอยช์ลันด์ 2006 กลายเป็นฟุตบอลโลกที่มีผู้ชมผ่านทางโทรทัศน์ทุกนัดรวมกันสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดการแข่งขันขึ้นมาแตะที่ตัวเลข 5.42 หมื่นล้านคนเลยทีเดียว"

นอกจากนั้น นักวิเคราะห์ผู้นี้ยังได้ทำนายว่าจะมีแฟนลูกหนังสาวๆเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วย โดยการคาดหมายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะฟุตบอลโลก 2006 มีปัจจัยอันได้เปรียบในเรื่องของเวลาถ่ายทอดสดซึ่งส่งสัญญาณ มาจากยุโรป รวมไปถึงกระแสลูกหนังฟีเวอร์ในเอเชีย หลังจาก เกาหลี และญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในปี 2002

"จากการสำรวจของบริษัทฯ การแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นมหกรรมกีฬาที่มีผู้รับชมทางโทรทัศน์มากที่สุด ถ้าธุรกิจชนิดใดที่ต้องการเพิ่มยอดขาย หรือสร้างแบรนด์ของตนเองให้เป็นที่รู้จัก วิธีการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วงฟุตบอลโลกนับว่าใช้ได้ผลมากที่สุด เพราะการแข่งขันฟุตบอลโลก นับเป็นมหกรรมกีฬาที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องชนชาติหรือวัฒนธรรม" เควิน อลาวีย์ กล่าว

ทั้งนี้ ในรายงานยังกล่าวถึงทีมชาติบราซิลว่า เป็นทีมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ด้วยสไตล์การเล่นของทีมแซมบ้าที่สร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับผู้ชม รวมไปถึงเหล่านักฟุตบอลระดับซูเปอร์สตาร์ในยุโรปก็เป็นขวัญใจแฟนลูกหนังทั่วทั้งโลก นอกจากนี้ยังระบุว่า "บรรดานักฟุตบอล ชื่อดังระดับโลกนั้นจะถูกจับตามองเป็นพิเศษในการแข่งขันฟุตบอลโลก แฟนบอลจำนวนกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกจะพากันเชียร์ และให้กำลังใจ นักฟุตบอลที่พวกเขาโปรดปรานไม่ว่าจะเป็นโรนัลดินโญ่ หรือโรนัลโด้"

เมื่อนำเอาตัวเลขของผู้ชมฟุตบอลโลกผ่านการถ่ายทอดสดไป เปรียบเทียบกับตัวเลขของมหกรรมกีฬารายการอื่น จะมีเพียงการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนเท่านั้นที่พอจะเป็นคู่ต่อสู้ที่สูสีกับฟุตบอลโลก แต่ก็ยากที่จะนำเอาตัวเลขมาเปรียบเทียบ เพราะในการแข่งขันโอลิมปิกนั้น มีการแบ่งประเภทกีฬาเพื่อทำการเผยแพร่ในหลายรายการ ในขณะที่ฟุตบอลโลก เป็นรายการแข่งขันฟุตบอลเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นกีฬาประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทำให้ผู้ผลิตสินค้าตัดสินใจได้ง่ายที่จะลงโฆษณา

สำหรับในเมืองไทยเที่ยวนี้ก็ไม่ยอมน้อยหน้า เคยมีการวิจัย "Star Capture" โดยบริษัทสตาร์คอมเผยว่า คนไทยทั้งประเทศกว่า 44 ล้านคนจะร่วมดูบอลโลกในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าสูงกว่าครั้งที่แล้วถึง 26.6% ซึ่งกลุ่มนักเรียน นักศึกษาและกลุ่มคนโสด จะให้ความสนใจมากที่สุด

ผลการวิจัยดังกล่าวยังชี้ว่ามี 5 ปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พิษเศรษฐกิจ" จะส่งผลให้คนไทยหันมาประหยัดและลุ้นฟุตบอลโลก 2006 ทางหน้าจอโทรทัศน์มากเป็นประวัติการณ์

จำนวนผู้ชมบอลโลกทางโทรทัศน์ในแต่ละปี ตลอดทัวร์นาเมนต์ (หมื่นล้านคน)
- 1986 1.35
- 1990 2.67
- 1994 3.21
- 1998 3.34
- 2002 4.92
- 2006 5.24*

* จำนวนผุ้ชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2006 คาดว่าจะเพิ่มจากเดิมอีก 5 พันล้านคน (ตลอดทัวร์นาเมนต์)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us