Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มิถุนายน 2549
“หัวเหว่ย”หวั่นภาพเสีย เร่ง CDMA เฟส 2 ให้เสร็จทันม.ค.ปี50             
 


   
search resources

CDMA
หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย)




“หัวเหว่ย” มั่นใจ ติดตั้งซีดีเอ็มเอ 51 จังหวัดของ “กสท” เสร็จทันกำหนดมกราคม 2550 เดินหน้าติดตั้งแล้ว 1,000 จุด พร้อมชุมสาย5แห่ง นำสื่อร่วมทดสอบบริการใช้งานพื้นที่สุราษฎ์ธานี เผยบริษัทแม่ในประเทศจีนตั้งความหวังโครงการนี้ไว้สูง ไม่อยากให้คนไทยผิดหวัง ก่อนใช้ไทยเป็นศูนย์กลางทำยอดขายในตลาดอินโดจีน ปี 48 โกยรายได้ไปแล้ว 12,500 ล้านบาท ส่วนกรณีปรับความล่าช้าเฟส1 ไม่เกิน 2 สัปดาห์ กสท สรุปผลปรับหรือไม่

นายหวัง ฮองบิน ผู้จัดการกลุ่มงานตลาดและผลิตภัณฑ์ Product manager-International marketing department บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทได้ติดตั้งสถานีฐานพร้อมชุมสายซีดีเอ็มเอ (800MHz CDMA 2000 1X- EVDO ) ในโครงการติดตั้งซีดีเอ็มเอ ใน 51 จังหวัด ของบริษัท กสท โทรคมนาคม โดยได้คืบหน้าไปแล้ว 1,000 จุด (base station) ซึ่งดำเนินการผ่านพ้นจากการส่งมอบให้กับ กสท ในเฟส ที่ 1 จำนวน 800 จุดและชุมสาย (switching) จำนวน 5 แห่ง คือ จังหวัดเชียงใหม่ สุราษฎ์ธานี พิษณุโลก นครราชสีมา หาดใหญ่ และจะสามารถติดตั้งทั้งหมดได้ครบ 1,600 จุด ได้ภายใน เดือนมกราคม 2550 ตามข้อตกลงเงื่อนไขการจ้างติดตั้ง (ทีโออาร์)

ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่ได้ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยสามารถใช้งานได้จริงแล้วตามเงื่อนไขบริการของ กสท ทั้ง บริการเสียง, ข้อมูล และมัลติมีเดีย รวมถึงสัญญาณให้บริการในแต่ละพื้นที่ให้บริการ ทั้งในรูปแบบการใช้งานผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์บ้าน การเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์สำหรับใช้งานร่วมกับโน้ตบุ๊ก

“ในเฟสที่ 2 จะดำเนินการได้เร็วกว่าเฟสที่ 1 บริษัทได้ตั้งสำนักงานโครงการขึ้นมา 3 แห่ง เพื่อดูแลการติดตั้งในแต่ละภาค คือ ที่เชียงใหม่ ขอนแก่น และสุราษฎ์ธานี ให้การควบคุมงานต่างๆ สามารถคล่องตัวและติดตามแก้ไขปัญหาให้สามารถได้แล้วเสร็จทันตามกำหนด”

สำหรับโครงการซีดีเอ็มเอ 51 จังหวัด ของ กสท ทางสำนักงานใหญ่ หัวเหว่ย ในประเทศจีน ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะมีผลต่อการเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและเป็นจุดเริ่มต้นต่อการเข้ามาเป็นผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย โดยหัวเหว่ยเชื่อว่าตลาดประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวในด้านการลงทุนติดตั้งโครงข่ายและการเปลี่ยนแปลงตลาดให้บริการหลังจาก ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เข้ามากำกับดูแลในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อีกทั้งหัวเหว่ยยังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดูแลตลาดในแถบอินโดจีนอีกด้วย

ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นตลาดอันดับที่สอง รองจากเซาท์ แอฟริกา (South Africa) โดยในปี 2548 บริษัทรับรู้รายได้รวมจากตลาดไทย 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 12,500 ล้านบาท ที่ได้จำหน่ายอุปกรณ์โครงข่ายกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม อาทิ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส บริษัท ทรู มูฟ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัท ทีโอที รวมถึงการเป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์ให้กับกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นต้น

นายหวัง กล่าวอีก เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ หัวเหว่ยได้ ให้บริการแบบเชิงพาณิชย์ร่วมกับผู้ให้บริการกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยให้บริการในฐานลูกค้ารวมกว่า 40 ล้านรายและหากแยกเฉพาะเทคโนโลยีอี-วิดีโอ ที่เปิดใช้งานแล้ว 10 โครงข่าย

ขณะที่ผู้บริหารระดับสูง หัวเหว่ย ได้กล่าวเสริมนายหวังว่า บริษัทได้วางจุดยืนของตัวเองในไทย คือ ให้เป็นที่ยอมรับของระบบสังคม เศรษฐกิจไทย แม้ว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยก็ตาม ซึ่งรูปแบบการแข่งขันจะเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการลูกค้าเป็นหลัก ในการที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีและสอดคล้องต่อการลงทุน

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา หัวเหว่ย ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าร่วมทดสอบบริการซีดีเอ็มเอพร้อมเยี่ยมชมชุมสาย ที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี จากการทดสอบพบว่าสามารถใช้งานได้แล้วทั้งบริการในรูปแบบเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้งานในรูปแบบข้อมูล จากการเชื่อมต่อผ่านโน้ตบุ๊ก ที่ได้ทดสอบใช้งานเว็บไซต์ที่บริการมัลติมีเดีย อย่าง ASTV สำนักข่าวไทย ทั้งแบบคลิบวิดีโอ และสตรีมมิ่ง ซึ่งพบว่าความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ในระดับความเร็ว 230 Kb หรือมีความเร็วเทียบเท่าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) ที่ให้บริการอยู่ในตลาดปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ความเร็วของจากการรับส่งข้อมูลในการทดสอบครั้งนี้ เป็นเพียงการทดสอบการใช้งานเบื้องต้น ซึ่งหากบริการนี้เปิดใช้จริงสัญญาณข้อมูลและความเร็วในการรับส่ง อาจจะมีประสิทธิภาพลดลงจากเดิมหากมีจำนวนผู้ใช้บริการมากๆ หรือมีการเชื่อมต่อใช้งานในเวลาเดียวกันและรูปแบบการใช้งาน รวมถึงความคงที่ของระดับความเร็วรับส่งข้อมูล

ด้านนายสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการ กสท กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาปรับบริษัท หัวเหว่ย กรณีดำเนินการติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอ 51 จังหวัดล่าช้ากว่ากำหนดว่า ขณะนี้คณะทำงานที่รับผิดชอบยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ถึงการปรับหัวเหว่ย ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณารายละเอียดในทีโออาร์ตามเหตุผลที่หัวเหว่ยร้องขอยืดเวลา 42 วัน แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ช้ากว่ากำหนดและไม่มีเหตุผลอันควร ก็ต้องปรับตามที่ระบุในสัญญา คือ วันละ 90 ล้านบาท โดยไม่พิจารณาแยกปรับเฉพาะสถานี

“คณะทำงานได้เร่งพิจารณาแล้ว โดยคาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์นี้จะได้ข้อสรุปทั้งหมด เพราะเรื่องดังกล่าวนั้นได้ใช้เวลาพิจารณามานานแล้วและจะต้องให้ทันตามกำหนดก่อนสิ้นเดือนตามที่ น.พ.สุชัย ให้นำเรื่องไปรายงานสรุป”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us