Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 มิถุนายน 2549
สศช.หั่นเป้าจีดีพีปี”49เศรษฐกิจทรุด-ขาดดุล             
 


   
search resources

อำพน กิตติอำพน
Economics




สภาพัฒน์ฯ ถอยเป้าจีดีพี ปี 49 เหลือ 4.6% ระบุชัดเศรษฐกิจชะลอตัว ขาดดุล 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สัญญาณเศรษฐกิจโลกถดถอยกระทบชิงส่งออกอิเล็กทรอนิกส์- ยานยนต์ กัดฟันพูดคุมเงินเฟ้ออยู่ 4.5-4.7% แต่น้ำมันไต่ระดับไม่เกิน 65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนอัตราดอกเบี้ย MLR 8% เร่งมาตรการกระตุ้นศก.ช่วงไร้รัฐบาล อย่าต่างคนต่างทำ ฉุดจีดีพีเหลือ 4.2% แม้ไตรมาสแรกโชว์ 6% กินบุญเก่า ส่งออก ภาคเกษตรโต และท่องเที่ยว

วานนี้ ( 5 มิถุนายน ) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1 ปี 49 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549 ว่า จีดีพี ไตรมาสที่ 1 ขยายตัว 6.0% สูงกว่า 4.7% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ มีปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ 1. มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สหรัฐ ในไตรมาส 1 ขยายตัว 17.9% โดยที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 14.1% และราคาเพิ่มขึ้น 3.3% ทำให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 7.6% 2. ภาคการเกษตรขยายตัวสูงถึง 7.1% จากปี 48 ที่หดตัว 2.4% และ 3. ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดี ในไตรมาส 1 จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 21.7% และค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 25.2 % เปรียบเทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียง 1% ในปี 48

อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังคงเร่งตัวขึ้นโดยไตรมาสที่ 1 เท่ากัน 5.7% และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น 40.9% แต่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ก็ขยายตัวได้ดี เนื่องจากไตรมาสแรกปี 2549 จีดีพีขยายตัวเพียง 3.2% โดยที่การส่งออกเป็นรายการที่ปรับตัวดีขึ้นมากตามวัฎจักรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2548 ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวลงมาก

นายอำพน กล่าวว่า การลงทุนเอกชนชะลอตัวลงชัดเจน ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนค่อนข้างทรงตัวในไตรมาสนี้ โดยการลงทุนในภาคเอกชนขยายตัว 7.2% เทียบกับที่ขยายตัว 11.3% ของทั้งปี 2548 ซึ่งเป็นการปรับตัวชะลอลงทั้งการลงทุนในการก่อสร้าง และการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือน เพิ่มขึ้น 4.1% เท่ากับในไตรมาสที่ผ่านมา

ปี”49 ศก.แย่ลดประมาณการณ์จีดีพี 4.6%

เลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช. ได้ปรับลดการประมาณการเมื่อวันที่ 6 มี.ค.จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 4.5-5.5% ลงเป็น 4.2-4.9% ด้วยความน่าจะเป็นที่อัตราขยายตัวเศรษฐกิจจะอยู่ที่ช่วงนี้ประมาณ 86% และคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อ 4.5-4.7% และคาดว่าจะยังคงมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเล็กน้อย 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 0.5% ของจีดีพี ที่เป็นสาเหตุหลักของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปี 49 ดังนั้น 1. การปรับตัวของราคาน้ำดับในตลาดโลกซึ่งยังเพิ่มขึ้น 2. สัญญาณการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง จะเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างสูงในครึ่งปีแรก ซึ่งจะทำให้การส่งออกขยายตัวได้ประมาณ 13.15% ต่ำกว่าเป้าหมายการส่งออกที่ 17.5%

"เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2549 สามารถควบคุมได้ ในอัตรา 4.5 - 4.7% ถ้าราคาน้ำมันดูไบในตลาดโลกเฉลี่ยไม่สูงกว่า 65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะถ้าสังเกตให้ดีเงินเฟ้อปีฐานของปีก่อนอยู่ในฐานต่ำ 2.5% ค่อยๆ ปรับขึ้นมาเรื่อยๆ เป็น 4% ไตรมาส 3ขึ้นมาเป็น 4.5% ไตรมาส 4 ถ้าราคาน้ำมันไม่สูงไปกว่านี้เงินเฟ้อก็คุมได้ " นายอำพน กล่าว

ด้านปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นปี 2549 โดยเฉพาะในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เฉลี่ย 7.6 - 8.0% โดยเฉพาะในสินเชื่อสำหรับรายย่อย มีผลทำให้อัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการบริโภคมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงจากปี 2548 ที่ 14.7% ลงเหลือ 11.7 % และสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจาก 16% ในปี 48 ลงเหลือ 9.5% ในปี 49

ส่วนในวันที่ 7 มิ.ย.ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นั้นว่า ควรจะปรับลด เพิ่ม หรือคงที่อัตราดอกเบี้ยต้องมีการพิจารณาหลายปัจจัย คือ ตัวเลขที่แท้จริง เงินเฟ้อ การออม การเคลื่อนย้ายเงินทุน และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในการวิเคราะห์ให้เหมาะสม ขณะที่ค่าเงินบาท 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มมีเสถียรภาพด้านการเปลี่ยนแปลงเกินกว่าที่จะคาดการณ์ได้ ซึ่งเฉลี่ยทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 38.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

นายอำพน กล่าวว่า ปัจจัยด้านความมั่นใจของผู้บริโภคและเอกชนที่ลดลงในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ดัชนีผู้บริโภคในเดือนเมษายน ขยายตัวได้ในอัตราที่ลดลง ไตรมาสแรกเท่ากับ 1.2% และเดือนเมษายน เท่ากับ 0.8% ในขณะที่ดัชนีด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ลดลงชัดเจน ไตรมาสแรก 2.2% และเดือนเมษายน 1.5% ในภาพรวมเป็นการปรับประมาณการลงจากครั้งก่อนเล็กน้อย เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้า และบริการสุทธิ ที่สูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิมช่วยชดเชยการปรับลดการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ

" ส่วนเรื่องสถานการณ์การเมืองหลังช่วงเดือนมิ.ย.ไปแล้วจะกระทบต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ก็ต้องระมัดระวังและปรับตัวตามสถานการณ์อยู่แล้ว ในกรอบนโยบายเศรษฐกิจ ที่ดี ถ้าน้ำมันไม่สูง รัฐบาลขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ตามงบประมาณ เพื่อสร้างความมั่นใจส่งสัญญาณที่ถูกต้องให้กับนักลงทุนให้เป็นทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่มั่วแต่ต่างคนต่างทำงานก็ผลักดันเศรษฐกิจได้แค่ 4.2% "

เร่งมาตรการกระตุ้นศก.ช่วงไร้รัฐบาล

นายอำพน กล่าวว่า การบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 49 เพื่อให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังไม่ชะงักชัน และจะมีผลต่อเนื่องในปี 2550 รัฐบาลควรจะเร่งรัดมาตรการที่มีความสำคัญ คือ 1. เร่งรัดงบลงทุนส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรวมทั้งงบประมาณเหลื่อมปี เพื่อให้การลงทุนภาครัฐทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติแล้วสามารถดำเนินการต่อไปได้ และเป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่าย 93% ซึ่งจะทำให้การลงทุนภาครัฐสามารถขยายตัวได้อย่างน้อย 8-10% ในปี 49 ทั้งนี้จำเป็นจะต้องเร่งรัดเม็ดเงินลงทุนส่วนที่ค้างเบิกจ่ายของส่วนราการและรัฐวิสาหกิจให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 478,000 ล้านบาท

รักษาระดับการขยายตัวของภาคเกษตร ทั้งในด้านเสถียรภาพราคา และปริมาณผลผลิต รวมทั้งการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรหมวดสินค้าแปรรูป ไก่ กุ้ง และผลผลิตพืชหลัก เช่น ข้าว ผัก และผลไม้ ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในฤดูการเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมากในไตรมาส 4 พร้อมกับเสริมฐานรายได้ของประเทศ ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งออก และการสร้างความเชื่อมั่นความเข้าใจของนักลงทุนไทยและต่างประเทศ และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ เร่งรัดการดำเนินการตามมาตราการด้านพลังงานทั้งในเรื่องการส่งเสริมการใช้พลังงาน ทางเลือก การประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของพืชพลังงานและรายได้เกษตรกร

อีกทั้งบริหารเศรษฐกิจมหภาคที่สอดประสานระหว่างนโยบายการเงิน และการคลัง โดยยังคงรักษาวินัยทางการเงินการคลัง และดูแลการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้มีความสอดคล้องกับเงื่อนไขด้านเงินเฟ้อ โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจต้องปรับตัวรุนแรงมากเกินไปจนเกิดเป็นภาวะชะงักงัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ภาวะที่มีแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอันเนื่องจากต้นทุนแรงงาน วัตถุดิบ และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us