Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์5 มิถุนายน 2549
วีรสุ รีแบรนดิ้ง ขยายฐานลูกค้าใหม่             
 


   
search resources

Electric
Branding
วีรสุ กรุ๊ป




วีรสุ ทุ่ม 10 ล้านบาทรีแบรนดิ้งใหญ่รอบ 30 ปี หวังขยายฐานลูกค้ารุ่นใหม่ พร้อมปรับโพสิชันนิ่งจากไฮเอนด์สู่ไฮแมส ล้างภาพลักษณ์สินค้าราคาแพง

แม้ว่าวีรสุจะสามารถสร้างจุดขายที่แตกต่างจากคู่แข่งด้วยการวางโพสิชันนิ่งตัวเองให้เป็นร้านจำหน่ายเครื่องไฟฟ้าในครัวเรือนระดับไฮเอนด์จนยืนหยัดอยู่ในตลาดได้นานนับสิบปีแต่ก็ต้องประสบกับปัญหาในการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ดังนั้นบริษัทจึงทุ่มงบประมาณกว่า 10 ล้านบาทในการรีแบรนดิ้งตัวเองเพื่อให้ผู้บริโภครุ่นใหม่รู้จักวีรสุมากขึ้น

วีรสุถือเป็นร้านจำหน่ายเครื่องไฟฟ้าในครัวเรือนระดับไฮเอนด์ที่ก่อตั้งเมื่อ 30 ปีที่แล้ว โดยในขณะนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในตลาดจะเป็นสินค้าราคาถูกจากญี่ปุ่นซึ่งเข้ามามีบทบาทแทนที่สินค้าจากยุโรปที่มีราคาแพง แต่ในตลาดก็ยังมีกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่จะใช้สินค้าคุณภาพดีโดยไม่เกี่ยงเรื่องราคา ซึ่งลูกค้าหลายคนมีการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้แต่ก็มีปัญหาเนื่องจากไม่มีพนักงานขายมาอธิบายถึงวิธีการใช้ที่ถูกวิธีรวมถึงตัวผู้บริโภคเองก็ไม่นิยมที่จะอ่านคู่มือการใช้ วีรสุจึงได้จับตลาดระดับบนด้วยการนำเข้าเตาอบไมโครเวฟราคากว่า 20,000 บาทซึ่งแพงมากในสมัยนั้นเข้ามาทำตลาดโดยใช้กลยุทธ์ Experience Marketing เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสาธิตสินค้าหรือการเปิดคอร์ส คุ้กกิ้งคลาสเพื่อให้ผู้บริโภคเรียนรู้ถึงวิธีการใช้งานของสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งในช่วงแรกเป็นลักษณะของการให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปแล้ว แต่ต่อมาได้เปิดกว้างให้ผู้บริโภคที่ยังไม่เคยซื้อสินค้าจากร้านวีรสุเข้าอบรมได้

การทำตลาดไฮเอนด์เป็นระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี มีการทำกิจกรรมกับลูกค้าเฉพาะกลุ่มทำให้การขยายตลาดในช่วงที่ผ่านมาเป็นแบบปากต่อปากจากรุ่นพ่อรุ่นแม่มาสู่รุ่นลูกซึ่งลูกค้ากลุ่มแรกของวีรสุ ณ วันนี้บางคนก็มีอายุเลย 70 ปีไปแล้ว ส่วนคนหนุ่มสาวในสมัยนั้นก็มีอายุกว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งลูกค้าทั้ง 2 กลุ่มไม่ได้อยู่ในวัยที่จะซื้อหาสินค้าแล้ว ก็เหลือแต่รุ่นลูกของฐานลูกค้าเก่าที่คุ้นเคยกับร้านวีรสุแต่ก็เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ทำให้วันนี้วีรสุต้องทำการตลาดหนักขึ้นเพื่อที่จะขยายฐานลูกค้าและต่ออายุธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้

"การเป็นนิชมาร์เก็ตของวีรสุทำให้เราไม่ค่อยได้สื่อสารกับลูกค้าในวงกว้าง ลูกค้าที่ได้มาก็คือลูกค้าที่ได้รับการถ่ายทอดข้อมูลจากลูกค้าเก่าของวีรสุแบบปากต่อปากซึ่งถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพราะลูกค้าจะเชื่อถือมากกว่าการโฆษณา แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ก็ผู้ใหญ่อายุ 40-50 ปีขึ้นไป ขณะที่ลูกค้าเจเนอเรชั่นใหม่ก็มีบ้างเล็กน้อย เราจึงกังวลว่าถ้าหมดยุคของลูกค้ากลุ่มนี้แล้วเราจะหาลูกค้าได้อย่างไร ดังนั้นเราจึงต้องทำการรีแบรนดิ้งและเปิดกว้างเพื่อให้ผู้บริโภคทั่วไปรู้จักเรามากขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาเรามีการตั้งแผนกประชาสัมพันธ์เพื่อรองรับภาระกิจดังกล่าว" วีระ สุธีโสภณ ประธานกรรมการ วีรสุ กรุ๊ป กล่าว

การทำการตลาดของวีรสุที่ผ่านมานอกจากจะใช้ Experience Marketing แล้วก็ยังมีการทำ CRM กับลูกค้าด้วยการทำข้อมูลฐานสมาชิกและการทำวารสารเพื่อสื่อสารกับลูกค้าโดยจะมีทั้งในเรื่องของข่าวสารเกี่ยวกับบริษัท สินค้าใหม่ คอร์สคุ้กกิ้งคลาสต่างๆ เมนูอาหารพร้อมด้วยวิธีการปรุงอาหารด้วยสินค้าจากร้านวีรสุ ตลอดจนเกร็ดความรู้ที่ลูกค้าสนใจ ทำให้ลูกค้าเกิด Loyalty ต่อวีรสุ และก็มีการบอกต่อแบบปากต่อปากจนปัจจุบันวีรสุมีฐานสมาชิกกว่า 180,000 รายโดยบริษัทตั้งเป้าว่าการรีแบรนดิ้งในครั้งนี้จะทำให้วีรสุมีฐานลูกค้าเพิ่มเป็น 200,000 ราย

การรีแบรนดิ้งของวีรสุจะมีการทำโคโปรโมชั่นร่วมกับพันธมิตรเช่นบัตรเครดิตต่างๆซึ่งมีฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆที่มีกำลังซื้อสูง การจัดกิจกรรมการตลาดนอกร้านวีรสุเช่นตามพลาซ่าหรืออาคารสำนักงานต่างๆ นอกจากนี้ก็มีการทำโปรโมชั่นใหญ่ 6 ครั้งต่อปีซึ่งที่ผ่านมาจะรู้เฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น แต่ในปีนี้บริษัทจะมีการสื่อสารไปยังผู้บริโภคทั่วไปด้วยเพื่อล้างภาพลักษณ์ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสินค้าวีรสุมีราคาแพงทำให้ไม่กล้าเดินเข้ามาดูสินค้าในร้าน

"ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับราคามากขึ้น แบรนด์ดังหลายแบรนด์ก็มีการทำไฟติ้งโมเดลมากขึ้น ดังนั้นวีรสุจึงมีการปรับโพสิชันนิ่งใหม่จะเดิมที่เป็นไฮเอนด์มาเป็นไฮแมสเพื่อดึงลูกค้าระดับกลางให้หันมาซื้อสินค้าของวีระสุ โดยบริษัทได้ขยายไลน์อัพให้ผู้บริโภคได้เลือกมากขึ้น พร้อมด้วยนโยบายด้านราคาที่ว่าถ้าสินค้าใดของวีรสุเหมือนข้างนอก เราจะต้องไม่แพงกว่าเขา"

ผลประกอบการของวีรสุในปีที่ผ่านมาปิดยอดได้ 800 ล้านบาท โดยบริษัทตั้งเป้าว่าหลังการรีแบรนดิ้งจนมีฐานลูกค้าใหม่เกิดขึ้นจะทำให้บริษัทสามารถปิดยอดได้ 900 ล้านบาทในปีนี้ โดยสินค้าส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นสินค้านำเข้าซึ่งมี 20-30 แบรนด์ ที่เหลือ 20% เป็นสินค้าที่ผลิตในเมืองไทย หากเทียบสัดส่วนประเภทสินค้าแล้ว 50% เป็นเครื่องไฟฟ้าในครัว ที่เหลือเป็นสินค้าในครัวประเภท Non-electric และสินค้าหมวดเอวีเพื่อรองรับพ่อบ้านที่มากับแม่บ้านซึ่งพ่อบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจเดินดูสินใจในครัวแต่จะสนใจเทคโนโลยีภาพและเสียงมากกว่า ดังนั้นบริษัทได้ทำห้อง Sound Room แนะนำรูปแบบการใช้สินค้าหมวดเอวีเพื่อสร้างบรรยากาศและอารมณ์ในการใช้สินค้าให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อสินค้านั้นๆ

นอกจากนี้วีรุสยังต่อยอดธุรกิจด้วยการเปิด Vista Caf? ที่โชว์รูมสาขาถนนวิทยุเพื่อทำเป็นร้านกาแฟและเบเกอรี่เพื่อสุขภาพไว้บริการลูกค้าที่มาเดินเลือกซื้อสินค้า นอกจากนี้ยังมีการทำตลาดกึ่งพาณิชด้วยการจำหน่ายเครื่องทำกาแฟ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ เช่น แป้งทำเค้กภายใต้แบรนด์ โฮม เมด ซึ่งเป็นสินค้าเฮาส์แบรนด์ของวีรสุ

ปัจจุบันวีรสุมีโชว์รูมใหญ่ 4 แห่งและคอร์เนอร์ตามห้างอีก 6 แห่ง โดยบริษัทมีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มเติมแต่ยังต้องรอความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรที่ต้องให้ข้อมูลเชิงเทคนิคแก่ลูกค้ามากกว่าจะพูดเรื่องการขาย

"บรรยากาศทางธุรกิจในปีนี้ดูจะไม่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจ ทำให้เราต้องตัดมาร์จิ้นเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อให้กลับมา อีกประการสินค้าของวีรสุแม้จะมีความแตกต่างจากคู่แข่งแต่ถ้าผู้บริโภคไม่มีก็ไม่ตาย สินค้าของเราต้องใช้อารมณ์ ดังนั้นโจทย์ของเราคือจะทำอย่างไรในการสร้างอารมณ์ของผู้บริโภคให้อยากซื้อสินค้า เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของวีรสุเซนซิทิฟในทุกเรื่องเพราะเป็นคนที่รับรู้ข่าวสารได้ไว ซึ่งแนวทางหนึ่งที่เราวางไว้คือต้องลดมาริ์จ้นเพื่อให้ขายได้ แม้จะมีกำไรน้อยไม่เป็นไร ขอแค่ให้ธุรกิจมีความเคลื่อนไหว" ประธานกรรมการ วีรสุ กรุ๊ป กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us