Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มิถุนายน 2549
กองทุนผวาต่างชาติทุบหม้อข้าวสูบเงินนักลงทุนสถาบันลุยตปท.             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
Funds




ก.ล.ต.แบะท่าเปิดทางโบรกฯต่างชาติสูบเงินนักลงทุนสถาบันอย่าง “กบข.-สปส.”ที่มีนโยบายนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้สบายใจเฉิบ วงการกองทุนรวมจวกยับถือเป็นการทุบหม้อข้าวบลจ.ในประเทศ และทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เนื่องจากบลจ.ในประเทศยังไม่มีความพร้อมในการเปิดเสรีธุรกิจกองทุนรวม

แหล่งข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ส่งหนังสือเวียนถึงบลจ. กองทุนส่วนบุคคล กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนประกันสังคม (สปส.) เพื่อขอให้มีการแสดงความคิดเห็นเรื่องการกำหนดลักษณะของการจัดการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนสถาบันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดสรรวงเงินหรืออนุญาตให้นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ สามารถกระจายความเสี่ยงและเพิ่มความคล่องตัวในการลงทุน

ทั้งนี้ ก.ล.ต. มีแนวคิดที่จะให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากหน่วยงานกำกับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ IOSCO สามารถเข้ามาติดต่อชักชวนกับผู้ลงทุนสถาบันให้มอบหมายให้จัดการลงทุนด้วยการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ โดยผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าวได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล

“ก.ล.ต.กำลังแง้มประตูให้โบรกเกอร์ต่างชาติ เข้ามาบุกธุรกิจกองทุนในประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานในประเทศไทย หรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของก.ล.ต. ซึ่งจุดนี้ทำให้บลจ.ในประเทศมีความเสียเปรียบ เนื่องจากไม่มีความเชี่ยวชาญในการออกไปรุกธุรกิจในต่างประเทศ เช่นเดียวกับที่โบรกเกอร์ต่างประเทศเข้ามาบุกธุรกิจในประเทศไทย”

แหล่งข่าวกล่าวว่า หากการทำเฮียริ่งครั้งนี้ของก.ล.ต.ผ่าน และเปิดทางให้โบรกเกอร์ต่างประเทศ เข้ามาตั้งกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ (FIF) และนำเงินของนักลงทุนสถาบันอย่าง กบข. หรือสปส. ไปลงทุนต่างประเทศ โดยตรงแทนที่จะผ่านบลจ.ในประเทศ จุดนี้จะสร้างความเสียเปรียบให้บลจ.ในประเทศเป็นอย่างมาก และเป็นการขัดกับนโยบายของก.ล.ต.ที่ต้องการส่งเสริมให้บลจ.ในประเทศ มีการร่วมมือกับโบรกเกอร์ต่างประเทศ ในการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีในการบริหารสินทรัพย์ เพราะต้องยอมรับว่าในปีที่ผ่านมาถือเป็นปีแรกที่ ธปท. ได้อนุมัติวงเงินกองทุน FIF ให้บลจ.ทั้งระบบสามารถนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้ผ่านวงเงินกองทุนรวม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับในปีที่ผ่านมา บลจ.ทั้งระบบมีการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศแล้วประมาณ 255 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือวงเงินที่อนุมัติจัดสรรปีนี้ 245 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก.ล.ต.ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้า และวงเงินจะหมดในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อนำไปรวมกับวงเงินกองทุน FIF ซึ่งอยู่ระหว่างการขออนุญาตธปท. เพื่ออนุมัติวงเงินในปี 2549 ซึ่งสมาคมบลจ.ขออนุมัติวงเงินในส่วนของกองทุนรวมเพิ่มเป็น 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ความคืบหน้าล่าสุดในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล คณะทำงานของสมาคมบลจ.ได้ หารือกับเลขาธิการก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติวงเงินกองทุนส่วนบุคคลไปลงทุนต่างประเทศ ได้เช่นเดียวกับกองทุนรวม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อกระจายความเสี่ยงการลงทุนให้กับนักลงทุนรายใหญ่ และนักลงทุนสถาบันที่มีนโยบายนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะต้องยอมรับว่าหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนที่กำหนดให้กองทุนที่จัดตั้งมีผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่ไม่เกิน 1/3 เป็นข้อจำกัด ในการลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่ หรือนักลงทุนสถาบันที่ต้องการโยกเงินลงทุนผ่านกองทุน FIF ซึ่งปัจจุบันก.ล.ต.อนุมัติครั้งละ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับความต้องการของลูกค้า

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ธปท.ได้อนุมัติให้สปส.นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศในวงเงิน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยสปส.ได้มอบหมายให้บลจ.เอ็มเอฟซี และบลจ.บัวหลวง เป็นผู้จัดการกองทุน เพื่อนำเงินไปลงทุนต่างรประเทศ รายละ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่รายงานข่าวจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 กบข.ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ (ผ่านกองทุนรวม) เท่ากับ 2.83% และตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วไปเท่ากับ 5.19% นอกจากนี้ยังมีการลงทุนตราสารทุนต่างประเทศเท่ากับ 0.92% จาก มูลค่าสินทรัพย์ปัจจุบันอยู่ที่ 294,498 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us