|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติยอมรับขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอีก 2-3 ปี เซอร์ไพรส์ปี 49 เพิ่งมาขาดดุลในเดือน เม.ย. มองแง่ดีราคาน้ำมันใกล้จุดสูงสุดแล้ว ด้านพาณิชย์เผยเงินเฟ้อ พ.ค.พุ่ง 6.2% “การุณ” เผยสูงผิดปกติเพราะเป็นช่วงจ่ายค่าเทอมและการขึ้นค่าธรรมเนียมรถไฟ ลั่นถ้าน้ำมันหยุดราคาพุ่งเงินเฟ้อจะลดลง เผยปรับเป้าอีกครั้งหลังได้ตัวเลขเดือน มิ.ย.
จากกรณีดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2549 ขาดดุลถึง 283 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 485 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการขาดดุลเดือนแรกของปีและในรอบ 10 เดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2548 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้คาดการณ์ไว้แล้วว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลและจะขาดดุลต่อเนื่องอีก 2-3 ปีข้างหน้า
"ไม่เหนือความคาดหมาย จึงยังไม่น่าเป็นห่วงอะไร แต่ที่ผมแปลกใจคือ ช่วง 3 เดือนแรกของปี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลได้อย่างไร" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ธปท.แถลงตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนเมษายนขาดดุล 283 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 11,037 ล้านบาท เกิดจากการส่งออกขยายตัวในอัตราชะลอลง และการเกินดุลบริการโดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวลดลงขณะที่คนไทยหันไปท่องเที่ยวในต่างประเทศมากขึ้น ขณะที่ภาพรวมของเศรษฐกิจเดือนเมษายนก็ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะให้ด้านอุปสงค์ทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน
ผู้ว่าฯ ธปท.ยังเปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 6.2%และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.7%ในเดือนพฤษภาคมว่า ยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงกว่าที่ธปท.คาดการณ์ไว้ ซึ่งจากเดิมคาดไว้แค่ 6% แต่เป็นเรื่องปกติ เพราะปัจจัยราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างเดียว และแม้อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่กลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่ได้รวมปัจจัยราคาน้ำมันยังสูงไม่มากนัก และหากมองไปในระยะต่อไป ราคาน้ำมันใกล้จะสูงสุดแล้ว "การสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อมีผลต่อการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ก็ต้องรอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 7 มิถุนายนนี้"
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนพ.ค.2549 เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2549 สูงขึ้น 0.7% และเทียบกับเดือนพ.ค.2548 สูงขึ้น 6.2% ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบปี หลังจากที่เคยสูงสุดในเดือนต.ค.2548 แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนต่อๆ ไป จะมีแนวโน้มลดลง เพราะในเดือนพ.ค.นี้ มีปัจจัยหลายตัวที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยที่เกิดเฉพาะเดือนนี้เดือนเดียว
เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2549 นั้น เป็นเพราะดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 0.9% โดยสาเหตุหลักยังคงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น 2.8% ส่งผลให้มีการปรับค่าธรรมเนียมรถไฟ ทำให้ดัชนีรายการนี้สูงขึ้น 40% ขณะที่ค่าโดยสารประเภทอื่นๆ ก็มีการปรับราคาขึ้น เช่น รถเมล์เล็กในท้องถิ่น รถจักรยานยนต์รับจ้าง นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาในเดือนนี้ก็สูงขึ้นถึง 0.6% ค่าใช้จ่ายของใช้ส่วนบุคคลสูงขึ้น 0.5% จากการสูงขึ้นของราคาครีมนวดผม สบู่ถูตัว ครีมบำรุงผิว และผ้าอนามัย
ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.3% เป็นอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนเม.ย.ค่อยข้างมาก โดยสาเหตุสำคัญมาจากราคาผักสดลดลง 1.7% เนื่องจากฝนตก อากาศเริ่มเย็นทำให้ผลผลิตผักต่างๆ มีมากขึ้น แต่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลไม้สด น้ำอัดลม ปลาและสัตว์น้ำ ข้าวสารเหนียว และขนมปังปอนด์
ส่วนเงินเฟ้อเมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่สูงขึ้นถึง 6.2% เป็นเพราะ การสูงขึ้นของสินค้าบางตัวที่สูงกว่าปกติ คือ น้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้น 32% สินค้าและบริการอื่น เช่น ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา น้ำตาลทราย น้ำอัดลม และผักสด
“เงินเฟ้อในเดือนพ.ค.ที่สูงขึ้น เป็นเพราะเดือนนี้มีปัจจัยผิดปกติเข้ามา แต่ก็เป็นปัจจัยหลักเฉพาะเดือนนี้เดือนเดียว ก็คือ การปรับขึ้นค่าธรรมเนียมรถไฟ และค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา โดยค่าธรรมเนียม ก็ขึ้นครั้งนี้ และต่อไปไม่ขึ้นอีก ส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา เพราะเป็นช่วงเปิดเทอม ดังนั้น เชื่อว่าเงินเฟ้อในเดือนต่อๆ ไป มีแนวโน้มที่จะลดลง และถ้าเทียบเดือนต่อเดือน ไม่น่าจะถึง 6% แล้ว เว้นแต่ราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด”
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานของประเทศ ที่ได้หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็น 24% ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกไป เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.สูงขึ้น 0.6% และเมื่อเทียบเดือนพ.ค.2548 สูงขึ้น 2.7%
นายการุณกล่าวว่า เงินเฟ้อทั้งปียังคงมั่นใจว่าจะอยู่ในระดับ 4-4.5% โดยอยู่บนสมมุตฐานที่ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4-4.5% อัตราแลกเปลี่ยน 39-40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 190 บาทต่อวัน น้ำมันดิบดูไบ 58-62 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 27.53 บาทต่อลิตร แต่จะมีการประเมินอัตราการขยาวตัวของเงินเฟ้ออีกครั้งหลังได้ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.แล้ว
“ที่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะไม่เกิน 4-4.5% นั้น เพราะขณะนี้ผ่านมา 5 เดือนเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 5.9% ถ้าครึ่งปีคงอยู่ราวๆ 6% แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง เงินเฟ้อจะเริ่มลดต่ำลง เพราะฐานของปีที่แล้ว เป็นฐานที่สูง เพราะรัฐบาลได้ลอยตัวน้ำมันแล้ว อัตราการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลัง จึงไม่น่าจะสูงมาก เว้นแต่น้ำมันมีความผันผวนหนัก ก็อาจจะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ” นายการุณกล่าว
|
|
|
|
|