Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2543
ร้อยเวลาสู่อดีต...ที่ “บ้านเดิมสมเด็จย่า”             
 


   
search resources

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี




อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราฯ ในพื้นที่ชุมชนหลังวัดอนงคาราม ซึ่งเคยเป็นที่พำนักสถานของ “สมเด็จย่า” ในวัยเยาว์นั้น วันนี้ยังมีร่องรอยของความน่าประทับใจในอดีต และเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งให้ผู้คนแวะเข้าไปเยือน

หากใครเคยอ่านหนังสือ “แม่เล่าให้ฟัง” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก็จะทราบว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า” เสด็จราชสมภพ ที่เมืองนนทบุรี แต่มาจำความได้ และทรงดำรงพระชนมชีพในวัยเยาว์ ที่ละแวกวัดอนงคารามนี้ ทรงรำลึกผูกพันถึงบ้าน ที่พำนัก สถานที่ทรงเที่ยวเล่น คลองสมเด็จเจ้าพระยา ที่เคยโปรดเล่นน้ำ และโรงเรียนประถมวัดอนงคาราม ที่ทรงได้ศึกษาเล่าเรียน

ชุมชนวัดอนงคาราม เมื่อครั้งกรุงอยุธยานั้น เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนบางกอก ส่วนใหญ่มีชาวไทย และชาวจีนอาศัยอยู่ ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรีได้กลายเป็นชุมชนศูนย์กลาง และใกล้เขตพระราชฐาน

เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราว พ.ศ.2384 บริเวณนี้ถูกจัดให้เป็นเขต ที่ดินพระราชทาน ที่อยู่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัติ) ซึ่งได้คัดเลือกผู้มีฝีมือช่างผสมโลหะนาค ที่อพยพ มาจากเมืองสุไหงปัตตานี มาอาศัยอยู่กับกลุ่มช่างลาวเวียงจันทน์ ที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้อาศัยเป็น ชุมชนอยู่ก่อนแล้ว จึงมีชื่อเรียกว่า ซอย “ช่างนาก”

ในสมัยรัชกาล ที่ 5 ชุมชนย่านวัดอนงคาราม บริเวณซอยช่างนาก มีบ้านเช่าเป็นตึกแถวชั้นเดียว หลายหลัง หนึ่งในจำนวนนั้น เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จย่า ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัย มีพระราชประสงค์ ที่จะอนุรักษ์นิวาสถาน แห่งนี้ไว้ เมื่อประมาณกลางปี 2536 จึงโปรดให้นักดนตรีวง อ.ส. และคณะรวม 3 คนไปสำรวจหาบ้านครั้งทรงพระเยาว์ของสมเด็จย่า ก็พบว่า ที่เคยตั้ง “บ้าน” นั้น กลายเป็นที่ตั้งตึกแถว 2 ชั้น ที่สร้างราว 30 ปีมานี้เอง จึงโปรดให้คณะสำรวจ สำรวจหาบ้านยุคเก่า ในบริเวณใกล้เคียง ก็ได้พบว่าห่าง ออกไปประมาณ 100 เมตร ยังคงมีตึกแถวเก่าครั้งรัชกาล ที่ 3 ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ “บ้านเดิม” ของสมเด็จย่าหลงเหลืออยู่ เป็นอาคารบริวารของบ้านเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้าสมัยต้นรัชกาล ที่ 5

ต่อมาเมื่อนายแดง นานา และนายเล็ก นานา ผู้ ซึ่งเป็นเจ้าของ ที่ดินในขณะนั้น ทราบถึงกระแสพระราชดำริ ก็พร้อมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวาย ที่ดินจำนวน 4 ไร่ และสิ่งปลูกสร้างติด ที่

อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราฯ ในพื้นที่ ชุมชนหลังวัดอนงคารามก็เลยเกิดขึ้น และสร้างเสร็จเมื่อต้นปี 2540 อนุสรณ์ต่างๆ บนสถานที่แห่งนี้ได้สร้างหรือบูรณะขึ้นตามพระราช ดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีสมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนี พระราชทานพระราชวินิจฉัยในชั้นต้นทั้งสิ้น

ภายในอุทยาน “มีบ้านจำลอง” ที่สถาปนิกได้จำลองจากบ้าน เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ตามแบบหนังสือแม่เล่าให้ฟัง เป็นแบบจำลอง เล็กถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทอดพระเนตร ซึ่งได้พระราชทานพระราชวินิจฉัยให้แก้ไขตรงกับความเป็นจริง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างขนาดเท่าจริง ประดิษ ฐานไว้ภายในสวน โดยมีมัณฑนากร กรมศิลปากรได้จัดตกแต่ง และหาวัสดุต่างๆ ให้คล้ายของเดิมทุกประการ

นอกจากนั้น ยังได้อาคารพิพิธภัณฑ์อีก 2 หลัง หลังแรกใช้เป็นที่จัดแสดงภาพพระราชประวัติ และหลัง ที่ 2 จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชจริยาวัตร สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ

วันนี้บริเวณอุทยานได้ร่มรื่นไปด้วยสวนป่า ที่มากไปด้วยพรรณไม้ต่างๆ ในวรรณคดี มีต้นไม้ใหญ่เก่าแก่หลายต้น เช่นต้นไทรอายุนับ 100 ปี ให้ร่มเงา ที่ร่มครึ้มไปทั่วบริเวณ บางส่วนของรากได้ทอดขนานไปกับซุ้มประตูราวกับฝีมือมนุษย์ทำขึ้น

นอกจากนั้น ยังได้มีการอนุรักษ์อาคาร 2 ชั้น แบบเก่าก่อนรัชกาล ที่ 5 ไว้หลังหนึ่ง เพื่อเป็นอาคารสำนักงาน อนุรักษ์ซากอาคารบริวารด้านหลัง ซากอาคารประธาน ยุคก่อนบ้านเจ้าพระยา ศรีพิพัฒน์ฯ และซุ้มประตูกำแพงของเดิมทุกด้าน

นับเป็นอนุสรณ์สถานที่รำลึกถึงสมเด็จย่าของปวงชนชาวไทยอีกแห่งหนึ่ง ที่มีค่ายิ่ง นอกจากจะเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ ที่จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนย่านนั้น แล้ว ทุกวันนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่สร้างความประทับใจให้กับทุกคนที่ไปเยือนด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us