Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
Tips for working day             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีบุคคล ที่น่าสนใจท่านหนึ่งผ่านมายังเมืองไทยพร้อมกับให้ความเห็นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย บุคคลผู้นี้คือ โปรเฟสเซอร์ พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบัน MIT สำหรับผมเองความน่าสนใจของเขาไม่ได้อยู่ตรง ที่เขาเป็นเพียงบุคคลเดียว ที่พยากรณ์ ไว้เมื่อสามปีก่อนว่าเศรษฐกิจของเอเชียมีปัญหาก่อนการแตกของฟองสบู่ หรือการที่เขาตั้งข้อสังเกตให้เรามีความหวังเมื่อปลายปีก่อนว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังฟื้นตัว ซึ่งเป็นประเด็น ที่หนังสือพิมพ์แทบจะทุกฉบับนำมาตีพิมพ์ และผมเชื่อว่ายังเป็นประเด็น ที่นักวิชาการต้องถกเถียงกันต่อไป แม้ว่ารัฐบาลจะเต็มใจรับคำพยากรณ์นี้

แต่ประเด็น ที่น่าสนใจคือ การที่เขาคิดไม่เหมือนคนอื่นเมื่อ 3 ปีก่อน หรือพูดง่ายๆ ว่าคิดแบบขวางโลก หรือสวนกระแสโดยเฉพาะอย่างยิ่งคิดต่างไปจากนักวิชาการในแวดวงเดียวกัน

เพราะเป็นการง่าย ที่จะคิด และทำอะไร เหมือนชาวบ้าน หรือกระแส หลัก ที่เป็นอยู่ แต่เป็นการยาก ที่จะคิดในสิ่งที่ชาวบ้านคิดไม่ถึง เพราะการ ทำสิ่งนี้ได้ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ที่จะพิสูจน์ ถึงความเชื่อของตนเอง อดทน และรอคอยเวลาที ่ผลแห่งความคิดของตนจะเป็นที่ประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับจากคนทั่วไป อะไร ที่ทำให้เขาคิดไม่เหมือนชาวบ้านน่าจะสำคัญกว่าการที่ เขาพยากรณ์ไว้ถูกต้อง ตัวอย่างร่วมสมัย ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ การแก้ไขเศรษฐกิจ อย่างที่มาเลเซียทำ ซึ่งก็เป็นการแก้ไขในทิศทาง ที่ฝืนกระแสหลัก ไม่เดินตามไอเอ็ม เอฟเหมือนอย่างที่เกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซียทำ ความ สำเร็จของมาเลเซีย เป็นข้อพิสูจน์ที่ดีอย่างหนึ่งว่า ซิเนตร้า ปรินซิเ ปิลของ นายกรัฐมนตรีมหาเธร์นั้น ทำไปในทิศทาง ที่ใคร่ครวญแล้วว่า "มายเวย์ (My way)" น่าจะมีความเป็นไปได้ไม่จำเป็นต้องเดินตาม "ไอเอ็มเอฟ เวย์"

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่ต้องมีพื้นฐานความเป็น จริง และข้อมูลรองรับ เหมือนอย่างที่หลายคนพูดติดตลกว่า แอปเปิ้ลก็ย่อมหล่นใส่หัวคนที่นอนอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล แต่ทำไมไม่มีใครคิด ที่จะพิสูจน์ว่าโลก มีแรงโน้มถ่วง แน่นอนว่าความคิดของครุกแมนเองก็ต้องอาศัยข้อมูลต่างๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์คนอื่นใช้ แต่ทำไมคำตอบ ที่ออกมาจึงต่างกัน

ความคิด ที่ขวางโลกหรือสวนกระแสหลักนั้น ว่าไปแล้วก็อาจจะไม่ต่างจากเรื่องราว ที่เราเคยฟังกันมาถึงนักวิทยาศาสตร์ หรือนักประดิษฐ์เอกของ โลก ที่คิดค้นทฤษฎีใหม่ๆ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีไปจนถึงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งเหล่านี้เกิด ขึ้นมาได้ก็เพราะการตั้งคำถามถึงสิ่งที่เ ราเห็น และดำรงอยู่ว่า สิ่งที่มันเป็นอยู่ ในขณะนี้ ถ้าหากมันไม่ใช่อย่างที่เราเห็น อะไรจะเกิดขึ้น

การตั้งคำถามถึงปรากฏการณ์ต่างๆ น่าจะเป็นหัวใจ ที่สำคัญที่สุดของ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่มักจะชอบเรียกกันว่า นวัตกรรม ทฤษฎีใหม่ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และความคิดทางธุรกิจ ที่นำไปสู่การลงทุนแบบใหม่ๆ หรือโอกาสทางธุรกิจ

สิ่งที่ผมเคยกล่าวถึงการให้เวลาในแต่ละวันคิดเกี่ยวกับการทำงานจึงหมายรวมไปถึง "การหัด ที่จะคิดไม่เหมือนชาวบ้าน" และหาทางพิสูจน์ถึง ความเป็นไปได้ของความคิดนั้น การคิดไม่เหมือนชาวบ้านนั้น ไม่ใช่เพียงจะให้ ความคิดใหม่ๆ กับเราเท่านั้น แต่ยังเป็นก ารยืนยันถึงตัวตนหรือความเป็น ตัวเรา และในแง่ของการทำงานนั้น ผู้บริหารที่ดีย่อมพอใจ ที่จะเห็นความคิด สร้างสรรค์ในตัวของผู้ร่วมงาน นั่นคือ "ความกล้า ที่จะต่างจากคนอื่น"

แน่นอนว่าความกล้า ที่จะคิด และ ทำต่างจากคนอื่นยังไม่พอ สิ่งที่คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมีอีกประการหนึ่งคือ ความกล้า ที่จะตัดสินใจ

คนทั่วไปนั้น มักจะใช้เวลานานมากในการคิดก่อน ที่จะตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง และในช่วงเวลานั้น เองเขามักจะเปลี่ยนความคิดบ่อยมาก ในแง่กลับกัน นี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาต้องใช้เวลามากขึ้น เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ในความเป็นจริงการทอดเวลาให้เนิ่นนานออกไปโดยไม่ตัดสินใจนั้น มักจะลงเอยว่าคุณพบปัญหาใ หม่ๆ มากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทั้งเกิดจากการไม่ตัดสินใจ และจากการคิดวกวนอยู่ในปัญหานั้น

การตัดสินใจในเรื่อง ที่ต้องทำ และทำในเวลา ที่เหมาะสมไม่ปล่อยไป เรื่อยๆ ด้วยเหตุผลว่า "ข้อมูลไม่เพียงพอ" จะ ทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น การไม่ ตัดสินใจจะทำให้การดำเนินชีวิตอยู่ในความไม่แน่นอน ต้องคอยพะวงกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และขาดความเอาจริงเอาจังกับสิ่งนั้น

ดังนั้น หากคิดว่าเท่า ที่ข้อมูลมีอยู่นั้น เพียงพอต่อการตัดสินใจแล้ว คุณก็ควรตัดสินใจ เพราะการลงมือปฏิบัติจะทำให้คุณเห็นทิศทางต่อไปข้างหน้า ว่าจะเป็นอย่างไร เป็นการพิสูจน์ว่าข้อดีข้อเสีย ที่คุณเคยคิดกังวลนั้น มันจะเป็นอย่างที่คิดหรือไม่

ไ ม่ว่าจะเป็นความกล้า ที่จะคิดไม่เหมือนกระแสหลัก หรือความกล้า ที่จะตัดสินใจในช่วงเวลา ที่ต้องทำ ทั้งสองลักษณะนี้ต้องอาศัยความกล้า ที่สำคัญ อีกประการหนึ่ง คือ ความกล้า ที่จะเสี่ยงกล้า ที่จะเสี่ยงกับความล้มเหลว หากคิดไม่เหมือนชาวบ้าน หรือกล้า ที่จะผิดหวังกับการตัดสินใจในบางกรณี ที่จำเป็นต้องทำ

ถ้าลองมองสิ่งที่คุณมีความภูมิใจในชีวิต แล้วเขียนออกมาสัก 5 กรณี ลองนั่งพิจารณาสิ่งที่คุณเขียนออกมา คุณจะพบว่า โดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่ คุณถือว่าประสบความสำเร็จนั้น เกิดมาจากการที่คุณกล้า ที่จะเสี่ยงกับสิ่งนั้น คุณกล้า ที่จะคิดแตกต่างออกไป ภายใต้ข้อมูลเท่า ที่คุณมีอยู่ คุณกล้า ที่จะตัดสินใจกระทำ และพร้อม ที่จะยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นหากมันไม่เป็นไปตาม ที่คาดหวังไว้ กล้า ที่จะเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงใหม่หลังจาก ที่คุณพบความผิดพลาด ความกล้าในการเสี่ยงจึงเป็นกุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จ

ที่จริงแล้วชี วิตของคนเราทุกวันนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยง ความเสี่ยง ที่ว่า นี้ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การข้ามถนนบนทางม้าลายโดยไม่ถูกรถชน ไปจนถึงเรื่องใหญ่โตในชีวิต เช่นการแต่งงานไม่ผิดคน หรือมีลูกออกมาแล้ว ไม่พิการหรือมีปัญหาด้านสติปัญญา เรื่องหลังนี้เป็นเรื่อง ที่คนที่จะเป็นพ่อ แม่ต้องเสี่ยงกันทุกคน คนมักจะเข้าใจผิดว่าคนมีอายุมากเท่านั้น ที่เสี่ยง แต่แท้ ที่จริงแล้วทุกคนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น เพียงแต่คนมีอายุมีความเสี่ยงมากกว่าเท่านั้น และการยอมรับความเสี่ยงในชีวิตนี้ เป็นสิ่งที่แตกต่างระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จความภาคภูมิใจในชีวิตกับคนที่ไม่ภูมิใจในตนเอง และ เป็นความแตกต่างระหว่างคนปกติ กับคนที่เป็นโรคกังวล

เริ่มต้นปีใหม่ปีนี้คุณอาจจะลองทำบันทึกชิ้นเล็กๆ ติดไว้ ที่โต๊ะทำงาน ทุกครั้ง ที่คุณเสี่ยงในเรื่องต่างๆ หลังจากนั้น ลองจดลงในบันทึกดังกล่าว พอจบสิ้นปีลองมาพิจารณาทบทวนดูว่าในปีที่ผ่านมาคุณได้ลงมือเสี่ยงในเรื่องใดไปบ้าง เมื่อคุณไม่กลัวการเสี่ยง และกล้า ที่จะเผชิญกับมัน คุณจะพบว่าคุณประสบความสำเร็จในสิ่งที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อน

ความจริงในชีวิต ที่เรามักจะไม่ค่อยคำนึงถึงกันนัก คือ การเล่นแบบปลอดภัย หรือการไม่ยอมเสี่ยงกับอะไรนั้น แท้จริงแล้วเป็นความเสี่ยง แบบหนึ่ง ที่เราทำได้ง่ายที่สุด และทำเป็นประจำ สิ่งที่สำคัญก็คือ เรามักจะไม่ค่อยทราบว่าเราได้เสี่ยงไปแล้ว กับการปล่อยโอกาสบางอย่างให้ผ่านพ้นไป แต่เรากลับยังคงหลงคิดว่าเราปลอดภัยหากเราไม่เสี่ยงกับอะไร

ปีใหม่ปีนี้ผมอยากให้คุณผู้อ่านลองเสี่ยงทำอะไรบางอย่างที่คุณไม่เคย คิดจะทำลองคิดอะไร ที่เป็นการตั้งคำถามสวนกระแส ที่เป็นอยู่ และลองตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ใจคุณบอกว่าใช่แล้ว คุณจะพบว่าชีวิตในปีใหม่นี้ของคุณไม่เหมือนเดิม แต่เป็นชีวิต ที่ท้าทายกว่า และสร้างสรรค์กว่าปีที่ผ่านมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us