Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 มิถุนายน 2549
ศาลปกครองรับฟ้องทีโอที คดีค่าโง่ทรู 9 พันล้านบาท             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

Telecommunications
ทีโอที, บมจ.
Law




ศาลปกครอง รับคำฟ้องทีโอที กรณีขอให้เพิกถอนคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ ที่ตัดสินให้ทีโอทีต้องจ่ายค่าเสียหายให้ทรู 9 พันล้านบาท โดยฝ่ายกฎหมายเชื่อมั่นคุณสมบัติอนุญาโตฯ จะเป็นประเด็นหลักที่ทำให้ทีโอทีไม่เพลี่ยงพล้ำในเชิงคดี ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 เดือนจะได้ข้อสรุป ด้านทรูมีเวลายื่นคัดค้านภายใน 30 วัน

นายปริญญา วิเศษศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีได้รับแจ้งว่าเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดได้รับคำยื่นฟ้องของทีโอทีเพื่อขอให้เพิกถอนคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการที่ตัดสินให้ทีโอทีชำระค่าเสียหายแก่ทรู เป็นมูลค่ากว่า 9,175 ล้านบาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ให้นับจากวันที่ 22 สิงหาคม 2545 และทีโอที จะต้องแบ่งผลประโยชน์จากการเก็บค่าบริการดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 50 ของรายได้ที่รับจริงนับจากวันที่ 23 สิงหาคม 2545 (คำนวนจากเลขหมายทรู คูณด้วยผลตอบแทน ทีโอที ได้รับ แล้วนำไปหาร จากจำนวนเลขหมายทั้งหมดจาก ทีโอที ทรู ทีทีแอนด์ที เมื่อได้ตัวเลขแล้วจากนั้น หารด้วย 2) และทีโอทีจะต้องจ่ายไปจนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน

สำหรับประเด็นที่ทีโอทียื่นต่อศาลปกครองสุงสุดประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ

1.บุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะอนุญาโตตุลาการ ไม่มีความชอบธรรม ไร้ความเป็นอิสระและเป็นกลางในการพิจารณาคดีความระหว่างทีโอทีกับบริษัท ทรู เนื่องจากพบว่า นายประสิทธิ์ โฆวิไลกุล ประธานคณะอนุญาโตตุลาการมีส่วนได้เสียและมีความเกี่ยวพันกับบริษัททรูซึ่งเป็นคู่พิพาทของทีโอที โดยปัจจุบันนายประสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี จำกัด ในเครือซีพี และดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือซีพีเช่นกัน จึงอาจทำให้การพิจารณาคดีความย่อมต้องพิจารณาถึงประโยชน์ส่วนตนด้วย

2.การเรียกเก็บค่าเชื่อมโยงโครงข่ายจากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากผู้ให้บริการที่เป็นคู่สัญญา ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม เลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนนั้น มีมาก่อนที่ทีโอทีจะทำสัญญาร่วมการงานกับทรู และทรูก็รู้อยู่ก่อนแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ทีโอทีต้องจ่ายส่วนแบ่งดังกล่าวให้เอกชนคู่สัญญา

3.การคำนวณค่าเสียหายไม่ได้เป็นสูตรที่มีการตกลงร่วมกันระหว่างทีโอทีกับทรู จึงถือว่าไม่มีบรรทัดฐานในการคิดค่าเสียหาย

4.คำวินิจฉัยเกินคำขอ คือ ตามหลักการจ่ายเงินค่าเสียหายทีโอทีสามารถหักจากส่วนแบ่งรายได้ของ ทรูได้ แต่อนุญาโตตุลาการตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายเป็นเงินกว่า 9,000 ล้านบาท ภายใน 60 วันนับแต่มีคำตัดสิน

และ 5.คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาร่วมการงาน ที่ให้คู่กรณีรับทราบถึงการคิดค่าเสียหาย อีกทั้งไม่มีการนำสืบให้เห็นว่าทรูเกิดความเสียหายถึง 9,000 ล้านบาทได้อย่างไร

นายปริญญา กล่าวว่า ประเด็นประธานอนุญาโตฯ ที่ทรูกล่าวอ้างว่าทีโอทีรับรู้มาตั้งแต่ต้นและไม่ได้คัดค้านเป็นเพราะนายประสิทธิ์ได้แจ้งว่า เป็นกรรมการอิสระของบริษัท ประกันวินาศภัย อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี และไม่ได้เกี่ยวข้องในทางธุรกิจแต่อย่างใด ซึ่งทีโอทีเห็นว่าหากเป็นเช่นนั้นจึงไม่จำเป็นต้องคัดค้าน แต่ปรากฏว่าทีโอทีมารู้ภายหลังว่านายประสิทธิ์ได้เป็นกรรมการของบริษัท ซึ่งมีอำนาจในการบริหารงานของบริษัทตามหนังสือจดทะเบียนบริษัท ไม่ใช่กรรมการอิสระตามที่แจ้ง ย่อมสามารถสั่งการต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของบริษัท ในการดำเนินธุรกิจได้

ดังนั้น การแจ้งของนายประสิทธิ์จึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการปกปิดข้อความอันควรเปิดเผยให้ทราบ จึงเป็นเหตุให้ทีโอที มายื่นคัดค้านต่อศาลปกครองภายหลังนอกจากนี้ทีโอทียังพบว่านายเฉลิม สุคนธ์ขจร อนุญาโตตุลาการฝ่ายทรู มีความสัมพันธ์ในการทำธุรกิจด้วยการเป็นที่ปรึกษากฎหมายกับทนายที่ทำคดีให้ทรู

“ถือเป็นเรื่องที่ดีกับทีโอที ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าไม่น่าเพลี่ยงพล้ำในเชิงคดี เพราะเมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติอนุญาโตฯ ดังกล่าวยิ่งทำให้เรามั่นใจขึ้น”

สำหรับขั้นตอนต่อไป ทรูคงต้องยื่นคำคัดค้านมายังศาลปกครอง ในลักษณะเป็นการต่อสู้กันด้วยเอกสาร ซึ่งในแง่ทีโอทีมีความเชื่อมั่นเพราะประเด็นหลักในการต่อสู้เหมือนกรณีไอทีวีแต่ทีโอทีชัดเจนกว่ามากในเรื่องคุณสมบัติของอนุญาโตฯ

“เราคาดว่าคงใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน น่าจะได้ข้อสรุป”

ด้าน นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการ และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าทีมกฎหมายของทรูจะหารือเพื่อเรื่องคัดค้านไปยังศาลปกครองซึ่งมีเวลา 30 วัน

สำหรับอนุญาโตตุลาการชุดดังกล่าว ประกอบด้วย 1.นายประสิทธิ์ โฆวิไลกุล ประธาน 2.นายชัยเกษม นิติสิริ อนุญาโตตุลาการฝ่ายทีโอที และ 3.นายเฉลิม สุคนธ์ขจร อนุญาโตตุลาการฝ่ายทรู สำหรับในกระบวนการเลือกคณะอนุญาโตตุลาการที่มีจำนวน 3 คนนั้น มาจากตัวเลือกที่ ทรู และ ทีโอที ทำการคัดเลือกมาฝ่ายละ 1 คนรวมเป็น 2 คน ต่อจากนั้นในการเลือกคนทำหน้าที่ประธานหรือคนกลาง ซึ่งทรูและทีโอที จะต้องเสนอรายชื่อของคนที่ตัวเองต้องการมาอีกฝ่ายละ 3 คนรวมเป็น 6 คน และส่งรายชื่อมาให้ที่สำนักงานอนุญาโตตุลาการ โดยรายชื่อเหล่านี้เป็นความลับ จากนั้นสำนักงานอนุญาโตตุลาการ ก็เสนอชื่อเข้าไปในโผรายชื่อนี้อีก 3 คน จึงรวมเป็น 9 คน

ดังนั้น รายชื่อที่มีสำหรับเลือกประธานจึงมี 9 คน โดยไม่มีใครรู้ว่าอีกฝั่งหนึ่งเสนอชื่อใคร เพราะไม่มีการระบุไว้ จากนั้นทั้งทีโอที และทรู ต้องให้คะแนนผู้ที่ต้องการเลือกมากที่สุด แล้วส่งมาให้สำนักงานอนุญาโตตุลาการ ผลการพิจารณาคัดเลือกในครั้งนั้นก็ปรากฏกว่านายประสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อและได้การยอมรับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us