Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
จัสมินรับเนื้อ ๆ ผลประโยชน์โตตามเงา TT&T             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
search resources

จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
ล็อกซเล่ย์, บมจ.
ทีทีแอนด์ที, บมจ.
อดิศัย โพธารามิก




หลายคนเคยตั้งคำถามว่า ใครจะได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการโทรศัพท์ 1 ล้านเลขมายระหว่างผู้ถือหุ้นทั้งหมดนี้ แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นทุกรายได้จะผลประโยชน์ในด้านรายได้จากส่วนแบ่ง ของการเป็นเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์หลังจากแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนให้กับ ทศท. แล้ว รวมถึงธุรกิจบริการเสริมที่จะเกิดขึ้นจากโครงการโทรศัพท์

แต่ในแง่ของผลประโยชน์ทางอ้อมที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากโครงการอย่างเต็ม ๆ นั้น จะขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ถือหุ้นแต่ละรายว่า จะเข้าไปเก็บเกี่ยวรายได้ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร แน่นอนว่าจะต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้วย

กลุ่มจัสมิน อิตัลไทย (ในเครืออิตาเลี่ยนไทย) และล็อกซเล่ย์ คือ ผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์สูงสุด จากประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงโทรคมนาคม

แหล่งข่าวจาก TT&T กล่าวว่า งานใหญ่ ๆ ในโครงการ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด คือ กลุ่มจัสมิน เพราะมีพื้นฐานมาจากงานทางด้านวิศวกรรม ซึ่งนำมาใช้ในงานทางด้านการวางข่ายสายโทรศัพท์ได้ไม่น้อย

ที่สำคัญ TT&T ถือเป็นบริษัทลูกแห่งหนึ่งของจัสมิน ไม่ซ้ำซ้อนกัน แต่กลับเป็นตัวเสริมให้กับจัสมินมากกว่า แล้วรายได้หลักของจัสมินก็มาจาก TT&T ดร.อดิศัย จึงยอมรับว่า จัสมินจึงหวังมากใน TT&T เพราะจัสมินเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กว่า 20% ซึ่งสามารถนำรายได้มาเป็นผลในการดำเนินงาน ในขณะที่กลุ่มอื่นหรือผู้ถือหุ้นรองลงมา คือ ล็อกซเล่ย์ มีเพียง 18%

"ดังนั้น หาก TT&T โตมากเท่าไร จัสมินก็จะโตตามมากเท่านั้น สิ้นปี 2539 TT&T จะมีทรัพย์สินถึง 40,000 ล้านบาท จัสมินก็จะมีทรัพย์สินประมาณ 20,000 ล้านบาท ต่อไปก็ไม่สามารถแยก TT&T กับจัสมินได้" ดร.อดิศัย กล่าว

ผลประโยชน์ที่ได้รับอย่างเห็นชัดที่สุดอีกทางหนึ่ง ก็คือ ในเรื่องของภาพลักษณ์ความผูกพันกันระหว่าง TT&T และกลุ่มจัสมิน ทำให้จัสมินได้เครดิตไปจาก TT&T ในการขยายโครงการออกไปอีกไม่น้อย

เพราะทันทีที่จัสมินได้บริหารโครงการโทรศัพท์ 1 ล้านเลขหมาย ทำให้ชื่อเสียงของจัสมิน ขจรขจายออกไปอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทำให้จัสมินได้อาศัยจังหวะเหล่านี้ในการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากการขยายงานในประเทศ จัสมินยังมุ่งขยายงานในต่างประเทศอยู่เสมอ ซึ่ง ดร.อดิศัย ให้เหตุผลว่า เป็นส่วนงานที่ทิ้งไม่ได้ เพราะจัสมินต้องการเติบโต ก็ต้องเข้าไปทำธุรกิจกับเพื่อนบ้านจะอยู่แต่ในประเทศไม่ได้ ต้องเชื่อมกับเพื่อนบ้าน รวมทั้งต้องสร้างสัมพันธภาพด้านการลงทุน ซึ่งรัฐบาลเองก็ส่งเสริมอยู่ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการลงทุน บริการ การโรงแรม รวมทั้งการสื่อสารก็เป็นหนึ่งในส่วนที่รัฐส่งเสริม

การลงทุนของจัสมินในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในขณะนี้ คือ การลงทุนโครงการเซลลูลาร์ เอเชีย ซึ่งยังอยู่ในช่วงลงทุนและยังไม่มีรายได้ แต่เป็นโครงการที่จัสมิน คาดว่าจะทำรายได้มากที่สุดในอนาคตสำหรับการลงทุนในต่างประเทศ

ส่วนผู้ที่ได้รับผลประโยชน์รองลงมาก คือ กลุ่มอิตาเลียนไทย เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทาง ทำให้งานข่ายสายตอนนอกตกอยู่ในมือของอิตัลไทยเป็นส่วนใหญ่

แหล่งข่าว กล่าวว่า แม้ว่าในการคัดเลือกผู้รับเหมางานต่าง ๆ ของโครงการโทรศัพท์ 1 ล้านเลขหมายจะเปิดให้มีการประมูล แต่ก็มีการตั้งเงื่อนไขว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นภายในก่อน ดังนั้น งานส่วนใหญ่จึงตกอยู่กับผู้ถือหุ้นที่มีความชำนาญก่อน

และจากการขยับขยายของกลุ่มอิตาเลียนไทยมาสู่โครงการโทรศัพท์ จะเห็นได้ว่า ในระยะแรกกลุ่มอิตาเลียนไทยได้เริ่มขยับเข้าไปในกิจการทางด้านนี้ โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มจัสมินในการเข้าไปประมูลงานในต่างประเทศ

สำหรับล็อกซเล่ย์แล้ว ผลพวงที่ได้รับจากโครงการโทรศัพท์ 1 ล้านเลขหมาย คือ งานติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบริการลูกค้า (CCSS) โดยร่วมมือกับบริษัท SC&C ของจัสมินเท่านั้น

แหล่งข่าวในล็อกซเล่ย์ กล่าวว่า งานที่ล็อกซเล่ย์ได้มานั้นเทียบมูลค่าไม่ได้กับการวางข่ายสายตอนนอก หรืองานวิศวกรรมเช่นเดยวกับจัสมินหรืออิตัลไทย

แต่ล็อกซเล่ย์เองไม่ยอมปล่อยให้โอกาสผ่านเลยไป เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ล็อกซเล่ย์จึงได้ร่วมทุนกับฮิตาชิก่อตั้งบริษัทล็อกซเล่ย์ ฮิตาชิในการผลิตอุปกรณ์ข่ายสายตอนนอกเพื่อรองรับกับโครงการโทรศัพท์ 1 ล้าน และป้อนให้กับโครงการโทรศัพท์ที่จะเกิดขึ้น แต่กว่าจะก่อตั้งและเริ่มผลิตได้ก็ไม่ทันกับโครงการโทรศัพท์ 1 ล้านเลขหมาย ต้องรอไปถึงการขยายโครงการโทรศัพท์ในครั้งหน้า

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ล็อกซเล่ย์ได้จับมือกับบริษัทบีทีซี ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างฟูรูกาว่า และยาซากิ จากญี่ปุ่น จัดตั้งบริษัท ไทยไฟเบอร์ออฟติก ผลิตเคเบิลใยแก้วขึ้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

แม้ว่าล็อกซเล่ย์จะให้ความสำคัญต่อการขยายกิจการโทรคมนาคม และมีโครงการโทรศัพท์ 1 ล้านเลขหมาย แต่การขยายกิจการทางด้านนี้ของล็อกซเล่ย์กลับยังไม่โดดเด่นเท่าที่ควร

สาเหตุอาจเป็นเพราะแนวทางในการขยายของล็อกซเล่ย์ไม่ชัดเจน จะเห็นได้ว่า โครงการโทรคมนาคมที่ล็อกซเล่ย์ได้มาจากการไปยื่นขอสัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ยังไม่มีโครงการใดที่ทำรายได้ให้กับล็อกซเล่ย์อย่างเป็นกอบเป็นกำ ไม่ว่าจะเป็นบริการรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (อัพลิงค์-ดาวน์ลิงค์) รวมถึงบริการข้อมูลระหว่างประเทศที่ล็อกซเล่ย์ได้รับสัมปทานมาเมื่อ 2 ปีล่วงมาแล้ว แต่ยังไม่เริ่มโครงการเลย

จะเห็นได้ว่า หลังจากได้รับสัมปทาน 1 ล้านเลขหมาย คงไม่ต้องบอกว่า ใครคือผู้ที่รับผลประโยชน์สูงสุดในงานนี้ ถ้าไม่ใช่กลุ่มจัสมินที่เติบโตตามเงาของ TT&T เลยก็ว่าได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us