Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 พฤษภาคม 2549
นอนแบงก์อ้อนธปท.ขอขยับเพดานเคทีซีเล็งช่วยลูกค้าลดชำระหนี้ขั้นต่ำ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

บัตรกรุงไทย, บมจ.
Credit Card




นอนแบงก์ บ่นพิษน้ำมัน ดอกเบี้ยขาขึ้น ดันต้นทุนเพิ่ม อ้อนแบงก์ชาติพิจารณาขยับเพดานดอกเบี้ย "เคทีซี"เตรียมหารือชมรมบัตรเครดิตขอธปท.ลดการชำระหนี้ขั้นต่ำลงจาก10% เหลือ 5% ช่วยเหลือลูกค้าภาวะน้ำมันและดอกเบี้ยแพง

นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส สายธุรกิจบัตรเครดิต บริษัท บัตรกรุงไทย หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า ปัจจุบันเคทีซีมียอดบัตรใหม่ที่ 100,000 ใบจากที่ตั้งเป้าไว้ที่ 200,000 ใบ ซึ่งคาดว่ายอดบัตรสิ้นปีน่าจะอยู่ที่ 250,000 ใบ ทำให้ฐานบัตรของเคทีซีจะอยู่ที่ 1.4-1.5 ล้านใบ ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรปัจจุบันนั้นเฉลี่ย 6,300 บาท ต่อบัตรต่อเดือน

ทั้งนี้ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาต้นทุนดอกเบี้ยของเคทีซีเพิ่มขึ้นเป็น 6% จากเมื่อสิ้นปี 48 ที่ 2% ส่งผลให้บริษัทฯจะต้องดูแลในเรื่องของต้นทุนด้วยการประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วยการออกหุ้นกู้ หารายได้จากค่าธรรมเนียม และการขยายสินเชื่อบุคคลที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า สำหรับเรื่องของการขอเพิ่มเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้นขณะนี้ธนาคารได้ดำเนินการอยู่ หลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ว่าจะพิจารณาออกมาเช่นไร

อย่างไรก็ตามในส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิตปัจจุบันมียอดสินเชื่อคงค้าง 22,000 ล้านบาทจากสิ้นปี 48 ที่ 18,000 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอัตราการเติบโตสินเชื่อบัตรเครดิตของเคทีซีนั้นยังมีการเติบโตที่ต่อเนื่อง ในส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปัจจุบัน 1% และเอ็นพีแอลใหม่ 2% ซึ่งคาดว่าแนวโน้มจะสูงขึ้นขึ้นอีกจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่บริษัทฯก็ไม่นิ่งเฉยด้วยการเข้าไปช่วยดูแลโครงการของลูกค้า และมีการผ่อนผันในการชำระหนี้

สำหรับลูกค้าใหม่ในปัจจุบัน บริษัทฯจะมีความเข้มงวดมากขึ้นในการอนุมัต เพื่อป้องกันการเกิดหนี้เอ็นพีแอล ทั้งนี้ บริษัทฯยังมีการช่วยเหลือลูกค้าด้วยการปรึกษาหารือกับทางชมรมบัตรเครดิตเพื่อขอลดการชำระหนี้ขั้นต่ำกับทางธปท.จาก 10% ลดลงเหลือ 5% เพื่อที่จะทำให้ลูกค้ามีความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้นในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน จากการที่เคทีซีได้เปิดตัว" KTC Future Visa Card" เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา 5 เดือน ได้รับการตอบรับที่ดีมาก โดยมียอดบัตรทั้งหมด 8,000 ใบจากที่ตั้งเป้าไว้ที่ 6,000 ใบจนถึงสิ้นปี แต่เมื่อยอดเกินที่ได้ตั้งเป้าไว้บริษัทฯจึงคาดว่า ณ สิ้นปียอดบัตรน่าจะอยู่ที่ 15,000 ใบ

บิ๊กโอเคแคช บ่นต้นทุนสูงเล็งขอเพิ่มเพดาน

นายธานินทร์ อังสุวรังษี ผู้จัดการทั่วไป บริษัทเพย์เมนท์โซลูชั่น จำกัด หรือ โอเคแคช กว่าว ว่า ทิศทางการดำเนินงานของธุรกิจสินเชื่อเงินสดนั้น จะต้องสร้างความเติบโตให้ธุรกิจ แม้นภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันประกอบกับราคาน้ำมัน , อัตราดอกเบี้ยและคนว่างงาน จะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยสถาบันการเงินที่ไม่ใช้ธนาคาร ( นอนแบงก์ ) ล้วนได้รับผลกระทบ เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินปรับตัวสูงขึ้นขณะที่เพดาอัตราดอกเบี้ยถูกกำหนดได้ที่ระดับ 28 % ซึ่งทางบริษัทคงจะต้องมีการบริหารจัดการภายในองค์กรณ์ให้มีประสิทธิภาพ ด้านผู้บริโภคคงจะได้รับประโยชน์จากเพดานดอกเบี้ย ประกอกกับทางการแข่งขันในด้านการมอบสิทธิประโยชน์ให้ลุกค้าเพิ่มมากขึ้น

โดยอัตราดอกเบี้ยที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) กำหนดนั้นหลังจากที่ได้มีการขอขยายเพดานอัตราดอกเบี้ยกับทางธปท.แล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้านั้น ส่งผลให้ภาระของผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น โดยพิจารณาต้นทุนการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อจากช่วงปีก่อนหน้าอยู่ที่ประมาณ 4 -5 % แต่ปัจจุปันอยู่ที่ 6- 7 % ประกอบกำต้นทุนการดำเนินงานด้านการติดตามหนี้ และการบริหารองค์กรที่เพิ่มขึ้น หากสถานะการณ์ยังคงอยู่ระดับนี้ประกอบกับราคาน้ำมันและปัจจัยต่างๆส่งผลให้ผู้ประกอบการอยู่ในสถานการ์ที่ลำบากหรือลดการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปหาตลาดมืด โดยในแง่ของทาง ธปท.เองก็อาจจะเห็นตัวเลขการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงโดยอาจจะมองว่าเป็นสัญญาณที่ดีแต่จริงๆแล้วผู้บริโภคหันไปหาตลาดมืด รวมทั้งด้านข้อมูลเครดิตก็จะไม่แสดงที่เครดิตบูโรด้วยเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us