|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังลดเป้าจีดีพีอยู่ที่ระดับ 4.5% จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงกว่าประมาณการไว้ แต่ปัจจัยส่งออกยังหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและประเทศคู่ค้าสำคัญ 11 ประเทศภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ยอมรับปัญหาการเมืองกระทบต่อจิตวิทยานักลงทุนตัดสินใจล่าช้าออกไป เผยการปรับเป้าประมาณการครั้งนี้ไม่ได้นำโครงการเมกะโปรเจกต์มาคำนวนด้วยเพราะยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบายของรัฐบาล
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการติดตามภาวะเศรษฐกิจและกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจประจำปี 2549 ใหม่ โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยในปี 2549 จะอยู่ที่ระดับ 4.5%ต่อปี ลดลงจากเดิมที่เคยคาดว่าจะขยายตัวที่ 4.5-5.5% ต่อปี ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุลประมาณ 2.0% ของจีดีพี จากเดิมที่คาดว่าจะขาดดุลประมาณ 2.1%ของจีดีพี ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2548 อยู่ที่ประมาณ 4.2% ต่อปี
ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปรับประมาณการครั้งนี้ เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบดูไบจากเดิมที่สศค.ประมาณการเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 58.4 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 63.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนจากเดิมประมาณการไว้ที่ 39 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ เป็น 38.4 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ด้านอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออก 4.6% และสินค้านำเข้าที่ 6.2 % รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของประเทศไทยทั้ง 11 ประเทศขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 4 เดือนที่ผ่านมาและปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง
"ถ้า FED ปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นคาดว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อาจปรับดอกเบี้ยขึ้นตามไปด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับทางแบงก์ชาติจะพิจารณาอีกครั้งว่าเมื่อถึงสถานการณ์ดังกล่าวแล้วจะทำอย่างไร ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าปัญหาการเมืองเป็นปัจจัยหนึ่งที่เข้ามากระทบต่อการประมาณการล่าสุดด้วย" นายนริศกล่าว
ทั้งนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะขยายตัวที่ 4.5% ต่อปี ช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 4.0-5.0% ต่อปี โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากอุปสงค์จากภายนอกประเทศ โดยปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.5% ต่อปี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 7.0-8.0% ต่อปี สูงขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว 4.4% ต่อปี เนื่องจากสินค้าส่งออกที่สำคัญ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และสินค้าเกษตร มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามความต้องการในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ภาคบริการด้านการท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาขยายตัวได้ตามปกติหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการในปี 2549 คาดว่าจะขายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงที่ 1.6% ต่อปี ลดลงจากปี 2548 ที่ขยายตัวสูงถึง 9.3% ต่อปี เนื่องจากปี 2548 มีการนำเข้าที่ผิดปกติหลายอย่าง เช่น การนำเข้าน้ำมันดิบที่สูงผิดปกติในช่วงตรึงราคานำมันดีเซล การนำเข้าเหล็ก การนำเข้าทองคำเพื่อเก็งกำไร และเครื่องบิน 8 ลำในปี 2548 ทั้งนี้ อุปสงค์ภายในประเทศน่าจะชะลอตัวจากปี 2548 โดยการบริโภครวมในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวที่ 4.0% ต่อปี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 3.5-4.5% ต่อปี และการลงทุนรวมที่แท้จริงในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.0% ต่อปี ช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 1.5-2.5% ต่อปี โดยคาดว่าในไตรมาส 3 และ 4 การลงทุนจะชะลอตัวลดลงอย่างมากเนื่องจาการตั้งงบประมาณปี 2550 ล่าช้าออกไป
ด้านเสถียรภาพภายในคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2549 จะชะลอลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ 4.2% ต่อปี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 3.9-4.4% ต่อปี โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่สูงในครึ่งแรกเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อน และจะค่อยๆ ปรับตัวลดลงในครึ่งปีหลังของปี 2549 โดยคาดว่าเงินเฟ้อในช่วงปลายปีจะลดลง
สำหรับการลงทุนในไตรมาสแรกนั้นขยายตัวที่ 5% โดยแบ่งเป็นภาครัฐขยายตัวที่ 6.2% ส่วนภาคเอกชน 4.7% โดยการลงทุนเป็นเพียงตัวแปรด้านนโยบายที่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องหันมาทำการผลักดันให้เกิดการลงทุนให้มากขึ้น ทั้งนี้ในปัจจุบันที่มีการลงทุนในประเทศน้อยลงเพราะเกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ 1.สินค้าคงคลังเดิมมีอยู่จำนวนมาก ทำให้ไม่มีการลงทุนและการผลิตเพิ่มขึ้น และ 2.ปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์เนื่องมาจากตลาดในปัจจุบันยังไม่ดี ส่งผลให้ผู้ที่ต้องการก่อสร้างไม่สามารถหาทุนได้
"ส่วนงบประมาณของรัฐวิสาหกิจของปี 2549 ที่คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 2.79 แสนล้านบาทโดยในปีนี้คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 60% ทั้งนี้หากรัฐสามารถเร่งให้มีการเบิกจ่ายได้มากกว่านี้ ก็จะส่งให้การขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นได้เช่นกัน"นายนริศกล่าว
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอก คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2549 จะกลับมาเกินดุลที่ 2.0% ของจีดีพี ช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 1.5-2.5% ของจีดีพี เนื่องจากการขาดดุลการค้าที่ลดลง และการปรับตัวดีขึ้นของดุลบริการ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ทั้งนี้คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2549 จะขยายตัว 13.1% ต่อปี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่12.1-14.1% ต่อปี จากปริมาณการส่งออกสินค้าที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แม้ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 7.1% ต่อปี ช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 6.1-8.1% ต่อปี ตามปริมาณและราคาสินค้านำเข้าที่ชะลอตัวลง
ทางด้านปัญหาน้ำท่วมที่ภาคเหนือในขณะนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกล่าวว่า เมื่อดูภาพรวมแล้วก็มีส่วนกระทบต่อเศรษฐกิจอยู่บ้าง แต่ก็คงไม่มากจนส่งผลให้จีดีพีลดลงแต่อย่างใด เนื่องจากทั้ง 5 จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมในครั้งนี้ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นร่องเขา ส่วนตัวเลขความเสียหายนั้นอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล
ทั้งนี้ในการประมาณการครั้งนี้ไม่ได้นำปัจจัยการลงทุนของการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์มาใช้แต่อย่างใด ส่วนในอนาคตถ้าหากมีสมมุติฐานหรือปัจจัยใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทลต่อเศรษฐกิจทางสศค. ก็จะกลับมาทบทวนการประมาณการกันอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายนพบว่า ภาษีฐานรายได้สามารถขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ 12.7%ต่อปี ชะลอตัวลงจากเดือนมีนาคมเล็กน้อย ที่ขยายตัว 15.2% ต่อปี โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถขยายตัวได้ถึง 17.9% ต่อปี ในขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัว 8.7% ต่อปี สำหรับรายได้ภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัวที่ 7.3% ต่อปี ชะลอลงจากเดือนมีนาคมที่ขยายตัว 10.9% ต่อปี
และเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานโดยเฉพาะในภาคการเกษตรขยายตัวดี โดยราคาสินค้าเกษตรเดือนเมษายนขยายตัวสูงที่ 23.8% ต่อปี สำหรับเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมพบว่ามีแนวโน้มชะลอตัวลงมาจากมูลค้าการนำเข้าวัตถุดิบหดตัว 14.2% ต่อปี
|
|
|
|
|