Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
กลุ่มเหล็กเจ็บตัวทั่วหน้า             
โดย ศิริรัตน์ ภัตตาตั้ง กุสุมา พิเสฏฐศลาศัย
 


   
www resources

โฮมเพจ กรุงเทพผลิตเหล็ก
โฮมเพจ สหวิริยาสตีลอินดัสตรี

   
search resources

เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป, บมจ.
สหวิริยาสตีลอินดัสทรี, บมจ.
กรุงเทพผลิตเหล็ก, บมจ.
อดิศักดิ์ เหล่าจันทร์
Metal and Steel




มิใช่แต่เพียงกลุ่มเหล็กในเครือปูนซีเมนต์ไทยเท่านั้น ที่ประสบปัญหาการทุ่มราคาจากต่างประเทศ และการแข่งขันอย่างดุเดือดภายในประเทศจนกระทั่งมีผลประกอบการตกต่ำ

บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสทรี (SSI) ผู้ผลิตเหล็กรีดร้อนก็เจ็บตัวไม่น้อยไปกว่ากัน ด้วยเหตุผลที่ไม่แตกต่าง คือ การถูกประเทศรัสเซียและโปแลนด์ทุ่มราคาขายในราคาประมาณ 200 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของบริษัทอยู่ที่ระดับ 370 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทำให้บริษัทต้องลดราคาขายลงมาเหลือ 325 เหรียญสหรัฐต่อตัน และลดกำลังการผลิตลงจากที่ตั้งเป้าไว้ 1.7-1.8 ล้านตันในปีนี้เหลือเพียง 2 แสนตัน ทำให้ผลประกอบการงวดครึ่งปี บริษัทมียอดขาดทุนสุทธิถึง 1,124 ล้านบาท ขณะที่ปี 2538 มีกำไรสุทธิประมาณ 304 ล้านบาท

อดิศักดิ์ เหล่าจันทร์ กรรมการผู้จัดการของ SSI ได้พยายามเสนอรัฐให้เก็บเซอร์ชาร์จนำเข้าเป็น 50% จากเดิมที่เก็บอยู่ 10% ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการเพือ่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ กระทรวงพาณิชย์อยู่ ซึ่งหากรัฐเพิ่มเซอร์ชาร์จไม่ถึง 50% ก็ะจไม่เป็นการช่วยป้องกันการทุ่มราคาแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ยังได้ชะลอการลงทุนในโครงการผลิตเหล็กขั้นต้น 2 โครงการ คือ โครงการผลิตเหล็กพรุน มูลค่าลงทุน 13,500 ล้านบาท และโครงการผลิตเหล็กแท่ง มูลค่าลงทุน 14,000 ล้านบาทออกไปด้วย

ในส่วนของ บมจ.เอ็น ที เอส สตีล กรุ๊ป (NTS) และ บมจ.กรุงเทพผลิตเหล็ก (BSI) ที่ผลประกอบการตกต่ำลงเช่นกันนั้น สาเหตุสำคัญมาจากการแข่งขันภายในและต่างประเทศ เนื่องจากปริมาณการผลิตเหล็กเส้นเกินความต้องการ

ปัจจุบัน ผู้ประกอบการเหล็กเส้นมีสต็อกเหล็กรวม 4-5 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท โดย NTS มีสต็อกอยู่ประมาณ 1 แสนตัน

ขณะนี้โครงการเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กเส้นระยะที่ 2 ของ NTS อีก 5 แสนตัน จะแล้วเสร็จในเดือนนี้ โดยจะทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1 ล้านตัน ซึ่งการขยายกำลังการผลิตดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อตันลง เนื่องจากประหยัดด้านค่าแรง โดยจะไม่จ้างคนงานเพิ่ม

สำหรับ BSI แม้จะประคับประคองผลประกอบการให้ไม่ถึงขั้นติดลบเช่นผู้ผลิตรายอื่น ๆ ได้ แต่กำไรสุทธิของบริษัทงวดครึ่งปีก็ตกต่ำลงไปไม่น้อยเช่นกัน จากครึ่งปี 2538 กำไรสุทธิ 157 ล้านบาท ขณะที่ครึ่งปีแรก 2539 มีกำไร 20 ล้านบาทเท่านั้น

BSI มีแผนขยายกำลังการผลิตเหล็กเส้นอีก 8.5 แสนตัน ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตรวมในปี 2540 ที่ 1.28 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงจากการประหยัดต่อขนาด

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคยังคงอยู่ในภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่องเช่นปัจจุบัน จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดยิ่งขึ้นในตลาดเหล็กเส้น

ภาคภูมิ วิมลไพโรจน์ เจ้าหน้าที่อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บงล.ซิทก้า กล่าวว่า ปริมาณการขยายตัวของเหล็กเส้นโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2533-2538 อยู่ที่ 6.51% และมีการใช้เฉลี่ยต่อคนต่อปีเท่ากับ 5.26% ซึ่งปีนี้คาดว่าปริมาณการใช้เหล็กเส้นเฉลี่ยต่อคนจะเพิ่มขึ้นเป็น 10% อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตเหล็กเส้นภายในประเทศมีการขยายกำลังการผลิตมาก ประกอบกับภาวะอุตสาหกรรมอสังหาริมทรพัย์ซบเซา จึงทำให้ปริมารการผลิตเกินความต้องการใช้อยู่

ในส่วนของเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนก็ได้รับผลกระทบจากการทุ่มราคาขายจากประเทศรัสเซียและโปแลนด์ ทำให้ราคาขายในตลาดลด ทั้งนี้ เหล็กรีดร้อนมีการขยายตัวโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2533-2538 ประมาณ 14.97% ต่อปี และมีปริมาณการใช้เฉลี่ยต่อคนประมาณ 14.97% คาดว่าปีนี้จะขยายตัวเป็น 15% และจะเกิดภาวะความต้องการขายล้นตลาด (OVER SUPPLY) ในปี 2542 เนื่องจากมีผู้ผลิตหลายรายเริ่มดำเนินการผลิต

ภาคภูมิ มองว่า เหล็กลวดแรงดึงสูง ยังมีศักยภาพในการทำกำไรได้อยู่ เนื่องจากมีการใช้งานมากในโครงการสาธารณูปโภค แม้จะมีการผลิตที่เกินความต้องการอยู่บ้าง แต่ก็ยังสามารถขยายตัวได้

"ปี 2533-2538 เหล็กลวดแรงดึงสูงมีการขยายตัวโดยเฉลี่ย 12.9% และมีปริมาณการใช้โดยเฉลี่ย 11.51% คาดว่าปีนี้ปริมาณการใช้จะเพิ่มเป็น 15-20% เนื่องจากมีการใช้ค่อนข้างมากในโครงการสาธารณูปโภคของรัฐ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us